Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2537
ช่องแคบจีน-ไต้หวัน ถมให้เต็มด้วยการค้า-การลงทุน             
 


   
search resources

Commercial and business
Investment
China




ปัจจุบัน นักธุรกิจไต้หวันเริ่มแห่ไปลงทุนในจีนมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้นำไต้หวันเริ่มมองเห็นแล้วว่าการจะสร้างเศรษฐกิจของตนให้ยิ่งใหญ่ขึ้นได้นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจร่วมกับจีนแผ่นดินใหญ่ ศัตรูคู่อาฆาตเก่าของตน

การเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดที่สุดของการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของทั้ง 2 เริ่มขึ้นในเดือนมกราคมโดยเหลียน ชาน นายกรัฐมนตรีไต้หวัน ซึ่งเดินทางไปเยือนสิงคโปร์ ได้เสนอความร่วมมือระหว่างนักธุรกิจสิงคโปร์และไต้หวันในการเข้าไปพัฒนาบ่อน้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเกาะไห่หนานในจีน ทั้งนี้ไต้หวันจะเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านทุนส่วนสิงคโปร์จะให้เทคโนโลยี

เป็นที่น่าจับตาว่า การเคลื่อนไหวของไต้หวันหนนี้จะไปได้ไกลขนาดไหน ในเมื่อไต้หวันยังไม่ได้ยกเลิกนโยบายการห้ามติดต่อลงทุนโดยตรงกับจีน ดังนั้นการลงทุนครั้งนี้บริษัทไต้หวันจะต้องเข้าไปลงทุนในนามของบริษัทสิงคโปร์ ที่ผ่านมาบริษัทไต้หวันก็ได้เข้าเปิดสำนักงานลงทุนในฮ่องกงหรือประเทศ ที่ 3 อยู่แล้ว เพื่อเป็นทางผ่านเข้าไปรุกตลาดจีน แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลไต้หวันออกโรงด้วยตัวเอง

เหลียนไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลไต้หวันคนเดียวที่ฝ่าฝืนกฎการติดต่อกับจีน ก่อนหน้านี้ พี.เค เจียง รัฐมนตรีเศรษฐกิจก็ได้ออกมาให้คำแนะนำว่าไต้หวันน่าจะยกเลิกมาตรการที่ว่าได้แล้วถึงแม้ว่าเขา จะต้องออกมาแก้ตัวทีหลังว่ามันเป็นแค่การแสดงความคิดเห็นของเขาเท่านั้น ไม่ใช่ระดับนโยบายของประเทศ จนนักรัฐศาสตร์รายหนึ่งออกมากล่าวว่ารัฐบาลกำลังหาสูตรการฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างเร่งรีบ กับจีนอยู่ในขณะนี้

เหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลไต้หวันแสดงท่าทีต้องการผ่อนคลายข้อจำกัดในการติดต่อค้าขายกับจีนก็คือ ต้องการไล่ให้ทันการลงทุนของภาคเอกชน เนื่องจากการลงทุนของภาคเอกชนไต้หวันในจีนในตอนนี้จะเป็นรองก็แต่ฮ่องกงเท่านั้น โดยมีมูลค่าการลงทุนเท่ากับ 9,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ไต้หวันมียอดเกินดุลการค้ากับฮ่องกงอันเป็นทางผ่านของนักธุรกิจเข้าไปลงทุนในจีน เพิ่มขึ้น 22% เป็นมูลค่า 16,700 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา

การลงทุนของไต้หวันส่วนใหญ่จะมาจากภาคเอกชนไล่ตั้งแต่โรงงานตุ๊กตาขนาดเล็ก ไปจนถึงบริษัทอาหารชั้นนำของประเทศอย่างเพรสซิเดนต์ เอ็นเตอร์ไพรส์ คอร์ป และชุน ชิง เท็กซ์ไทล์ แต่ปัจจุบันภาครัฐวิสาหกิจของไต้หวันก็กำลังเร่งเข้าไปลงทุนในจีนบ้างแล้ว อาทิ ไชนิสปิโตรเลียม คอร์ป ที่เพิ่งยื่นในสมัครขอเข้าไปร่วมทุนกับบริษัทจีนทำการสำรวจแหล่งน้ำมันในจีน ขณะที่นักวิเคราะห์บางรายเปิดเผยตัวเลขว่า การส่องออกของสตีลคอร์ปของรัฐบาลไต้หวันจำนวน 6% เป็นการส่งออกไปยังจีนโดยผ่านทางฮ่องกง

การรุกเข้าไปลงทุนในจีนของไต้หวันนั้นมีแนวโน้มว่าจะเดินหน้าต่อไปเรื่อย ๆ และไต้หวันเอง ก็ไม่มีปฏิกิริยาต่อนโยบายใหม่ของจีนที่เพิ่งประกาศไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ยิ่งกว่านั้นการที่ไต้หวันจะจัดให้มีการเลือกตั้งแบบระบอบประชาธิปไตยในปี 1996 ยิ่งจะทำให้การเมืองของไต้หวันไม่สามารถแบ่งแยกตนเองออกมาจากภาคธุรกิจได้อย่างเด็ดขาด ตรงข้ามกลับจะต้องหาทางช่วยภาคเอกชนให้มีโอกาสมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ นั่นหมายความว่านโยบายการประสานเศรษฐกิจกับจีนแผ่นดินใหญ่ของไต้หวันนั้นกำลังเดินหน้าในอัตราที่เร็วขึ้นทุกที   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us