|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2535
|
 |
ความมุ่งมั่นที่จะสร้างศักยภาพเหนือกว่าคู่แข่ง ทำให้บุญชัย เบญจรงคกุล ประธานบริหารบริษัทยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี (ยูคอม) ได้ตัดสินใจร่วมลงทุนในโครงการที่จะให้บริการโทรศัพท์ทั่วโลกด้วยโครงการ “อีรีเดียม”โดยถือหุ้น 1,000 ล้านบาท หรือประมาณ 5% ของเงินลงทุน ทั้งหมด 20,000 ล้านบาท
โครงการ “อีรีเดียม” (IRDIUM) นี้เป็นผลิตผลทางความคิดของบริษัทโมโตโรลาอิงค์ สหรัฐฯ ซึ่งมีสายสัมพันธ์อันเก่าแก่กับตระกูล “เบญจรงคกุล” ผู้ค้าของโมโตโรล่ามาแสนนานในนามของบริษัท ยูคอม จนกระทั่งยูคอมสามารถสะสมทุนเป็นปึกแผ่นขยายกิจการในเครือถึง 6 แห่งและกิจการร่วมทุน 3 บริษัท เป็นผู้นำธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมด้วยการได้รับสัมปทานโครงการส่วนใหญ่ ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
ความหมายสำคัญของการลงทุนมหาศาลในโครงการ “อีรีเดียม” ครั้งนี้ บ่งบอกถึงการที่ยูคอม ได้รับสิทธิเป็นผู้ติดตั้งสถานีภาคพื้นดิน (GATEWAY) ซึ่งเป็น 1 ใน 20 รายที่ได้รับสิทธินี้เท่านั้น และ ยูคอมได้พยายามที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริหารโทรคมนาคมแห่งภูมิภาคอาเซียนนี้ด้วย รวมถึงภูมิภาคอินโดจีน
โครงการอีรีเดียมจะใช้ดาวเทียมชนิดวงโคจรต่ำ (LOW EARTH ORBIT) จำนวน 77 ดวงซึ่งจะโคจรเหนือผิวโลกในระดับต่ำประมาณ 780 กม. และเพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างชัดเจน กลุ่มดาวเทียมจะมีวงโคจร 7 วง แต่ละวงจะประกอบด้วยดาวเทียม 11 ดวงและดาวเทียมแต่ละดวงจะโคจรรอบโลก ทุก ๆ 1 เซนติเมตรในทุก ๆ 40 นาที สัญญาณดาวเทียมทุกดวงจะเชื่อมต่อเนื่องกัน ทำหน้าที่เสมือนเป็น CELLSITE ภาคพื้นดินของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ คอยรับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายอีรีเดียมทำให้มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมกว้างขวางทุกจุดของโลกภายในปี 2539
ในส่วนของ GETEWAY นี้จะเป็นสถานีภาคพื้นดินที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมระหว่างเครือข่ายดาวเทียมอีเรเดียมกับระบบชุมสายโทรศัพท์ตามบ้าน และชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการ ให้บริการเขตประเทศข้างเคียง
แต่ GATEWAY นี้ ยูคอมไม่มีสิทธิจัดตั้ง ดังนั้นสิทธิที่ยูคอมได้รับจากอีรีเดียมจะต้องเสนอต่อหน่วยราชการไทยให้เข้ามาร่วมรับผิดชอบและจัดตั้ง กรณีที่ทางการเห็นว่าไม่คุ้ม GATEWAY นี้ก็อาจจะเกิดในประเทศเพื่อนบ้านไทยได้
“อันนี้จะไม่มีผลกระทบต่อยูคอม หากไม่มีการจัดตั้งสถานี GETEWAY ขึ้นในไทยเพราะเราจะ ได้รับผลตอบแทนเป็นค่า AIR TIME จากผู้ใช้ทั่วโลก แต่การจัดตั้ง GATEWAY ในไทยจะเป็นประโยชน์มากเพราะนั่นคือเราจะเป็นศูนย์กลางการสื่อสารในภูมิภาคนี้” พิทยาพล จันทรสาโร ผู้บริหาร ซึ่งรับ ผิดชอบโครงการนี้ของยูคอมกล่าว
แต่คู่แข่งอันน่ากลัวงานนี้คือ โครงการ “อินมาแซท” ( INTERNATIONAL MARITIME SATTLELITE ORGANIZATION) ซึ่งเป็นโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศที่มีคอนเซปท์เหมือนกันมาก จนกระทั่งบริษัทโมโตโรลาต้องทำหนังสือร้องเรียนประธานาธิบดีจอร์จ บุช ให้ระงับโครงการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของอินมาร์แซทจนกว่าโครงการอีรีเดียมของเอกชนจะได้มีโอกาสสร้างตัวเองในตลาดได้
