Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2537
โตโยต้า ปฏิวัติเงียบระบบจ้างงานญี่ปุ่น             
 


   
search resources

โตโยต้า มอเตอร์ สปอร์ต
Japan




โตโยต้า บริษัทรถยนต์ชั้นนำของญี่ปุ่นประกาศเมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมาว่า จะว่าจ้างพนักงานออกแบบรถยนต์จำนวนหนึ่งในระยะเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น และจะทำการต่อสัญญาโดยพิจารณาจากผลงาน

คำประกาศนี้นับเป็นการปรับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเลยทีเดียว

การว่าจ้างพนักงานแบบชั่วชีวิตของบริษัทญี่ปุ่น เป็นแบบแผนการปฏิบัติที่ทำกันมานาน และเป็นปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่เมื่อมาถึงยุคนี้ โตโยต้ามองว่า ขณะที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก้าวไกลไปเร็วมาก ระบบจ้างงานแบบนี้กลับเป็นตัวที่ถ่วงความเจริญของบริษัท

พนักงานออกแบบที่จะเข้ามาใหม่นี้ซึ่งควรจะมีอายุประมาณ 30 เศษ จะมีอิสระเต็มที่ในการทำงาน มีค่าจ้างสูงกว่าพนักงานโดยปรกติ และจะทำงานนานกี่ชั่วโมงก็ได้และจะว่ากันโดยเฉลี่ยแล้ว 10% ของพนักงานระดับสูงในบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นในปัจจุบันล้วนแล้วแต่เป็นพนักงานที่มีสัญญาการทำงานระยะสั้นทั้งนั้น

ปริมาณการทำงานของพนักงานระดับสูงเป็นปัญหาที่น่าปวดเศียรเวียนเกล้ามากในวงการธุรกิจของญี่ปุ่น ในช่วงทศวรรษที่ 80 บริษัทญี่ปุ่นคิดว่า การที่ญี่ปุ่นมีจำนวนประชากรสูงอายุเป็นจำนวนมาก จะทำให้คนงานขาดแคลน ทำให้บริษัทต่าง ๆ ของญี่ปุ่นทำการว่าจ้างพนักงานระดับผู้บริหารไว้เป็นจำนวนมากจากการสำรวจบริษัทญี่ปุ่นจำนวน 50 แห่งพบว่า ยอดขายและจำนวนพนักงานส่วนบริหาร มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาก จนน่าตกใจเมื่อพิจารณาจากจำนวนพนักงานทั้งหมด นั่นคือจาก 29.2% ในปี 1984 เป็น 33.5% ในช่วง 8 ปีต่อมา รวมถึงโซนี่ที่มีจำนวนพนักงานระดับบริหารเพิ่มขึ้น 139% เทียบกับพนักงานระดับปรกติที่ 6%

ศูนย์การผลิตงานของญี่ปุ่นรายงานว่ามีพนักงานบริหารจำนวนน้อยมากที่ทำงานคุ้มค่าจ้าง และเพื่อให้ผลงานของพนักงานบริหารญี่ปุ่นและสหรัฐฯ มีระดับไล่เลี่ยกัน บริษัทญี่ปุ่น 1 แห่งจำเป็นต้อง ลดจำนวนพนักงานลงทั้งหมด 39%

ขณะนี้มีบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งที่พยายามทำเช่นนี้อยู่ แต่มีไม่กี่แห่งที่แผนการลดพนักงานระดับบริหารมีความเป็นจริงเป็นจังเท่ากับโตโยต้า บริษัทบางแห่งของญี่ปุ่นกำลังค่อย ๆ ปลดพนักงานเหล่านี้แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยการขึ้นเงินเดือนพวกเขาจากการพิจารณาผลงานที่ได้เป็นหลัก ขณะที่บางแห่งรบเร้าให้พนักงานบริหารของตนรีบลาออกโดยไว

ในปีที่ผ่านมา เอลปส์ อิเล็กทริก บริษัทญี่ปุ่นอีกแห่งก็นำระบบการลดจำนวนพนักงานบริหารออกมาใช้เช่นกันโดยบริษัทต้องการให้พนักงานดังกล่าวจำนวน 4,400 คนลาออก ผลปรากฏว่ามีจำนวนคนลาออกเพียง 830 คนเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us