Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535
เมื่อถูกโอนเป็นของรัฐจะทำอย่างไร             
โดย รัฐ จำเดิมเผด็จศึก
 


   
search resources

Investment
Political and Government




แนวโน้มการลงทุนในอินโดจีนกำลังสูงขึ้น อินโดจีนยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สิน ใด ๆ ต่อผู้ลงทุน ถ้าถูกโอน เป็นของรัฐ จะทำอย่างไร

ความหวาดกลัวของนักลงทุนที่ไปลงทุนในต่างแดนมีอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นภาวะความผันผวนทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราและการที่รัฐบาลที่รับการลงทุนเปิดกิจการแข่งขันกับนักลงทุน เป็นต้น

ในช่วงทศวรรษ ถึงสองทศวรรษที่ผ่านมา รัฐผู้รับการลงทุนได้มีมาตรการที่ทำให้บริษัทต่างประเทศ มีความหวาดกลัวมากยิ่งขึ้น นั่นคือมาตรการ “โอนเป็นของชาติ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเป็นการโอนเอา กิจการของบริษัทต่างประเทศ ซึ่งเข้ามาลงทุนกระทำการผลิตในรัฐของตน เช่นบริษัทขุดเจาะน้ำมัน บริษัท ทำเหมืองแร่ บริษัทที่เข้ามาทำกิจการสาธารณูปโภค เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การขนส่ง การคมนาคม ซึ่งบริษัทต่างประเทศเหล่านี้ต่างนำเทคโนโลยี ทรัพย์สินที่มีค่ามาลงทุนในรัฐเจ้าของดินแดน

แต่ในที่สุด รัฐก็จะพยายามหาหนทางเอากิจการอันมีมูลค่าและมีประโยชน์อย่างมหาศาลมาเป็นของรัฐด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา ดังกรณี

คดี BP EXPLORATION CO., (LIBYA) LTD. กับ ARABIAN GULF EXPLORATION CO., LTD. บริษัท BP ได้ทำสัญญาสัมปทานกับรัฐบาลลิเบีย โดยให้ทำการขุดค้นแสวงหาประโยชน์ในดินแดนที่กำหนดเป็นเวลา 50 ปี รัฐบาลลิเบียได้ออกกฎหมายโอนกิจการบริษัทเป็นของชาติ โดยโอนความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินรวมถึงบรรดาสิทธิต่าง ๆ และหุ้นของบริษัท BPไปเป็นของบริษัท ARABIAN GULF EXPLORATION CORPERATION

คดี TEXACO OVERSEA PETROLEUM CO. LTD. กับ LYBYAN NATIONAL OIL COM-PANY บริษัท TEXACOได้ทำสัมปทานกับรัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของลิเบียภายหลังรัฐบาลลิเบียได้ออกกฎหมายเพื่อโอนกิจการไปเป็นของ LYBYAN NATIONAL OIL COMPANY ในระหว่างปี ค.ศ. 1973-1974

การโอนเป็นของชาติหรือ NATIONALIZATION นั้นหมายถึง “การใดอันกระทำโดยอำนาจมหาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคลในประเภทแห่งกิจการใด ๆ มาเป็นของรัฐหรือองค์กรของรัฐทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและ ต้องมีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วย”

ส่วนวิธีการโอนนั้น รัฐผู้ทำการโอนแต่เพียงหุ้นของบริษัทที่ทำกิจการนั้น ๆ มาเป็นของรัฐ ซึ่ง ทำให้บริษัทไม่สูญเสียสภาพนิติบุคคลยังคงเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ต่อไป หรือเวนคืนทรัพย์ของบริษัทมาเป็นของรัฐ โดยการประกาศยกเลิกบริษัทเสียแล้วจัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเพื่อดูแลกิจการทรัพย์สินที่โอนมานั้นต่อไปก็ได้

ไม่ว่าจะเป็นการโอนด้วยวิธีใดดังกล่าวก็ตาม รัฐผู้โอนก็จะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือบริษัทแล้วแต่กรณีด้วย เว้นเสียแต่จะเป็นการโอนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลงโทษผู้ที่ค้ากับศัตรู ซึ่งจะไม่มีการให้ค่าสินไหมทดแทนแต่อย่างใด

