Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2537
บีบีเอส เครือข่ายไฮเทคเพื่อคนเหงา             
 


   
search resources

Telecommunications
Computer




บีบีเอส (BBS) หรือ BULLENTIN BOARD SYSTEM ทำหน้าที่คล้าย ๆ “ชมรมวีอาร์” (ชมรมวิทยุสมัครเล่น) ในการเป็นเครือข่ายติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันเพียงแต่เครื่องมือไม่ใช่วิทยุแต่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อนำความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกับคนอีกนับร้อยนับพันไม่ว่าในหรือนอกประเทศ

บีบีเอส จึงเป็นโลกมหัศจรรย์ที่อาศัยเทคโนโลยีที่ออนไลน์สร้างสรรค์ความรู้ ความบันเทิงและข่าวสารข้อมูลด้วยปัจจัยราคาคอมพิวเตอร์ที่ถูกลงมากและการขยายหมายเลขโทรศัพท์สองล้านเลขหมายกับการพัฒนาเป็นโปรแกรมภาษาไทย ทำให้ข้อจำกัดเดิม ๆ หมดไปในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา

เพียงงบการลงทุนขั้นต้นกับการซื้อโมเด็มตัวหนึ่งไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ต่อเข้ากับสายโทรศัพท์กับเครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ แค่นี้ก็สามารถตั้งบีบีเอสไว้คุยกับคนคอเดียวกันทั้งในและนอกประเทศได้แล้วที่บ้านโดยควักกระเป๋าจ่ายค่าโทรศัพท์ครั้งละสามบาทเท่านั้น

ณ สิ้นปีที่แล้ว ในเมืองไทยมีบีบีเอสจำนวน 33 แห่งในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอีก 5 แห่งที่กระจายตามหัวเมืองใหญ่ ๆ เช่นที่เชียงใหม่ที่ใช้ชื่อเครือข่ายว่า CHIANGMAIUNI กับ TG ส่วนที่นครราชสีมาคือ PULSE และที่ชลบุรี THESIS MAKER

บีบีเอส ส่วนใหญ่ไม่มีการเก็บค่าสมาชิก แต่เปิดใช้เป็นบางช่วงเวลาหรือตลอด 24 ชั่วโมง ลักษณะการจับกลุ่มคนคอเดียวกัน ก็มีบางกลุ่มเป็นนักศึกษา ที่ทำเพื่อความสนุกสนาน เช่น กลุ่ม CASTLE จะตั้งศูนย์บีบีเอส โดยใช้เบอร์โทรศัพท์ที่บ้าน 539-7914 ติดต่อตั้งแต่สองทุ่มถึงหกโมงเช้า หรือกลุ่มที่สนใจเรื่องดำน้ำก็มีกลุ่ม SCUBA โทร.578-1018 และ 578-0419 ส่วนกลุ่มช่างภาพก็มี PHOTOMANIA 578-0020 หรือกลุ่มกราฟฟิกดีไซน์ก็มี GRAPHIC VISION โทร.319-7916 เป็นต้น

ดังนั้นเวลาดึกสงัดที่ไม่มีใครใช้สายโทรศัพท์แล้ว คนเหงา ๆ เหล่านี้จะจดหมายถึงใครบางคนเป็นการเฉพาะแบบส่วนตัวหรือแบบสาธารณะชนิดอยากประกาศก้องโลกว่าคิดค้นโปรแกรมและเกมใหม่ ๆ ก็มี บางทีก็มีการแลกเปลี่ยนทัศนะการเมือง ศาสนา ปรัชญา สุขภาพ ฯลฯ

แต่กลุ่มที่นับว่าใหญ่ที่สุดมีสายโทรศัพท์อัตโนมัติมากที่สุดแปดสาย ก็คือ “MANNETOS” ซึ่งมีฐานสมาชิกไม่ต่ำกว่าสามพันราย ที่เป็นคนอ่านหนังสือคอมพิวเตอร์ในเครือแมนกรุ้ฟ แล้วสนใจอยากหาเพื่อนคุยเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ หรือปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ตลอดจนเรื่องรอบ ๆ ตัว

