Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2537
ซาอุดิ อาราเบีย ถึงคราวเศรษฐกิจรัดเข็มขัด             
 


   
search resources

Economics




ซาอุดี อาราเบีย ราชาน้ำมันโลกกำลังเผชิญกับวิกฤติการณ์ราคาน้ำมันตกต่ำจนโครงการยักษ์ใหญ่ในประเทศหลายแห่งต้องเร่งลดงบประมาณขนานใหญ่ เริ่มจากซาอุดี อารามโค บริษัทน้ำมันอันดับ 1 ของโลกซึ่งตัดงบประมาณโครงการขยายกิจการในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ก่อนที่รัฐบาลซาอุฯ เองจะประกาศตัดงบประมาณประเทศลง 20% ในเดือนมกราคม พร้อมกับเจรจากับรัฐบาลสหรัฐ ฯ เพื่อขอเลื่อนการใช้หนี้มูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์จากการสั่งซื้ออุปกรณ์ทางทหารจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ฯ อย่างแมคโดนัลด์ ดักลาส เจเนรัล ไดนามิคส์และฮิวก์ แอร์คราฟต์

การที่ราคาน้ำมันโลกตกต่ำลงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนตั้งแต่ปี 1986 ทำให้ซาอุ ฯ ต้องจำกัด จำเขี่ยงบประมาณอย่างมาก ในปีที่ผ่านมา ซาอุ ฯ มีรายได้เข้าประเทศเพียง 40,000 ล้านดอลลาร์จากการขายน้ำมัน น้อยกว่ามูลค่าในปี 1986 ซึ่งนักวิเคราะห์หลายรายกล่าวว่า ถ้าราคาน้ำมันซาอุฯ คงตัวอยู่ที่ระดับบาร์เรลละ 12 ดอลลาร์ในปัจจุบันต่อไปเรื่อย ๆ ปีนี้ซาอุ ฯ ก็จะมีรายได้จากน้ำมันเพียง 32,000 ล้านดอลลาร์

การที่ซาอุฯ ลดค่าใช้จ่ายลงนั้นส่งผลกระทบต่อบริษัทอาวุธสหรัฐ ฯ ที่เข้าไปลงทุนในซาอุ ฯ ดังเช่นแมคโดนัลด์ดักลาสที่ได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากซาอุ ฯ ประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์ในปี 1991 หรือบราวน์ แอนด์ รูธ บริษัทวิศวกรรมที่ได้สัญญาการขยายโรงผลิตน้ำมันของซาอุดี อารามโคมูลค่า 12,000 ล้านดอลลาร์ก่อนหน้านี้ แต่ต้องมาลดเหลือ 2,000 ล้านดอลลาร์ในที่สุด

ทั้งนี้ แมคโดนัลด์ ดักลาสซึ่งเคยพยายามอย่างหนักในการชักจูงให้สภาคองเกรสสหรัฐ ฯ อนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่รุ่น เอฟ-15 ให้ซาอุฯ ในปี 1992 กล่าวว่า ถ้าซาอุฯ เกิดชะลอการนำเข้าเครื่องบินของตน บริษัทอาจจะต้องปิดกิจการโรงงานผลิตเอฟ-15 ในเซนต์หลุยส์ลงแน่นอน

ฝ่ายซาอุฯ เองก็น่าเห็นใจอยู่ไม่ใช่น้อย ในเมื่อรัฐบาลเองก็มีค่าใช้จ่ายเกินดุลมาตลอด 14 ปี จนเป็นหนี้ทั้งในและนอกประเทศจำนวนกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่เงินสำรองต่างประเทศก็ร่อยหรอลงทีละน้อย นอกจากงบประมาณทหารแล้ว ซาอุ ฯ ยังจะตัดค่าใช้จ่ายด้านเงินอุดหนุนการเกษตรลงอีกถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี การระงับแผนการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่นรวมทั้งการล้มเลิกแผนพัฒนาบ่อน้ำมันไชบาทางใต้ของประเทศที่คาดว่าจะมีปริมาณน้ำมันดิบเบาสำรองอยู่ 7,000 ล้านบาร์เรล ซึ่งคาดว่า หากซาอุ ฯ ไม่รีบตัดไฟแต่ต้นลม ในอนาคตสถานการณ์การเงินของซาอุฯ อาจจะแย่กว่านี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us