ในอดีตนั้นถือว่า การโอนทรัพย์สินของคนต่างด้าวเป็นของชาตินั้นเป็นการละเมิดต่อสิทธิอันได้มาแล้วโดยชอบธรรมของคนต่างด้าวนั้น เช่นคดี MAVROMMATIS JERUSALEM COUCESSION CASE

อังกฤษยกเลิกสัมปทานที่ MAVROMMATIS ได้รับมาจากสัญญาที่กระทำกับตุรกี ศาลสถิต ยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินเมื่อ ค.ศ. 1925 ว่าการยกเลิกสัมปทานของอังกฤษนั้นเป็นการกระทำ ที่ไม่ถูกต้อง อังกฤษต้องเคารพต่อสิทธิที่เอกชนได้รับมาแล้วโดยชอบธรรม (ACQUIRED RIGHTS)

หรือคดี THE DELEGOA BAYCASE ระหว่างสหรัฐฯ กับโปรตุเกส รัฐบาลโปรตุเกสยึดทางรถไฟสร้างโดยนาย MURDO คนสัญชาติอเมริกัน อนุญาตตุลาการตัดสินให้โปรตุเกสใช้ค่าเสียหาย แก่สหรัฐฯ โดยถือว่ารัฐบาลโปรตุเกสเป็นผู้ผิดสัญญา

แต่กฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน รับรองสิทธิของทุกรัฐในการโอนทรัพย์สินของคนต่าง-ด้าวเป็นของชาติตน สาเหตุที่กฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบันให้รัฐโอนทรัพย์สินของคนต่างด้าวเป็นของชาติได้ เนื่องมาจากหลังอธิปไตยถาวรของรัฐ (PERMANENT SOVEREIGNTY) เหนือทรัพย์สินทรัพยากรธรรมชาติและกิจการทางธุรกิจดังที่สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ลงมติต่อเนื่องยืนยันหลักการนี้หลายครั้งหลายหนและยังปรากฎในมาตรา 2 วรรค 1 บทที่ 2 ของกฎบัตรว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ในทางเศรษฐกิจของรัฐ (CHARTER OF ECONOMIC RIGHTS AND DUTIES OF STATES)

คำว่า อธิปไตย “ถาวร” นี้หมายความว่า รัฐผู้มีอธิปไตยเหนือดินแดนของตนย่อมไม่สูญไป ซึ่งความสามารถตามกฎหมายในอันที่จะเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายหรือวิธีการในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของตนทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้มีข้อตกลงใด ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการแสวงหาประโยชน์นั้น ๆ ไว้แล้ว หรือไม่ก็ตาม

เมื่อการโอนเป็นของชาติเป็นสิ่งที่ทำได้เสมอโดยชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ ในที่นี้จึงจะอธิบายให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ที่จะทำให้การโอนเป็นของชาตินั้นมีผลสมบูรณ์ กล่าวคือ

เมื่อเข้าหลักดังกล่าว หากรัฐเห็นเหมาะสม รัฐก็จะดำเนินการเรียกร้องในนามของรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเสียหายจากรัฐผู้โอนโดยอาจดำเนินการทางการทูต หากรัฐได้ใช้สิทธิคุ้มครองทางการทูตต่อเอกชนผู้ได้รับความเสียหาย

คดีที่เกิดขึ้นระหว่างเอกชนกับรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะกลายมาเป็นคดีระหว่างประเทศ ระหว่างรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหาย กับรัฐเจ้าของสัญชาติของเอกชนที่ได้รับความเสียหายทันที

รัฐเจ้าของสัญชาติสามารถจะสวมสิทธิทุกอย่างที่เอกชนมีอยู่ในการต่อสู้คดีกับรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเมื่อรัฐเจ้าของสัญชาติดำเนินคดีจนถึงที่สุด และได้รับชดใช้ค่าเสียหายแล้ว การแบ่ง ค่าเสียหายแก่เอกชนคนชาติของตนตามสัดส่วนเท่าใดนั้นย่อมอยู่ในดุลพินิจของรัฐเจ้าของสัญชาติแต่ ผู้เดียว

เพราะสิทธิในการให้ความคุ้มครองทางการทูตต่อคนชาติเป็นเรื่องเฉพาะตัวของรัฐ รัฐจะปฏิเสธหรือจะยอมรับที่จะใช้สิทธิดังกล่าวก็ได้