“สมาชิกที่ใช้แมนเนตแล้วจะค่อนข้างติด เพราะเขาสามารถคุยและโต้ตอบกับคนได้หลาย ๆ คนและเสนอความคิดเห็นโดยมีขีดจำกัดน้อย อย่างตอนที่มีเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ก็มีการใช้แมนเนตรายงานข่าวมากเหมือนกัน แถมยังวิจารณ์การเมืองด้วย” ระวิช ภุมรินทร์ บรรณาธิการ “นิตยสาร พีซีวีค” เล่าให้ฟัง ระวิชทำหน้าที่ดูแลด้านเทคนิคของระบบแมนเนตตั้งแต่แรกเริ่มหลังจากจบสาขาวิศวกรรม จากเทคโนโลยีลาดกระบังแล้ว

MANNET นี้แพร่หลายไปมากในระยะแค่สามปี เริ่มต้นจากสายโทรศัพท์เดียว สมาชิกต้องรอสายทีละนาน ๆ เป็นชั่วโมง และจะมีพนักงานแมนเนตนั่งคีย์คำตอบที่ถามปัญหาคอมพิวเตอร์เข้ามาวันละไม่ต่ำกว่าร้อยฉบับ แต่ภายหลังเมื่อระบบลงตัว แค่รอโทรศัพท์ไม่เกินครึ่งชั่วโมงก็ใช้ได้

นอกจากนี้ในระยะหลังยังได้มีการดึงเอานักเขียนชื่อดังอย่าง อาจินต์ ปัญจพรรค์ และลาว คำหอม เข้ามาเพิ่มสีสันให้กับการสื่อสารโลกมหัศจรรย์ บางทีก็มีมวลหมู่สมาชิกที่เขียนมาถามก็มี

“ผมได้หยุดใช้แมนเนตไปตั้งแต่มีนาคมปีที่แล้วเพราะต้องเพ่งสายตาตลอด และเขียนจดหมายออนไลน์ไปหาลาว คำหอม เขาก็ไม่ตอบสักทีก็เลยไม่ได้ติดต่อนักเขียนอื่น ๆ ได้ เพราะแมนเนตเขาติดตั้งให้นักเขียนสองคนเท่านั้น แต่ระหว่างนั้นก็มีสมาชิกบางคนเขียนมาถามถึงการเขียนต้นฉบับและค่าตอบแทนก็มี” ศิลปินแห่งชาติ อาจินต์ ปัญจพรรค์ เล่าให้ฟัง

สมาชิกคนหนึ่งจะใช้บริการได้ตามปกติคนละ 40-60 นาที แต่จริง ๆ คนที่ใช้จะไม่มีเวลามากที่จะดูข้อมูลข่าวสารนับร้อยชิ้น จึงใช้วิธีดาวน์โหลดใส่ไฟล์ไปเก็บที่เครื่อง พออ่านเสร็จอยากตอบคำถามก็ส่งมาเลย

สำหรับมือใหม่ที่อยากรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ MANNET ก็ไม่ยาก เพียงแต่ติดตั้งโมเด็มเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าจะเลือกติดต่อใช้ภาษาไทย ก็โหลดโปรแกรมไทยไดรเวอร์ไม่ว่าจะเป็น THAIPRO หรือ VTHAI ก็ได้ไว้ที่หน่วยความจำของเครื่อง ก่อนที่จะทำการเรียกโปรแกรมสื่อสาร แต่ต้องกำหนดรหัสภาษาไทยเป็นสมอ.

