Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535
ลงทุนหุ้นโฮลดิ้งต้องดู NAV             
โดย ศิริมา จินดาทองดี อรพิน กลิ่นประทุม ศิริเพ็ญ องอาจถาวร
 

   
related stories

สนทนานักลงทุน

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Investment
Knowledge and Theory




“บริษัทโฮลดิ้งไม่มีคำนิยามที่ใช้กันอยู่ทั่วไป แต่คิดว่าหมายถึงบริษัทที่ถือหุ้นเป็นบริษัทลงทุนอย่างเดียว มีเงินและเอาเงินไปลงทุนในกิจการต่าง ๆ แต่ตัวเองไม่ได้ประกอบธุรกิจใด ๆ จัดเป็น ที่มี รายได้ทั้งหมดมาจากเงินปันผล บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ฯ จะไม่มีประเภทนี้เลย” บุญมา วิกันตา-นนท์ หัวหน้าส่วนรับหลักทรัพย์ฝ่าย บริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้คำนิยามบริษัท โฮลดิ้ง

กฎเกณฑ์ที่ใช้พิจารณารับบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ ไม่เปิดโอกาสให้ PURE HOLDING COMPANY เข้าจดทะเบียน บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทอื่นต้องมีรายได้จากธุรกิจของตนเองอย่างน้อย 30% ของรายได้รวมนั่นคือรายได้เงินปันผลจากบริษัทลูกต้องไม่มากกว่า 70%

สาเหตุที่ไม่รับ PURE HOLDING COMPANY นั้น หัวหน้าส่วนรับหลักทรัพย์ให้เหตุผลว่าการควบคุม PORE HOLDING COMPANY ทำได้ยากมากเพราะผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวจะมีการซื้อ หรือขายหุ้นในบริษัทลูกเมื่อใดก็ได้ ราคาหุ้นจะผันผวนมากนักลงทุนรายย่อยจะเสียเปรียบ...

...ตุลาคม 2534 ปิ่น จักกะพาก แห่งบริษัทเงินทุน (บง.) เอกธนกิจวาณิชธนากรในวงการ TAKE OVER เข้าซื้อฟิลาเท็กซ์ บริษัทผลิตยางยืดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “เอกโฮลดิ้ง”

1 ปีให้หลัง เอกโฮลดิ้งเข้าซื้อกิจการประมาณ 6 แห่งโดยเริ่มทยอยซื้อกิจการที่ผู้ถือหุ้นสำคัญ คือ บง.เอกธนกิจถือหุ้นอยู่คือ บริษัทหลักทรัพย์เจเอฟธนาคม, เอกธำรง, และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์-เอกสิน เพื่อเป็นฐานทางการเงิน ขณะเดียวกันก็เริ่มเข้าลงทุนในธุรกิจเรียลเอสเตท คือ สาธรสยาม, ท่าจีน และล่าสุดเมื่อตุลาคม 2535 นี้เข้าลงทุนในพิทักษ์สินประกันภัย (พิจารณาแผนผังการถือหุ้นประกอบ)

ดังกล่าวข้างต้น หากเอกโฮลดิ้งขายธุรกิจของฟิลาเท็กซ์ออกไป เอกโฮลดิ้งก็เข้าข่าย PURE HOLDING COMPANY ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ ทั้งที่ระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ ฯ ห้ามเมื่อเป็นเช่นนี้ “เอกโฮลดิ้ง” น่าลงทุนซื้อหุ้นหรือ

นอกเหนือจาก PURE HOLDING COMPANY ดังกล่าวแล้ว โดยทั่วไปลักษณะของบริษัท โฮลดิ้ง ยังแบ่งได้อีก 2 ลักษณะกล่าวคือ บริษัทโฮลดิ้งที่ลงทุนในบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกัน เช่นหุ้นในกลุ่มซีพี, สหยูเนี่ยน และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็น CONGLOMERATE คือถือหุ้นในกิจการที่หลากหลาย อุตสาหกรรม เช่น กลุ่มพรีเมียร์เอนเตอรไพรซ์ (พิจารณาแผนผังการถือหุ้นประกอบ)...