การแก้ไขความเสียหายโดยสนธิสัญญาการลงทุนที่จะมิให้การลงทุน หรือกิจการหรือทรัพย์สินของผู้ลงทุน ถูกบังคับโอนเป็นของรัฐโดยประเทศผู้รับการลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง และเกือบทุกสนธิ-สัญญามีข้อกำหนดในเรื่องนี้

ทั้งนี้เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันว่ารัฐมีอำนาจเหนือบุคคลและสิ่งของดินแดนของตน รัฐจึงมีสิทธิที่จะบังคับโอนกิจการหรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนชาวต่างประเทศไปเป็นของรัฐได้

ฉะนั้นสนธิสัญญาเกี่ยวกับการลงทุนจึงได้กำหนดเป็นหลักประกันและเงื่อนไขที่ประเทศผู้รับการลงทุนจะโอนกิจการและทรัพย์สินเป็นของรัฐไว้ เช่น เป็นการโอนไปเพื่อประโยชน์สาธารณะและต้องมีการจ่ายค่าทดแทน

เหตุผลในการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการโอนกิจการหรือทรัพย์สินของผู้ลงทุนไปเป็นของรัฐไว้ในสนธิสัญญาเพราะสินธิสัญญาเป็นกลไกอันหนึ่งในกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศ คู่สัญญาจะต้องผูกพันและปฏิบัติตาม

หากประเทศไม่ปฏิบัติตาม เช่น มีการโอนเป็นของรัฐ ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา ถือได้ว่ารัฐผู้โอนนั้นละเมิดหรือปฏิบัติผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ก็จะเปิดโอกาสให้ประเทศคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินการตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ทันที

ผิดกับการใช้ DIPLOMATIC PROTECTION ซึ่งต้องผ่านกระบวนการตามข้างต้นก่อน ทำให้ ผู้เสียหายได้รับการชดใช้เยียวยาช้ากว่ากรณีรัฐได้ละเมิดสนธิสัญญา

สำหรับประเทศไทยได้มีบทบัญญัติกฎหมายภายในที่ให้ความคุ้มครองนักลงทุน หลายฉบับ เช่น พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พ.ร.บ. นิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2522

แม้แต่ในรัฐธรรมนูญเองก็มีบทบัญญัติการไม่โอนกิจการเป็นของรัฐอยู่เช่นกัน อีกทั้งปัจจุบันประเทศไทยได้ทำสนธิสัญญาที่เกี่ยวกับการลงทุนทั้งในรูปความตกลงเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรง และสนธิสัญญาร่วมมือทางเศรษฐกิจ กับประเทศต่าง ๆ เช่น เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา, เนเธอร์แลนด์, แคนาดา

แต่สถานการณ์ขณะนี้ การลงทุนได้มีการเคลื่อนย้ายไปสู่ภูมิภาคอื่นอาทิ การลงทุนในปิโตรเลียมในประเทศเวียดนามตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 80 เป็นต้นมา

และเมื่อเดือนตุลาคมศกนี้บริษัทมิตซูบิชิออยล์ ได้รับสัมปทานการขุดเจาะน้ำมันบริเวณนอก ชายฝั่งตอนใต้ของเวียดนาม

หรือการลงทุนจากบริษัทพรีเมียร ออยล์ ฟิลด์ (อังกฤษ) บริษัทเทคชาโกและบริษัทนิปปอนออยล์ โค (ญี่ปุ่น) ที่เริ่มขุดเจาะบ่อน้ำมันเยนตากุน นัมเบอร์ วัน นอกชายฝั่งพม่า

และในประทศลาว ได้มีการเปิดการประมูลโครงการวางสายโทรศัพท์เชื่อมเวียงจันทน์กับหลวงพระบางและปากซานกับปากเซ มีมูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท

สิ่งที่ควรพิจารณาก็คือ ประเทศเหล่านี้มีบทบัญญัติกฎหมายที่คุ้มครองและให้หลักประกันกับ นักลงทุนมากแค่ไหน ที่เห็นได้ก็คือ ประเทศเวียดนามยังไม่มีกฎหมายอาญา ไม่มีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่มีกฎหมายล้มละลาย ที่เป็นระบบอย่างชัดเจน

เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจึงเป็นปัญหาผู้ลงทุนจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้อย่างไร และสิ่งที่ น่าจับตามองอีกประการหนึ่งก็คือ ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจะซ้ำรอยเดิมหรือไม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us