หลังจากนั้นป้อนชื่อและนามสกุลเป็นภาษาอังกฤษและป้อนข้อมูลส่วนตัวเรียบร้อยแล้วระบบจะตอบรับและบริการให้ข่าวสารและข้อมูลต่าง ๆ เพียงแต่กดปุ่ม ENTER เพื่อให้แสดงหน้าจอต่อไป

ขั้นตอนต่อไปคือ การเลือกเมนูรายการหลักเจ็ดอย่างตั้งแต่ หนึ่ง- MAN GROUP BUSINESS LINE เกี่ยวกับเครือแมนกรุฟ สอง- IT INDUSTRY ข่าวความเคลื่อนไหวเทคโนโลยีใหม่ ๆ สาม- VENDORS สี่- BBSING เมนูข้ามโลกที่จดหมายติดต่อกับต่างประเทศ ซึ่งใน BBSING จะมี “ FIDONET” U’ NINET/US และล่าสุดที่เชื่อมกับไต้หวันในชื่อ “DATANETLINK” ห้า-ข่าวสังคมและตลาดหุ้น หก- ELECTRONIC MAIL ซึ่งทางเจ้าหน้าที่แมนเนตจะไม่เข้าไปดูเพราะถือว่าเป็นส่วนตัว เจ็ด- FILE LIBRARIES ห้องสมุดและแปด-เกมส์

“คนที่ใช้จะใช้ประจำเลยอาทิตย์ละสองครั้ง อาจจะมีกลุ่มพวกคนเหงา ๆ ที่โทรเข้ามาทุกวัน ๆ ช่วงปี 2535 เราลงทุนไม่ต่ำกว่าสองล้านบาทขยายระบบเป็น LAN ที่ใช้คอมพิวเตอร์หลายตัวเชื่อมต่อกัน และทางดาต้าเน็ทของชินวัตรก็ให้ความร่วมมือ ในปีที่แล้วเราก็มีบริการใหม่ แทนที่จะฝากข้อความจดหมายไว้ ก็สามารถคุยกันได้เลยทันที แต่ละคนหมุนโทรศัพท์ เข้ามาคุยพร้อม ๆกันสามสายได้เลย” ระวิชผู้ดูแลเล่าให้ฟัง

เพียงแค่โทรศัพท์ครั้งละสามบาทเท่านั้น สมาชิก MANNET ก็มีสิทธิ์ส่งจดหมายคุยแบบออนไลน์กับคนที่อเมริกาโดยผ่านศูนย์เครือข่ายไทยสารที่โยงเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

“ทุกครั้งที่คนส่งจดหมายหรือข้อมูลเข้ามา เราจะมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่แมนเนตก่อนว่าไม่มีไวรัส และไม่ใช่โปรแกรมผิดกฎหมายเสื่อมเสียศีลธรรม เช่นซอฟท์แวร์ลามก หรือไปกอปปี้โปรแกรมเขามาโดยต้นสังกัดไม่รู้ ในระบบแมนเนตของเราจะไม่ปล่อยให้ทำแบบนี้! ดังนั้นที่ร้องเรียนกันมากว่า พวกบีบีเอสทำลามกนั้น ผมคิดว่ามีน้อยมาก ๆ” ผู้ดูแลแมนเนตเล่าให้ฟัง

ถึงแม้จะมีกฎหมายบ้านเมืองเอาผิดกับการเผยแพร่ภาพอนาจารก็ตาม แต่จริง ๆ แล้วตำรวจไม่มีกำลังเพียงพอจะสำรวจตรวจตรา ทำให้พวกซอฟท์แวร์โป๊เล็ดรอดออกมาเผยแพร่กับเยาวชน โดยผ่าน บีบีเอสได้ง่ายดาย

การเซ็นเซอร์ข้อมูลจึงต้องระมัดระวังเรื่องนี้อย่างมาก ขณะเดียวกันก็ต้องมีระบบป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์อีกด้วย

โลกของบีบีเอสยังคงอัดแน่นด้วยความรู้ ข่าวสารทันโลกและความบันเทิงสำหรับคนขี้เหงา หรือถ้าเหงามาก ๆ นึกอยากจะหาคู่รักคู่รสสักคนหนึ่งบริการบีบีเอสแบบคอลัมน์ลุงหนวดก็กำลังก้าวเข้ามาในสังคมไทยยุคไฮเทคนี้ให้เลือกใช้กันตามใจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us