|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2537
|
|
กิลล์ เฮนเนสซี่ รองประธานของเฮนเนสซี่ แอนด์โค ผู้ผลิตคอนยัคชื่อดังของโลก “เฮนเนสซี่” วิเคราะห์ตลาดคอนยัคในเอเชียว่า “การบริโภคคอนยัคเป็นดัชนีชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ดีได้ตัวหนึ่ง เพราะยอดขายของสินค้าของเรานั้นผูกติดกับอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศใน เอเชียอย่างเห็นได้ชัด”
และในจำนวนประเทศในเอเชียที่เป็นตัวอย่างที่ดีในขณะนี้คือ จีนและญี่ปุ่นซึ่งธุรกิจคอนยัคในเครือของ แอลวีเอ็มเอชผู้ผลิตสินค้าหรูหราชั้นนำของโลกเจ้านี้เผยว่า ตลาดคอนยัคในญี่ปุ่นขณะนี้เรียก ได้ว่าเข้าขั้น “หายนะ” ได้ทีเดียว แต่พร้อมกันนั้นอนาคตในการเติบโตก็ส่องแสงสว่างขึ้นในตลาดจีนเช่นกัน และแนวโน้มนี้มิใช่เพียงเฮนเนสซี่เท่านั้นที่ประจักษ์แจ้งแต่เป็นความเห็นร่วมกันของผู้ผลิตคอนยัคเจ้าใหญ่ของโลกทั้ง 3 รายคือ เฮนเนสซี่, เรมี่ และมาร์แตล
ความแตกต่างของตลาดทั้ง 2 แห่งนี้คือ ผู้บริโภคจีนกำลังสนใจลิ้มลองสินค้าที่ตนไม่เคยมีโอกาสได้สัมผัสมาตลอดยุคของการปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ ขณะที่ตลาดส่วนนี้ในญี่ปุ่นได้อิ่มตัวมานานแล้ว และกำลังหดตัวลงในภาวะเศรษฐกิจลูกโป่งแตกดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นแนวโน้มที่สร้างความกังวลให้กับผู้ผลิตคอนยัคของโลกอยู่มากพอสมควร เพราะปริมาณการบริโภคคอนยัคของตลาดเอเชียสูงถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณยอดขายทั่วโลก 116 ล้านขวดในปีที่ผ่านมา
ปัญหาของตลาดญี่ปุ่นนั้นเกิดจากทั้งสภาพเศรษฐกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของญี่ปุ่นทำให้ผลประกอบการของธุรกิจซามูไรตกต่ำไปด้วย ซึ่งส่งผลไปถึงงบประมาณที่เป็นสวัสดิการด้านความบันเทิงของแต่ละบริษัท และตามมาด้วยการปิดตัวเองลงของธุรกิจบาร์และร้านอาหารในกินซ่ากันเป็นทิวแถว ราคาคอนยัคระดับวีเอสโอพีตกฮวบลงจากขวดละ 10,000 เยนเหลือขวดละ 6,000 เยน แม้แต่เฮนเนสซี่ซึ่งเป็นเจ้าตลาดคอนยัคของญี่ปุ่นอยู่ก็ยังอดหนาว ๆ ร้อน ๆ ไม่ได้
หนึ่งในทางออกที่เฮนเนสซี่คิดจะทำอยู่ในขณะนี้คือ การนำสินค้าเข้าไปวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ก็เสี่ยงมากกับการเสียภาพพจน์ของสินค้าเพราะเฮนเนสซี่เป็นที่นิยมซื้อเป็นของขวัญที่มีค่าในความรู้สึกของคนรับ หากวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตซึ่งราคาจะต่ำลงนั้น สินค้าจะเสียภาพพจน์ของขวัญอันมี ค่าไปทันที
ขณะที่ผู้ผลิตทั้งหลายต้องปรับตัวอย่างสูงในตลาดญี่ปุ่น ตลาดจีนก็กลับเปิดโอกาสสำหรับการเติบโตล่อใจอยู่รำไรปัญหาที่สำคัญเพียงประการเดียวก็คือตลาดจีนจะนิยมบริโภคคอนยัคได้เท่ากับตลาดญี่ปุ่นในยุคก่อนเศรษฐกิจผันผวนได้หรือไม่ ? ซึ่งหากมองอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในขณะนี้ ความหวังที่จะทำตลาดได้ถึงระดับนั้นก็มีความเป็นไปได้สูงพอสมควร
เฮนเนสซี่ประเมินตลาดส่วนนี้ว่าแม้รัฐบาลจีนจะยังผูกขาดระบบจัดจำหน่ายสินค้าประเภทนี้อยู่ในปัจจุบัน แต่ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าการควบคุมในส่วนนี้คงจะหมดไป ส่วนหนึ่งเพราะจีนต้องก้าวเข้าสู่ตลาดโลกภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีการค้า และศุลกากร (แกตต์) นั่นเอง
ที่สำคัญก็คือ แม้ตัวเลขการบริโภคคอนยัคของทางการจีนชี้ว่า จีนยังเป็นตลาดคอนยัคเล็ก ๆ ด้วยปริมาณการซื้อเพียง 2.5 ล้านฟรังก์ในปี 1993 แต่ตัวเลขการซื้อขายผ่านร้านค้าตามชายแดนในฮ่องกงและมาเก๊านั้น แตกต่างกับตัวเลขของทางการโดยสิ้นเชิง และการลักลอบซื้อขายด้วยวิธีนี้เอง ทำให้ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้ผลิตคอนยัคของโลกเพียงประเทศเดียวอยู่ในทุกวันนี้
เหตุที่การลักลอบซื้อขายสินค้านี้เป็นที่นิยมกันมากก็เพราะอัตราภาษีที่เก็บต่างกันระหว่างจีนและฮ่องกง ขณะที่จีน รัฐบาลจีนเรียกเก็บภาษีถึง 245% ฮ่องกงเรียกเก็บเพียง 40% และยังมีร้านค้าปลอดภาษีคอยให้บริการอยู่อีกทางหนึ่งด้วย
แต่ถึงแม้สินค้าคอนยัคในจีนจะมีวี่แววรุ่งเรืองได้ในระยะยาว เฮนเนสซี่ก็ยังเชื่อว่า ไม่มีอะไรไว้ใจได้ วันข้างหน้าบริษัทอาจต้องปรับตัวให้ทันกับความนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปได้เร็วของตลาดแห่งนี้ก็ได้
|
|
|
|
|