Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535
รักษาสายตาสั้นด้วยแสงเลเซอร์             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
search resources

Health
สมบัติ ตันโชติกุล
โรงพยาบาลจักษุ รัตนิน




เมื่อใดที่คนเดินผ่านคุณไป 4 คน คุณเคยสังเกตไหมว่า หนึ่งในสี่นั้นจะเป็นคนสายตาสั้น เขา หรือเธออาจจะสวมแว่นตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ก็ได้แต่ความผิดปกติทางสายตาเช่นนี้จะพบว่าคน ในเมืองเป็นมากกว่าคนชนบทเพราะวิถีชีวิตคนในเมืองต้องใช้สายตามากกว่า โดยเฉพาะในนักศึกษา หรือ นักธุรกิจ

จักษุแพทย์ สมบัติ ตันโชติกุล แห่งโรงพยาบาลจักษุ รัตนิน ได้ประมาณการว่า 25% ของพลเมืองไทยเป็นคนสายตาสั้น ไม่ว่าจะสั้นน้อยไม่เกิน 200 สั้นปานกลาง 200-600 หรือสั้นมาก ไม่ต่ำกว่า 600-1,000 ก็ตามที่บรรดาจักษุแพทย์ได้พยายามแก้ไขปัญหาให้บุคคลเหล่านี้ด้วยการแนะนำให้สวมแว่นตาหรือใส่คอนแทคเลนส์

แต่วิธีดังกล่าวมีคอนเซปท์การแก้ปัญหาคนสายตาสั้นที่ดูล้าสมัยไปเสียแล้ว เมื่อเทียบกับวิธีรักษาแบบใหม่ล่าสุดที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่โรงพยาบาลจักษุ รัตนิน !

นั่นคือวิธีรักษาสายตาสั้นด้วยเครื่องเลเซอร์

นับว่ามนุษย์มีความชาญฉลาดที่สามารถนำเอาพลังคลื่นความยาวของแสงเหนือม่วงหรือแสงอุลตร้าไวโอเล็ตมาสร้างคุณประโยชน์มหาศาล ในการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือที่สามารถรักษาดวงตาอันเป็นอวัยวะที่ละเอียดอ่อนและไวต่อการสัมผัสอันบอบบางได้ ดังปรากฏในเครื่องเลเซอร์ EXCIMER ที่มีความยาวคลื่น 193 นาโมมิเตอร์ มูลค่า 16 ล้านที่โรงพยาบาลจักษุ รัตนิซื้อมาใช้รักษาคนไข้

หลักการเบื้องต้นการรักษา ก็คือการเจียระไนส่วนนูนเกินไปของผิวกระจกตาให้ลดลงด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในก๊าซอาร์กอนฟลูออไรด์ ARF 1 เข้าไปตัดทอนผิวเพียง 1/5 ของผิวกระจกตาเท่านั้นเพื่อให้ส่วนนูนน้อยลง ทำให้แสงไปตกบนจอรับภาพ (เรตินา) พอดี ทำให้ภาพที่ปรากฏแก่สายตาเห็นชัดเจน

แสงเลเซอร์ EXCIMER นี้จะมีคุณสมบัติรักษาสายตาสั้น เพราะให้พลังงานสูงในการตัดผิวกระจกได้เรียบ โดยปราศจากรอยไหม้หรือเถ้าถ่านเหมือนเลเซอร์ที่ใช้ปฏิกิริยาความร้อง และมีความ แม่นยำสูงโดยแต่ละนัดตัดผิวกระจกตาเพียง ? ไมครอน (1ไมครอน = 1/10,000 ซม.) เท่านั้น และ ไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงหรือภายในลูกตา

เทคโนโลยีใหม่นี้ อาจจะเคยได้ยินหรือพบเห็นในข่าวสารที่ปรากฎในอเมริกาหรือยุโรปนานนับปี กว่าจะข้ามโลกมาเกิดขึ้นที่เมืองไทย แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของการรักษาให้กับผู้มีปัญหาสายตาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีมาก เพียงพอที่จะจ่ายค่ารักษาสายตาสั้นได้ข้างละ 25,000 บาท หรือ 50,000 บาทสำหรับดวงตาคู่แสนสวยของคุณ

“ผมมีคนไข้เป็นฝรั่งชาวสวิสเซอร์แลนด์ เขาไปรักษาสายตาสั้นสองข้างนี้ที่เมืองนอกเสียค่าใช้จ่ายไป 176,000 บาท และที่เกาหลีเขาก็คิดค่ารักษาข้างละ 35,000 บาท ผมคิดว่าเมื่อเทียบกับที่นี่เราให้บริการรักษาที่ราคาถูกกว่ามาก” จักษุแพทย์สมบัติเล่าให้ฟัง

แต่การรักษาด้วยวิธียิงแสงเลเซอร์นี้จะได้ผลดีมาก ถ้าคุณเป็นคนสายตาสั้นคงที่ไม่เกิน 400 สายตาไม่เอียงเกิน 100 ไม่เป็นโรคต้องห้ามบางอย่าง เช่น โรค “พุ่มพวง” หรือแพทย์เรียกสั้น ๆ ว่า SLE ไม่เป็นตาต้อหิน ต้อกระจก ม่านตาอักเสบ หรือกระจกตาเสื่อม (KERATOCONUS) ตลอดจนสภาพจิตใจปกติ ไม่กลัวเกินเหตุและให้ความร่วมมือกับหมอเมื่อต้องจ้องเป้าตลอดเวลา ที่ยิงแสง เลเซอร์มา

