|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2537
|
|
“CARAVAN” นิตยสารรายเดือนสี่สีเล่มล่าสุดของเมืองไทยที่ตีพิมพ์ด้วยภาษาอังกฤษทั้งเล่ม และจัดตัวเองเป็นสิ่งตีพิมพ์สำหรับชาวมหานครที่เรียกกันว่า “ CITY MAGAZINE” ของเมืองไทย
เจ้าของนิตยสารเล่มนี้เป็นคนไทย ชื่อ เวนิกา วิล เทวกุล
เวนิกาหรือนิกกี้ ชื่อที่ถูกเรียกมากกว่าชื่อจริง โดยเฉพาะในแวดวงโฆษณาที่คลุกคลีอยู่ไม่ต่ำกว่า 10 ปี เริ่มงานด้านการตลาดให้กับบริษัท J.L.MORRISONS SONS AND JONES MARKETING ในเครือ ของ GUINNESS GROUP หลังจากทำงานได้ 3 ปี ก็ลาออกมาตั้งบริษัท วิล คอร์เปอร์เรชั่น รับงานด้านกราฟฟิค ดีไซด์ จนเป็นที่ยอมรับของวงการโฆษณาและสิ่งพิมพ์ในฝีมือการออกแบบ จึงขยายงานโดยเปิดบริษัท วิล แอดเวอร์ไทซิ่ง เมื่อปี 2533
“อยากทำหนังสือสักเล่มให้คนอ่านที่มีความคิด มีสมองอยากให้หนังสือมีเนื้อหาสาระที่ให้ความจริงในข้อขัดแย้งที่ไม่มีใครอยากพูดถึงแต่เรากล้าทำ รวมทั้งมีรูปเล่มสวยแบบอาร์ตแมกกาซีน และเป็นภาษาอังกฤษด้วย เพราะต้องการให้เป็นสื่อแลกเปลี่ยนจากเมืองไทยสู่ต่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็นำเรื่องราวน่าสนใจของประเทศอื่น ๆ กลับมาให้คนไทยอ่าน” เวนิกา กรรมการผู้จัดการบริษัท วิล บอกถึงความฝันเมื่อสิบปีที่แล้ว และมาสำเร็จจนเป็นนิตยสารชื่อคาราวาน เมื่อมกราคมปีนี้
คาราวานหมายถึงขบวนแถวนักเดินทางที่รอนแรมไปบนเส้นทางอันยาวไกล เวนิกาเลือกชื่อนี้ในฐานที่ต้องการให้หนังสือในความฝันของเธอเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เนื้อหาสาระที่เกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ เสมือนนักเดินทางนำเรื่องราวแห่งดินแดนที่ตนจากมา บอกเล่าแก่ผู้คนตามเส้นทาง
ประสบการณ์ในวงการโฆษณาและการตลาดของเวนิกาทำให้หนังสือใหม่อย่าง คาราวานมีความพร้อมสูงในหลาย ๆ ด้านแม้จะเป็นนิตยสารฉบับแรกของบริษัท วิล คอร์เปอร์เรชั่น ภายใต้ชื่อ GALLEON PUBLISHING
ความได้เปรียบข้อหนึ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับความอยู่รอดของนิตยสารในบ้านเราคือ ยอดการขายโฆษณา คาราวานกำหนดอัตราค่อนข้างสูงถึง 50,000 บาทต่อหนึ่งหน้าเต็มสี่สี และวางเป้าไว้ว่า เล่มหนึ่งจะมีโฆษณาลง 25% ของจำนวนหน้าพิมพ์ทั้งหมดในเล่ม
ฉบับปฐมฤกษ์ของคาราวานมีทั้งหมด 116 หน้า เวนิกาและลูกทีมอีกสามคนหาโฆษณาลงได้ 32 หน้าครึ่ง เท่ากับว่าทะลุเป้าหมายที่วางไว้ 3 หน้าครึ่ง
ในจำนวนนี้เป็นโฆษณาของลูกค้า 3 ใน 4 รายที่วิล แอดเวอร์ไทซิ่ง เป็นผู้วางแผนการตลาดและการซื้อสื่อโฆษณาให้คือ กาโต้เฮาส์และร้าน CROSS ROADS ของบริษัท JAGTAR AND SONS ลงโฆษณารายละหน้าและเสื้อยี่ห้อ KOO KAI มีโฆษณา 2 หน้า
“การมีบริษัททำโฆษณา ไม่ได้ช่วยให้มีโฆษณาเพิ่มขึ้นโดยตรง แต่อาจจะช่วยส่งเสริมทาง อ้อม โดยอาศัยประสบการณ์ที่อยู่ในวงการนี้มานาน” เวนิกากล่าว
