Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 เมษายน 2548
งง"กิตติพัฒน์"ฟ้องรอยเนทกู้             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โฮมเพจ รอยเนท

   
search resources

รอยเนท, บมจ.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
กิตติพัฒน์ เยาวพฤกษ์
Stock Exchange
สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ฮาร์มิท คัวร์ ชอว์ลา
เด่นพงศ์ จันทรดี




คดี "รอยเนท" ฟ้องกันนัวเนีย พบยอดส่งฟ้องรวม 16 คดี "กิตติพัฒน์ เยาวพฤกษ์" ทำพิลึกฟ้องตัวบริษัทเรียกค่าเสียหายให้กู้ 5 ล้านบาท ด้านกลุ่ม "ฮาร์มิท คัวร์ ชอว์ลา" ขายหุ้นออกเกือบทั้งหมดเหลือแค่ 500 หุ้นหลังอัดเงินเข้ามาหนุนเบ็ดเสร็จขาดทุนกว่า 10 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่คนล่าสุดทุ่มเงินเข้าซื้อทั้งที่ยังไม่รู้ว่าบริษัทกำลังถูกเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ใหม่

นายเด่นพงศ์ จันทรดี ผู้จัดการ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เปิดเผย ว่า ความคืบหน้ากรณีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยยื่นฟ้องร้อง นายกิตติพัฒน์ เยาวพฤกษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท รอยเนท จำกัด (มหาชน) หรือ ROYNET ว่า ขณะนี้การพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นซึ่งกำลังนัดสืบพยานจำเลย คือ นายกิตติพัฒน์ ซึ่งถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ฟ้องร้องในข้อหาฉ้อฉล รวมถึงใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้น (อินไซเดอร์เทรดดิ้ง) ซึ่งนอกจากนี้ยังมีการฟ้องร้องจากผู้เสียหายอีกรวม 16 คดี มีทั้งการฟ้องร้องในคดีแพ่งและคดีอาญา

"ทั้งนี้ยังรวมถึงคดีที่นายกิตติพัฒน์ อดีตกรรมการผู้จัดการของบริษัทรอยเนท ได้ยื่นฟ้องร้องบริษัทตัวเองในกรณีที่บริษัทมีการกู้ยืมเงินจากนายกิตติพัฒน์ จำนวน 5 ล้านบาท ซึ่งหลักฐานและข้อมูลของนายกิตติพัฒน์ ในเรื่องการกู้ยืมค่อนข้างมีความชัดเจน มาก การสืบพยานในคดีนี้คงใช้เวลาอีกนาน เพราะมีการฟ้องร้องหลาย คดี รวมถึงกรณีนายกิตติพัฒน์ฟ้องบริษัทกรณีกู้ยืมเงินตัวเองกว่า 5 ล้านบาท โดยเขาอ้างว่ามีหลักฐานตรงนี้ชัดเจน" นายเด่นพงศ์กล่าว

นอกจากนี้ยังกล่าวว่า หลังจากที่เกิดปัญหาภายในของบริษัทรอยเนท ได้มีผู้ถือหุ้นหลายกลุ่มที่ต้องการเข้ามา บริหารงานในบริษัท แต่เมื่อได้มีการตรวจสอบฐานะการเงินของบริษัทรอยเนทแล้วปรากฏว่า กลุ่มบุคคลดังกล่าวที่หวังจะเข้าบริหารต่างกลับลำขอถอนตัวออกไปหมด เนื่องจากไม่สามารถรับภาระขาดทุนของบริษัทได้

