|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2535
|
|
2 มิถุนายน: ชาวเดนมาร์กลงประชามติไม่ยอมรับสนธิสัญญามาสทริชท์ด้วยคะแนนเสียง เฉียดฉิว จุดเริ่มต้นข้อกังขาของนักลงทุนในตลาดเงินต่อแผนการรวมสกุลเงินยุโรป
3 มิถุนายน: ประธานาธิบดี ฟรังซัวส์ มิตแตร์รองค์ แห่งฝรั่งเศสประกาศว่า จะจัดให้มีการ ลงประชามติรับสนธิสัญญามาสทริชท์ในเดือนกันยายน ภาวะตลาดเงินเริ่มปั่นป่วนด้วยนักลงทุนเริ่ม ไม่มั่นใจว่าชาวฝรั่งเศสจะยอมรับมาสทริชท์
16 กรกฎาคม: บุนเดสแบงก์ประกาศขึ้นดอกเบี้ยดิสเคาท์ไปอยู่ที่ระดับ 8.75 % อันเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หนุนให้ค่าเงินมาร์กเริ่มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ
กรกฎาคม-สิงหาคม: ช่วงเวลาแห่งความยุ่งยาก นักลงทุนไม่มีความมั่นใจในค่าเงินสกุลยุโรปส่วนใหญ่ ปลายเดือนสิงหาคม ค่าเงินปอนด์อังกฤษ ปลายเดือนสิงหาคม ค่าเงินปอนด์อังกฤษและเงิน ลีร์อิตาลี ดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในขอบเขตอีอาร์เอ็ม
5 กันยายน: รัฐมนตรีคลังอีซีประชุมที่เมืองบาธในอังกฤษประกาศจุดยืนชัดเจนไม่มีโครงการปรับอีอาร์เอ็ม
8 กันยายน: ความปั่นป่วนในตลาดเงินยุโรประบาดไปถึงตอนเหนือฟินแลนด์ถึงเงินมาร์ก
กะออกจากการผูกติดกับเงินอีซียู(สกุลเงินยุโรป) และลดค่าเงินมาร์กกะลง สวีเดนและอิตาลีประกาศขึ้นดอกเบี้ย
10 กันยายน: นายกรัฐมนตรี จอห์น เมเจอร์ แห่งอังกฤษประกาศจะไม่มีการลดค่าเงินปอนด์ เด็ดขาด รวมทั้งปฏิเสธข้อเรียกร้องที่จะให้มีการปรับนโยบายคลัง
13 กันยายน: ปรับอีอาร์เอ็มครั้งแรกในรอบ 5 ปีครึ่ง ลดค่าเงินลีร์อิตาลีลง 7% โดยมีข้อตกลงเบื้องหลังความเคลื่อนไหวดังกล่าวว่าเยอรมนีจะลดดอกเบี้ยลงเป็นการตอบแทน
14 กันยายน: บุนเดสแบงก์ลดดอกเบี้ยลอมบาร์ดลง 0.25% ลดดิสเคาท์เรตลง 0.5% นักลงทุนมองว่าลดน้อยเกินไป แรงกดดันต่อค่าเงินปอนด์และเงินลีร์เริ่มก่อตัวอีกรอบ
16 กันยายน: “BLACK WEDNESDAY” ค่าเงินปอนด์, ลีร์, และเปเซต้าดิ่งลงต่ำกว่าขอบเขตที่กำหนดในอีอาร์เอ็ม การเข้าแทรกแซงตลาดเงินของบรรดาธนาคารกลางยุโรปเพื่อพยุงค่าเงินเหล่านั้นไว้ กลายเป็นความพยายามที่ไร้ผล
อังกฤษประกาศขึ้นดอกเบี้ย 2 ระลอกจาก 10 % เป็น 15% และถอนเงินปอนด์ออกมาจากอีอาร์เอ็ม แล้วจึงลดดอกเบี้ยกลับไปสู่ระดับ 12% ในเวลาต่อมา สวีเดนขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นไปสูงถึง 500 % เพื่อพยุงค่าเงินคราวน์ คณะกรรมาธิการด้านการเงินอีซีเรียกประชุมด่วนกลางดึก