“ผู้ที่เหมาะสมกับการรักษานี้ควรจะมีสายตาอยู่ในระดับคงที่แล้ว คือตั้งแต่อายุ 18-25 ปีขึ้นไประยะความสั้น100 กว่าถึง 600 สามารถรักษาได้ผล 100% ถ้าสั้นมากกว่านี้ก็ต้องใส่แว่นตาหรือเลนซ์ประกอบ เช่นถ้าสายตาสั้น 1,000 เรายิงเลเซอร์ 600 ที่เหลือใส่แว่นหรือเลนส์ 400 แต่เมื่อมองด้วยตาเปล่าก็สามารถมองชัดขึ้นกว่าเดิมซึ่งมองได้แค่ 10 ซม.จากตาเท่านั้น” นพ.อุทัย รัตนิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจักษุ รัตนิน กล่าว

สาเหตุที่ต้องรักษาผู้มีสายตาสั้นได้เพียงแค่ 600 เพราะหลักการรักษาด้วยแสงเลเซอร์จะยิงแสงตัดทอนผิวกระจกตาเพียงแค่ 1/5 ของผิวเท่านั้นแพทย์จะไม่ยิงลึกกว่านี้ ในกรณีสายตาสั้นถึง 1,000 ถ้าต้องตัดผิวกระจกตาออกไปมาก จะไม่บังเกิดผลดีต่อการรักษา

“ขณะนี้เราต้องทำดวงตาทีละข้างหลังจากที่รักษาจนกระทั่งสายตาข้างนั้นคงที่แล้ว จึงจะแนะนำให้ทำอีกข้างหนึ่ง ซึ่งก็จะใช้เวลาห่างกันประมาณ 4 เดือน” จักษุแพทย์สมบัติให้คำแนะนำ

ปัจจุบันได้มีผู้มีปัญหาสายตาสั้นจำนวนไม่ต่ำกว่า 20 คน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสุภาพสตรีทั้งสิ้น ตัดสินใจรับการรักษาด้วยวิธีสมัยใหม่นี้ ซึ่งใช้เวลารวดเร็วที่สุดเพียง 15-30 นาที โดยเวลายิงแสงเลเซอร์เพียง 10-15 วินาทีเท่านั้น

ขั้นตอนก่อนการรักษาสายตาสั้นด้วยเครื่องเลเซอร์ แพทย์จะตรวจประวัติโดยประเมินความชัดของสายตาในระดับแสงสว่างแตกต่างกันด้วยเครื่อง GLARE VISUAL METER และวินิจฉัยตาโดยใช้เครื่องพล็อตกระจกตา (COMPUTERIZED CORNEAL TOPOGRAPHY) เป็นคอมพิวเตอร์แสดงภาพกระจกตาดำว่าโค้งมากหรือน้อย โดยจะแสดงสีสันที่ต่างกันเป็นสัญลักษณ์ เครื่องนี้จะมีประโยชน์มาก ๆ ในการตรวจวินิจฉัยโรคที่มีกระจกตาดำโค้งผิดปกติ (KERATOCONUS) ตลอดจนใช้เปรียบเทียบทั้งก่อนและหลังการรักษา

หลังจากนั้น ขั้นตอนรับการรักษาแพทย์จะหยอดยาชาที่ตา และยาหดม่านตาโดยจะไม่มีการ ฉีดยาชา จากนั้นจะใส่เครื่องมือช่วยถ่างตา เพื่อมิให้ตากระพริบโดยกำหนดให้ตาจ้องนิ่งที่ดวงไฟที่เครื่องเลเซอร์ ซึ่งตั้งอยู่ข้างเตียง

ในขั้นตอนนี้แพทย์จะคุยกับผู้รับการรักษาให้ทราบขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเครื่องเลเซอร์ รวมทั้งเสียงที่เกิดขึ้นจากการยิงแสง เป็นขั้นการเตรียมตัวเตรียมใจ

เมื่อคุ้นเคยและสามารถมองได้นิ่งไม่กรอกตาแล้ว จักษุแพทย์ก็จะเริ่มปรับผิวหน้ากระจกตา ให้เรียบเสมอกัน จัดแสงเลเซอร์ให้โฟกัสลงบนกระจกตาผู้รับการรักษา

เพียงชั่วแค่พริบตาเดียว เสี้ยวเวลาไม่ถึง 10-30 วินาทีแล้วแต่ระยะสั้นของสายตา การยิงแสงเลเซอร์ก็เสร็จสิ้น แพทย์จะดูผลของการยิงเลเซอร์ด้วย SLIT LAMP และเช็ดผิวกระจกตา จากนั้นก็ใส่ ยาและปิดตาข้างที่รักษาเท่านั้น เมื่อพ้นจากห้องนั้นก็สามารถกลับบ้านได้เลย แพทย์จะให้ยาแก้ปวดทานในช่วง 2-3 วันแรกผู้รับการรักษาจะไม่มีปัญหาเรื่องตาถูกกระทบกระเทือน เพราะการรักษาวิธีนี้ไม่ได้ทำให้เกิดรายฉีกขาด เพียงแต่มีการถลอกที่เซลล์บุผิวกระจกตาจากการยิงแสงเลเซอร์ ซึ่งจะหายภายใน 3-4 วัน

“การรักษานี้รับประกันความปลอดภัยและประกันผลเมื่อทำครั้งแรกถ้าหากสายตาไม่อยู่ในระดับที่เราต้องการจะต้องทำซ้ำใหม่ เราจะทำให้ฟรี” จักษุแพทย์สมบัติกล่าว

ในที่สุด ผู้รับการรักษาก็ไม่ต้องซ่อนเบื้องหลังแว่นตาอันน่ารำคาญใจอีกต่อไป คุ้มไหมเมื่อต้องจ่ายถึง 50,000 บาทสำหรับดวงตาคู่งามสดใสของคุณ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us