อินมาร์แซทเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพื่อให้บริการสื่อสารดาวเทียม บน ยานพาหนะต่าง ๆ เช่นเรือเดินทะเล รถยนต์ เครื่องบิน มีประเทศสมาชิก 59 ประเทศการให้บริการ ผ่านดาวเทียม 11 ดวง ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเรือเดินทะเล
ในประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เข้าร่วมถือหุ้นและให้บริการเฉพาะอินมาร์แซท-เอ และอินมาร์แซท-ซี
ล่าสุด “อินมาแซท” ได้เข้ามาเปิดตัวบริการ “อินมาร์แซท-พี” เพื่อเปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ โดยใช้ดาวเทียม “อินมาร์แซท” เสริมโทรศัพท์ลูกข่ายนอกบริการแต่บริการอินมาร์แซท-พี นี้อยู่ระหว่างศึกษา และคาดว่าจะให้บริการได้ในปี 2541
ถึงแม้จะมีอินมาแซทเป็นคู่แข่ง แผนการขยายตลาดของยูคอมก็มิได้หยุดยั้งการรุกคืบเข้าไป ลงทุนในประเทศอินโดจีน ยูคอมได้ให้ความสนใจในประเทศกัมพูชาอันดับแรกเพราะความพร้อม ด้านการลงทุนมีมากกว่าเวียดนามและลาวโดยเจาะตลาดลูกค้าที่ทำงานให้องค์การสหประชาชาติเป็น กลุ่มเป้าหมายหลัก และได้ทำสัญญาติดตั้งวิทยุโทรคมนาคมในรถยนต์ของสหประชาชาติจำนวน 8,000 คันเท่านั้น ขณะที่ตลาดเพจเจอร์หรือเซลลูลาร์คงมีบ้างประปราย
ส่วนที่เวียดนาม ซึ่งเป็นสนามรบสำหรับนานาชาติ เช่น ไทย สิงคโปร์ ออสเตรเลียที่เข้าไปลงทุนในนามของโมโตโรลา ต้องติดขัดปัญหากฎหมายระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาและเวียดนามทำให้การเข้าไปลงทุนต้องใช้ในชื่อของยูคอม
“ที่เวียดนามเราวิเคราะห์แล้วว่า เขาต้องการรับเทคโนโลยีสูงมาก ๆ แต่เขาให้สัมปทานแค่ปีเดียว เขาไม่ปล่อยให้ประเทศอื่นเข้าไปกอบโกยโดยที่เขาไม่ได้รับประโยชน์ แต่สำหรับยูคอม ถ้าเราต้องเข้าไปแล้วต้อง MAKE MONEY ได้ไม่ได้ทำเพื่อให้ได้แค่ชื่อเท่านั้น” นี่คือนโยบายการลงทุนของยูคอมที่บุญชัยเคยกล่าวไว้
การก้าวไปสู่การลงทุนระดับพันกว่าล้านบาทในโครงการอีรีเดียมนี้ ได้พลิกสถานะของยูคอมกลายเป็นผู้นำในโลกแห่งการสื่อสารภูมิภาคนี้ในทศวรรษหน้าได้ถ้าหากโครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมทุนทั้งภาคเอกชนและหน่วยราชการ สำหรับประเทศไทย ผู้บริหารยูคอมได้พยายามดึงหน่วยราชการสำคัญ ๆ เช่นองค์การโทรศัพท์ ฯ การสื่อสารแห่งประเทศไทยและกรมไปรษณีย์โทรเลขเข้าร่วมด้วย แต่ทั้งสามหน่วยงานนี้ยังไม่นำเงินมาลงทุนกับภาคเอกชน ทำให้ผู้บริหารยูคอมต้องหาทางออกปัญหานี้เพราะทางบริษัทแม่ โมโตโรลาได้กำหนดเงื่อนไขร่วมทุนไว้สองแบบคือ หนึ่ง-ลงทุนด้วยตัวเงินโดยร่วมหุ้นกับยูคอม หรือสอง-เป็นหุ้นลมซึ่งต้องเข้าไปถือหุ้นในบริษัทแม่ โดยนำเงินปันผลมาจ่ายเป็นค่าหุ้น
“ในภาคเอกชน ยูคอมได้เชิญเทเลคอม เอเชีย ผู้รับสัมปทานโครงการโทรศัพท์สองล้านเลขหมายเอไอเอส ผู้ให้บริการเซลลูลาร์ 900 บริษัท TAC ผู้ให้บริการเซลลูลาร์ 800 และได้เชิญ TT&T ผู้รับสัมปทานโทรศัพท์หนึ่งล้านเลขหมาย ผมเชื่อว่าทุกบริษัทให้ความสนใจ เพราะเป็นการพลิกโฉม การให้บริการโดยนำแม่ข่ายไปไว้บนท้องฟ้า” บุญชัยประธานบริหารยูคอมกล่าวถึงการหาพันธมิตร ธุรกิจในโครงการ
นอกจากนี้ยูคอมยังได้ปูพื้นฐานที่จะเข้าไปตั้งสถานีรับสัญญานในประเทศต่าง ๆ แถบอาเซียนนี้บ้างแล้ว คือ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ พม่า ลาว เวียดนาม และเขมร
จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตาว่าบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานบริหารแห่งยูคอมคนนี้จะสามารถรุกก้าวธุรกิจโทรคมนาคมสู่ระดับตลาดโลก ด้วยโครงการ “อีรีเดียม” ที่ลงทุนร่วมพันกว่าล้านบาทหรือไม่?
|
|
 |
|
|