|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2537
|
|
กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์หรือเครือซีพีมีการเคลื่อนไหวที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือการเข้าไปลงทุน ในประเทศอินเดีย โดยได้รับอนุมัติโครงการลงทุนด้านธุรกิจสัตว์น้ำจากรัฐบาลอินเดียไปเมื่อ เร็ว ๆ นี้
โครงการของซีพีในอินเดียประกอบด้วยโรงงานผลิตอาหารกุ้ง โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ศูนย์บริการวิชาการ ใช้เงินลงทุนประมาณ 3,060 ล้านบาท แบ่งการลงทุนออกเป็น 5 ระยะ โครงการระยะแรกซึ่งคาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยต้นปี 2538 คือ การสร้างโรงงานอาหารกุ้ง กำลังการผลิตปีละ 60,000 ตัน โรงงานแปรรูปขนาด 10 ตันต่อปี และศูนย์บริการวิชาการอีก 3 แห่ง
การลงทุนในต่างประเทศของซีพีในปัจจุบันเป็นเรื่องธรรมดา ตามประสากลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่ไม่มีสัญชาติ ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า ซีพีไปลงทุนที่ไหน เพราะการเคลื่อนไหวของบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่เช่นนี้ เป็นดัชนีชี้ศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ได้ชัดเจนกว่าสถิติและการคาดการณ์ทาง เศรษฐศาสตร์มากมาย
การตัดสินใจไปลงทุนที่อินเดีย ซีพีย่อมศึกษาอย่างรอบคอบและมองเห็นอนาคตของดินแดนที่มีพลเมือง 800 กว่าล้านคนแห่งนี้แล้วว่าคือคลื่นลูกใหม่ทางเศรษฐกิจของเอเชีย ธุรกิจสัตว์น้ำสำหรับซีพีแล้ว เป็นธุรกิจนำร่องที่จะสร้างฐานและต่อสายสัมพันธ์กับรัฐบาลอินเดีย เพื่อแสวงหาลู่ทางและโอกาสในการลงทุนอื่น ๆ อีกต่อไป ซึ่งเป็นแบบแผนหลักของการลงทุนในต่างประเทศของซีพีที่จะใช้ธุรกิจการเกษตรที่ตนมีความถนัดที่สุดเป็นหัวหอก
อินเดียในช่วงที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนของเอเซียด้วยกันน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่ประเทศจีน และกลุ่มอินโดจีน โดยเฉพาะเวียดนาม สาเหตุสำคัญเป็นเพราะนับตั้งแต่ปี 1977 อินเดียดำเนินนโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจ จำกัดการลงทุนจากต่างชาติ จนโคคา-โคล่าและบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ ต้องเก็บกระเป๋าบินกลับบ้านกันเป็นแถว
15 ปีของการปิดกั้นธุรกิจต่างแดน และใช้วิธีการทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ทำให้อินเดียหายไปจากแผนที่การลงทุนของโลก
อินเดียเริ่มสลัดคราบสังคมนิยมและให้เสรีภาพในทางเศรษฐกิจมากขึ้น หลังจากเดือนกรกฎาคม 1991 ภายใต้นโยบายของนายกรัฐมนตรีนักปฏิรูป พี.วี.นาราซิมห์ฮา ราว มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนรับการลงทุนจากต่างชาติอย่างเสรีมากขึ้น บริษัทโคคา-โคล่า กลับเข้าไปตั้งโรงงานอีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับเจเนรัล อิเล็คทริค ของสหรัฐ ฯ ซึ่งเป็นธุรกิจต่างชาติที่มีการลงทุนในอินเดียมากที่สุดตอนนี้
การผ่อนคลายทางเศรษฐกิจเป็นแรงจูงใจข้อหนึ่ง สิ่งที่มีน้ำหนักอย่างมากต่อการตัดสินใจของนักลงทุนต่างชาติอีกข้อหนึ่งคือ แม้อินเดียจะมีจำนวนคนยากจนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านคน มีรายได้ประชาชาติต่อหัวเฉลี่ยเพียงปีละ 310 เหรียญสหรัฐ ฯ แต่อินเดียก็มีคนอีก 300 ล้านคนซึ่งเป็นพวกที่เรียกว่าชนชั้นกลาง
คนกลุ่มนี้มีการศึกษาสูง รายได้ดี และซึมซับลัทธิบริโภคนิยมอย่างเต็มตัว อุดมการณ์พึ่งตัวเองตามแบบฉบับของลัทธิคานธีเป็นเพียงประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งของอินเดียสำหรับคนกลุ่มนี้
กำลังซื้อของชนชั้นกลางชาวอินเดียจำนวน 300 ล้านคนนี้ คือแม่เหล็กที่จะดึงดูดทุนจากทั่วโลกให้หลั่งไหลไปที่นั่น ทำให้อินเดียเป็นแหล่งลงทุน ใหญ่ของเอเซียแข่งกับจีนและเวียดนาม
การลงทุนของซีพีในอินเดียครั้งนี้ เป็นสัญญาณเตือนว่า นอกจากประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสมากขึ้นที่จะรับการลงทุนจากต่างชาติแล้ว ทุนท้องถิ่นที่มองการณ์ไกล เข้าใจพลวัตของโลกก็มีช่องที่จะไหลข้ามรัฐเปิดเพิ่มขึ้นอีกช่องหนึ่ง
|
|
|
|
|