ความเป็นบริษัทที่ช่ำชองงานกราฟฟิคดีไซน์มาก่อนทำให้การจัดวางรูปเล่มของคาราวาน ซึ่งใช้งานคอมพิวกราฟิคเข้ามาผสมผสาน มีความลงตัวที่สวยงาม การมีช่างภาพฝีมือดี ทำให้นิตยสารเล่มนี้เน้นศิลปะในการถ่ายภาพมาก ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายแบบแฟชั่น ภาพถ่ายบุคคล การบอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพ ตลอดถึงหน้าโฆษณาก็พิถีพิถัน
ช่างภาพฝีมือดี อย่างเช่น PHILIP BLENKINSOP ชาวออสเตรเลีย ได้รับรางวัลถ่ายภาพเชิงข่าวยอดเยี่ยมจากหลายประเทศ เป็นคนหนึ่งในจำนวน 4 คนที่เข้ามาร่วมงานกับคาราวานโดยผ่านทางบริษัท LIGHT HOUSE PHOTOGRAPY AGENCY ซึ่งเป็นอีกบริษัทหนึ่งที่อยู่ในเครือของบริษัท
วิล คอร์เปอร์เรชั่น
บริษัทไลท์เฮาส์ จะมีสตูดิโอถ่ายภาพบริการให้ตลอดจนหางานถ่ายภาพให้ด้วย ช่างภาพที่ต้องการเป็นสมาชิกต้องเสียค่าจดทะเบียน 5,000 บาทต่อปี และถูกหักประมาณ 20% จากรายได้ที่ ได้รับจากงานที่ทางบริษัทจัดหาให้
“รูปภาพทั้งหมด เป็นภาพที่ช่างภาพตั้งใจถ่ายเพื่อลงคาราวานเท่านั้นไม่ได้เอารูปเก่าหรือทำ ก๊อปปี้เพื่อลงฉบับอื่นด้วย รวมทั้งเนื้อหาก็เช่นเดียวกัน” เวนิกา เล่าถึงที่มาของเนื้อในของหนังสือ
คาราวาน มีบรรณาธิการบริหารเป็นคนไทย คือ ภารวี วงศ์จิรชัยหรืออัลเบิร์ต ซึ่งเป็นเพื่อนกับ เวนิกามาตั้งแต่วัยเด็กแม้จะเติบโตขึ้นมาในประเทศไทย แต่อัลเบิร์ตก็คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทย เพราะเข้าเรียนโรงเรียนนานาชาติตั้งแต่เด็ก และไปต่อไฮสกูลที่อเมริกา จนจบปริญญาตรีด้านประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียกลับมาทำงานเป็นก๊อปปี้ไรท์เตอร์ให้กับบริษัทเมอริเดียนเอเจนซีและบริษัทเรนทรี ประมาณ 2 ปี จึงกลับไปศึกษาต่อปริญญาโทและเอกที่มหาวิทยาลัยลอนดอน
ในระหว่างที่ทำวิทยานิพนธ์ อัลเบิร์ตเขียนบทความทางศิลปะส่งให้นิตยสารหลายฉบับ เช่น ARTLINK ของออสเตรเลีย และ FAR EASTERN ECONOMIC REVEIW
อัลเบิร์ตเข้ามารับหน้าที่บ.ก.ให้กับคาราวานเป็นรุ่นที่สาม หลังจากที่เวนิกาทดลองมาสองทีมแล้วตั้งแต่พฤษภาคม 2536 แต่หนังสือออกมายังไม่ถูกใจ ทำให้ต้องยืดเวลาออกหนังสือจากที่ตั้งใจว่าเป็นพฤศจิกายนปีที่แล้ว มาเป็นมกราคมของปีนี้
“ตอนนี้จำนวนคนอ่านนิตยสารภาษาอังกฤษอาจจะน้อย แต่มั่นในว่าต่อ ๆ ไปคนอ่านจะเพิ่มมากขึ้น ดิฉันเชื่อเรื่องการสร้างตลาดมากกว่าการตามใจตลาด ดิฉันมั่นใจว่าจากปากต่อปาก คนจะรู้จักคาราวานมากขึ้นเรื่อย ๆ” เวนิกา พูดด้วยความมั่นใจกับนิตยสารคาราวาน ที่จะติดตลาดผู้อ่านอย่างแน่นอน แม้ว่า จะเป็นภาษาอังกฤษและมีราคาเล่มละ 120 บาท ซึ่งแพงกว่าเล่มอื่นเกือบหนึ่งเท่าตัว
ตลาดหนังสือของคาราวานจะไม่อยู่เฉพาะเมืองไทยเท่านั้น เวนิกากำลังติดต่อกับผู้จัดจำหน่ายของลอสแอลเจลิสและลอนดอนเพื่อหาลู่ทางในการส่งออกคาราวานไปวางแผงในเมือง ใหญ่ ๆ ของอเมริกาและอังกฤษ คาดว่า “คาราวาน” เล่มที่ 6 จะออกวางแผงในเมืองใหญ่ ๆ ของอเมริกาและอังกฤษ
|
|
|
|
|