...ปลายปี 2531 กลุ่มบริษัทไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น ทำให้เจ้าหน้าที่รับหลักทรัพย์ของตลาดหลัก-ทรัพย์ ฯ ต้องทบทวนหลักการรับจดทะเบียนของบริษัทที่มีเจ้าของกลุ่มเดียวกันหรือผู้บริหารกลุ่มเดียวกันให้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ ได้เพียงบริษัทเดียวในกรณีที่บริษัทเหล่านี้ทำธุรกิจคล้ายคลึงอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยที่ทำให้นักลงทุนสับสนในการลงทุน และด้วยเหตุผลสำคัญคือเพื่อป้องกันเรื่อง CONFLICT OF INTEREST ที่จะเกิดขึ้นระหว่างบริษัทเหล่านี้ด้วย

อย่างไรก็ตามหากเข้าข่ายเป็นเจ้าของกลุ่มเดียวกันหรือผู้บริหารกลุ่มเดียวกันแต่ธุรกิจอยู่ในต่างอุตสาหกรรม ก็สามารถแยกเข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ ฯ ได้

ปัจจุบันบริษัทที่เข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ ฯ ในลักษณะนี้มีเป็นจำนวนมาก แทบทุกบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่ติดปัญหาเรื่องการถือ หุ้นในบริษัทอื่นแล้วล้วนแล้ว แต่มีบริษัทย่อยเข้ามาร่วมด้วย นัยสำคัญที่นับว่าต้องนำมาร่วม ในโครงสร้างของบริษัทแม่คือการถือหุ้นร่วมกันเกินกว่า 51%

จากกฎเกณฑ์ของทางการดังกล่าว การเข้าไปลงทุนในบริษัทโฮลดิ้งประเภทนี้ จะไม่แตกต่างจากการวิเคราะห์บริษัทอื่นเท่าใดนัก

ส่วนบริษัทโฮลดิ้งที่เป็น CONGLOMERATE ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือบริษัทพรีเมียร์เอ็นเตอร์ไพรซ์ที่มีบริษัทลูกหลายกลุ่มธุรกิจเช่น ธุรกิจการค้าและบริการ ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร ธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างและวัสดุ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการผลิตเพื่อการส่งออก

การกระจายกลุ่มธุรกิจดังกล่าวออกไปมากมายเช่นนี้ประเด็นสำคัญก็คือมีผลต่อบริษัทประเภทนี้อย่างไร ?

PURE HOLDING COMPANY บริษัทที่เป็นโฮลดิ้งมีผลการบริหารงานขึ้นอยู่กับความสามารถในการลงทุนของผู้บริหาร รายได้หลักจะมาจากเงินปันผลของบริษัทลูก หากผู้บริหารมองการณ์ไกลบริษัทลูกที่ไปลงทุนมีผลประกอบการที่ดี บริษัทโฮลดิ้งก็จะมีรายได้มากตามไปด้วย

การลงทุนในบริษัทโฮลดิ้งประเภทนี้จึงคล้ายคลึงกับการลงทุนในหน่วยลงทุนที่มีผู้จัดการกองทุนช่วยบริหารเงินลงทุนให้ กล่าวคือเป็นลักษณะของ PORTFOLIO จะต่างกันที่สินค้าที่ผู้จัดการกองทุนเข้าไปลงทุน

ดังนั้น มูลค่าของบริษัทโฮลดิ้งนี้จึงสามารถที่จะคำนวณขึ้นมาจากค่า NAV ( NETASSET VALUE) ได้เช่นกันเพียงแต่ว่านักลงทุนต้องระวังในเรื่องตัวเลขที่คำนวณออกมาด้วย เพราะแต่ละสำนักจะไม่เหมือนกัน

ส่วนความกังวลของทางการที่กลัวความผันผวนของรายได้ของบริษัทโฮลดิ้งอันเกิดจากการเล่นกลของผู้บริหาร กล่าวคือคิดจะขายหรือซื้อหุ้นตัวใดก็ได้นั้นเป็นข้อกังขาที่เกิดขึ้นจากการตั้งสมมุติฐาน “ใจคนสุดหยั่ง” นั่นเอง

ทว่า เมื่อในวงการการเงินบ้านเราในขณะนี้ผู้บริหารที่ยอมเสียภาพพจน์จากการเล่นกลโยกเงินจากบริษัทสู่กระเป๋าตนเองจนทำให้นักลงทุนเสียหาย ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะเมื่อใดที่ทำเช่นนั้นในสังคมวงแคบ ๆ เช่นนี้ ย่อมมีเพียงครั้งแรกคงไม่มีใครยอมให้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สองตามมา