ปัจจุบันบริษัทมีรายได้ประมาณ 2-3 แสนบาท ขณะที่รายจ่ายแต่ละเดือนอยู่ที่ 6-7 แสนบาทต่อเดือน ซึ่งทำให้ผู้ที่เข้ามาบริหารต้องรับภาระในเรื่องดังกล่าว เช่น กลุ่มนายฮาร์มิท คัวร์ ชอว์ลา ซึ่งเข้ามาบริหารต่อหลังจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ขับนายกิตติพัฒน์และคนในครอบครัวออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท แต่ด้วยภาระในเรื่องค่าใช้จ่ายทำให้ต้องใส่เงินเข้าไปแล้วกว่า 10 ล้านบาทในช่วงที่บริหาร ทำให้ภายหลังจึงตัดสินใจขอถอนตัวออกมาจากการเป็นผู้บริหาร โดยได้ขายหุ้นออกเกือบหมดคงเหลือหุ้นที่ยังถืออยู่ 500 หุ้นเท่านั้น

"ตอนที่กลุ่มคุณฮาร์มิทเข้ามา บริหาร ในช่วงเวลาประมาณ 1 ปี ต้องเสียเงินกว่า 10 ล้านบาทเพราะต้องรับภาระที่ต้องจ่ายมากกว่ารายได้รับ ทำให้ต้องถอนตัวออกไปในขณะที่กลุ่มใหม่นักธุรกิจด้านวิศวกรรม บัญชี รวมถึงบุคคลทั่วไป ที่ต้องการเข้ามาบริหารภายหลังเข้ามาดูสิ่งที่คาด ว่าจะบริหารได้ก็ต้องผิดหวังเพราะปัญหาภายในบริษัทมีค่อนข้างมาก" นายเด่นพงศ์กล่าว

นายเด่นพงศ์กล่าวอีกว่า ในช่วงที่ตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้อนุญาตให้บริษัทรอยเนท กลับมาเปิดซื้อขายใหม่อีกรอบนั้น ได้มีนักลงทุนกลุ่มใหม่เข้ามารับซื้อหุ้นต่อ ซึ่งเป็นกลุ่มวิศวกร นักบัญชี ซึ่งเท่าที่ได้พูดคุยกับนักลงทุนกลุ่มนี้ หลายคน ไม่รู้ว่าบริษัทกำลังถูกเพิกถอนกิจการออกจากตลาด หลักทรัพย์ใหม่หรือเอ็มเอไอ

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯมีการเพิกถอนกิจการทางบริษัทก็ได้จัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อหารือเกี่ยวกับการทำธุรกิจของบริษัท ซึ่งนักลงทุน กลุ่มนี้ก็ได้เข้ามาร่วมประชุมด้วยโดยมีประมาณ 30 ราย คิดเป็นสัดส่วนผู้ถือหุ้นรวม 70-80% โดยกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่รายล่าสุดหลังการเข้ามาบริหารงานได้ให้คำมั่นว่าจะหาแนวทางเพื่อฟื้นฟูบริษัทโดยหลังจากนี้อีก 3 เดือนเมื่อสามารถหาแผนใหม่ได้แล้วจะเรียกประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้ง

ปัจจุบันบริษัทรอยเนทยังมีใบอนุญาต (ไลเซนส์) ในการประกอบธุรกิจอินเทอร์เน็ตจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และยังคงให้บริการอยู่ตามต่างจังหวัด โดยหากมีผู้ล็อกอินเข้าใช้ก็จะถูกบันทึกเป็นรายได้ของบริษัท

ทั้งนี้เหตุการณ์อื้อฉาวของบริษัท รอยเนท เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี 2545 หลังจากบริษัทได้แจ้งผลประกอบการว่ามีผลกำไรสุทธิ แต่ภายหลังสำนักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบพบความไม่ปกติจึงสั่งให้แก้ไขงบการเงินใหม่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าวนายกิตติพัฒน์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่กลับได้ขายหุ้นที่ถืออยู่สัดส่วน 60% กว่า ออกมาหมด โดยไม่มีการรายงาน ไปยังสำนักงานก.ล.ต. ซึ่งเข้าข่ายว่าจะมีการใช้ข้อมูล ภายในเพื่อการซื้อขายหุ้นและฉ้อฉลนักลงทุนผู้ถือหุ้น จนถูกสำนักงาน ก.ล.ต.กล่าวโทษในที่สุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us