17 กันยายน: ที่ประชุมตกลงให้ถอนเงินลีร์ออกจากอีอาร์เอ็มและลดค่าเงินเปเซต้าลง 5% อังกฤษลดดอกเบี้ยเหลือ 10% ตามเดิม
17-18 กันยายน: สงครามน้ำลายระหว่าง เฮลมุท ชเลซิงเงอร์ ประธานบุนเดสแบงก์ และ นอร์แมน ลามองต์ รัฐมนตรีคลังอังกฤษที่ชี้ว่าเยอรมนีควรปรับนโยบายเศรษฐกิจใหม่
20 กันยายน: ชาวฝรั่งเศสลงประชามติรับสนธิสัญญามาสทริชท์ด้วยคะแนนเสียงเฉียดฉิว จึงยังไม่สามารถระงับแรงกดดันต่อสกุลเงินที่อ่อนแอในอีอาร์เอ็มได้ เมเจอร์ในฐานะประธานอีซีตามวาระปัจจุบันเรียกประชุมสุดยอดผู้นำประเทศสมาชิกทั้งหมด เพื่อพิจารณาสนธิสัญญามาสทริชท์
22 กันยายน: ข่าวเงินทุนสำรองของเยอรมนีที่เพิ่มขึ้นสูงมากทำให้เกิดข่าวลือในตลาดเงินว่า อาจระงับการใช้อีอาร์เอ็มไว้ชั่วคราว ฝ่ายอังกฤษลดดอกเบี้ยลงอีก 1%
23 กันยายน: ธนาคารกลางฝรั่งเศสและเยอรมนีร่วมมือกันเข้าแทรกแซงตลาดอย่างหนักหน่วง เพื่อยุติการเก็งกำไรของนักลงทุนที่ต้องการทำลายระบบอีอาร์เอ็ม
1 ตุลาคม: สงครามน้ำลายระหว่างอังกฤษ-เยอรมนีระเบิดขึ้นอีกรอบเมื่อหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ตีพิมพ์แถลงการณ์ของประธานบุนเดสแบงก์ว่า เยอรมนีดำเนินนโยบายที่เหมาะสมแล้ว
9 ตุลาคม: เมเจอร์กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมประจำปีพรรคอนุรักษ์นิยม พยายามเรียกความนิยมกลับคืนมา หลังจากที่กลุ่มนักการเมืองขวาจัดเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวจากอีอาร์เอ็มและไม่เข้าร่วมกับสนธิสัญญามาสทริชท์
16 ตุลาคม : การประชุมสุดยอดอีซีนัดพิเศษที่เบอร์มิงแฮม, อังกฤษผู้นำทั้ง 12 ประเทศสมาชิกออก “คำประกาศแห่งเบอร์มิงแฮม” ซึ่งระบุว่า อีซีจะต้องเปิดกว้างและใกล้ชิดประชาชนของประเทศสมาชิกให้มากขึ้น เคารพเอกลักษณ์ประจำชาติของประเทศสมาชิก และป้องกันไม่ให้องค์กรของอีซีในบรัสเซลส์เข้าไปก้าวก่ายกิจการของประเทศสมาชิกมากเกินไป แต่ให้รัฐสภาประเทศสมาชิกเข้ามีส่วนร่วมและรับรู้การตัดสินใจใด ๆ และการปฏิบัติงานขององค์กรอีซีมากขึ้นส่วนแถลงการณ์ ว่าด้วยความร่วมมือเศรษฐกิจและการเงินร่วมกันนั้น เป็นการยืนยันว่าสนธิสัญญามาสทริชท์ และกลไกอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของระบบการเงินยุโรปเป็นปัจจัยหลักของการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่งคั่งของยุโรป โดยชี้ว่าชาติสมาชิกกำลังมีปัญหาเหมือนกันคือเศรษฐกิจชะลอตัว อัตราว่างงานพุ่งขึ้น ดังนั้นจึงต้องดำเนินนโยบายที่ประสานสอดคล้องกัน ดังที่ได้กำหนดไว้ในสนธิสัญญามาสทริชท์คือดำเนินนโยบายลดเงินเฟ้อ ลดการขาดดุลงบประมาณและเปิดเสรีตลาด
|
|
|
|
|