สำหรับ “เอกโฮลดิ้ง” ที่คาดว่าในอีกไม่นานคงจะขายธุรกิจยางยืดออกไปลักษณะบริษัทเข้าข่ายโฮลดิ้งนี้น่าลงทุนหรือไม่นั้น นอกจากการวิเคราะห์ในขั้นพื้นฐานทั่ว ๆ ไปเหมือนกับบริษัทจำกัดแล้ว

ด้วยความเป็นบริษัทโฮลดิ้งประเภทที่ลงทุนในบริษัทลูกด้วยวัตถุประสงค์ของการลงทุนเป็นหลัก (INVESTMENT) ดังนั้นผลตอบแทนที่สำคัญคือกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ (CAPITAL GAIN) มากกว่าที่จะหวังรายได้เงินปันผลจากบริษัทลูก

ดังจะเห็นได้จาก บริษัทที่เอกโฮลดิ้งเข้าไปลงทุน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทในกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ประกันภัย และเรียลเอสเตท ต่างมีแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมสูงมากและทิศทางของบริษัทในอุตสาหกรรมเหล่านี้สุดท้ายล้วนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ

สำหรับ CONGLOMERATE HOLDING COMPANY ธุรกิจที่มี PORTFOLIO ที่ช่วยกระจายความเสี่ยง แต่เมื่อความเสี่ยงน้อย ผลตอบแทนย่อมไม่สูงด้วยเช่นกัน นักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยงจึงสามารถลงทุนได้ในระยะยาว

การวิเคราะห์บริษัทนี้ค่อนข้างลำบากเพราะมีความสลับซับซ้อนมากด้วยเหตุว่าต้องวิเคราะห์กันหลายอุตสาหกรรมและนำมารวมกันเพื่อตัดสินใจอีกครั้ง

การคำนวณมูลค่าของบริษัท ก็ใช้วิธีคำนวณจาก NAV เช่นเดียวกับบริษัทโฮลดิ้งประเภทอื่น

จากการวิเคราะห์ที่ยุ่งยากจนนักวิเคราะห์หลายค่ายแทบจะไม่วิเคราะห์กัน ทำให้นักลงทุนไม่ค่อยสนใจตามไปด้วยแต่ทิศทางของบริษัทประเภทนี้กลับค่อนข้างน่าสนใจ

เพราะหากมีวาณิชธนกร (INVESTMENT BANKER) หรือ ผู้บริหารของบริษัทนั้น ๆ เองเข้ามาวิเคราะห์อย่างละเอียดอาจจะพบว่าามีธุรกิจบางส่วนมีมูลค่าแท้จริงสูงกว่ามูลค่าของบริษัทโฮลดิ้งแล้ว จัดโครงสร้างบริษัทใหม่ โดยแยกตัวของธุรกิจที่มีมูลค่าสูงกว่าออกมา (SPRINT OFF) มูลค่าโดยรวมของบริษัทนี้ก็จะเพิ่มขึ้น !

สำหรับกรณีของพรีเมียร์เอ็นเตอร์ไพรซ์ที่เข้าข่ายโฮลดิ้งประเภทนี้นั้น การเข้าลงทุนในแต่ละบริษัทล้วนแล้วแต่เพื่อการบริหารงานทั้งสิ้นดังนั้นการพิจารณาว่าจะเข้าไปลงทุนในบริษัทนี้หรือไม่นั้น ควรพิจารณาจากคุณภาพของบริษัทลูกและมูลค่า NAVของบริษัท

ปัจจุบันสภาพคล่องของกลุ่มบริษัทโฮลดิ้งยังมีน้อยมาก นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเก็งกำไร ซึ่งจะซื้อหรือขายมักฟังข่าวมากกว่าฟังผลวิเคราะห์บริษัทโฮลดิ้งที่จะเกิดขึ้นแล้วสามารถเวียนว่ายในตลาดรอง แห่งนี้ได้

ในช่วงแรกนี้คาดว่าจะเป็นพวก PURE HOLDING COMPANY เพราะความหวือหวาของราคาคงจะทำให้นักลงทุนในตลาดไทยได้ลุ้นกันพอสมควร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us