ผ่านไปฉลุยสำหรับโครงการโทรศัพท์มือถือ คลื่นความถี่
1900 เมกะเฮิรตซ์ มองผิวเผินแล้ว น่าจะทำให้ผู้ใช้ได้มีทางเลือกเพิ่มขึ้น ไม่ต้องเลือกใช้อยู่แค่เอกชน
2 ค่าย
เพราะความตั้งใจของสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่บอกกับสื่อมวลชนใน การนำโครงการนี้เข้าสู่คณะรัฐมนตรี
ก็ เพื่อต้องการแก้ลำเอกชน ที่ไม่ยอมลดค่าบริการรายเดือนลง โดยเฉพาะค่ายแอดวานซ์
อินโฟร์ เซอร์วิส
เงื่อนไขของบริการนี้ จึงระบุไว้แต่แรกเลยว่า ค่าบริการรายเดือนจะต้องเก็บเดือนละ
300 บาทเท่านั้น
ขณะเดียวกันก็เท่ากับเป็น การฝึกฝนองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)
และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ให้มีประสบการณ์เรียนรู้ ที่จะปรับตัวแข่งขันกับเอกชนเพราะอีกไม่กี่ปีก็จะเปิดเสรี
ทั้งทศท. และ กสท.ก็จะต้องเข้าสู่สนามแข่งขันอย่างจริงจัง
แผนงาน ที่วางไว้ก็คือ การดำเนินการในรูปของบริษัท เป็นบริษัท ร่วมทุน ทศท.ถือหุ้น
54.98% กสท. ถือหุ้น 40% วิทยุการบินถือหุ้น 0.02% พนักงานทศท. และกสท.5%
มีทุนจดทะเบียน 1,200 ล้านบาท
จากนั้น จะต้องมีการแต่งตั้งกรรมการ หรือผู้เริ่มก่อการของบริษัท ร่วมทุน
ประกอบไปด้วย ผู้แทนจากทศท. 4 คน กสท. 3 คน กระทรวงการคลัง 1 คน ผู้แทนอัยการ
1 คน รวม 9 คน และมีผู้แทนจากทศท.นั่งเป็น กรรมการผู้จัดการ หรือ chief executive
officer (CEO) ส่วนทีมงานจะคัดเลือกจากคนในทศท. และกสท. ที่จะต้องลาออกจากต้นสังกัดมาเป็นลูกจ้างในบริษัทนี้
แต่คนในวงการโทรคมนาคม กลับมีความเห็นเหมือนๆ กันว่า เป้าหมายของโครงการนี้กลับไม่น่าจะใช่เหตุผลเหล่านี้เพียงอย่างเดียว
แต่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร ตามประสาโครงการขนาดใหญ่ บรรดาซัปพลายเออร์ ที่ยอดขายลดลงไปมากในช่วง ที่เศรษฐกิจเมืองไทยตกไป
3 ปีเต็ม ว่ากันว่างานนี้คงต้องวิ่งกับฝุ่นตลบ ซึ่งก็เป็นธรรมเนียมปกติไปแล้วสำหรับโครงการประเภทนี้
ยิ่งไปกว่านั้น ทศท. และ กสท. พร้อม ที่จะปรับตัว เพื่อการแข่งขันจริงหรือไม่
เพราะทศท. และกสท.เองก็น่าจะได้รับบทเรียนมาแล้ว กสท.เองก็มีโครงการโทรศัพท์มือถือระบบซีดีเอ็มเอ ที่ควรจะทำเอง
เพื่อหาประสบการณ์แต่ก็ยังอนุมัติไปให้บริษัทตะวันเทเลคอมไปทำการตลาดให้
และมาในระยะหลังก็ขอเปลี่ยนแปลงข้อตกลงจนทำท่าว่าเอกชนรายนั้น จะกลายมาเป็นผู้ให้บริการเองด้วย
ผู้คร่ำหวอดในวงการโทร คมนาคมอดไม่ได้ ที่จะคิดว่า โครงการนี้เอกชนก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในภายหลัง
เหมือนกับโครงการอื่นๆ แม้แต่คนในทศท. และกสท.เองก็เชื่อเช่นนั้น พวกเขาเองก็ไม่เชื่อว่าคนของพวกเขาจะปรับตัวไปแข่งขันกับเอกชนได้
กลุ่มทุน ที่ถูกจับตามองมากที่สุด ในเวลานี้ ก็คือ กลุ่มช่อง 3 และ ภูษณ
ปรีย์มาโนช ซึ่งจะว่าไปแล้วก็มีความพร้อมทั้งคู่ กลุ่มช่อง 3 นั้น อย่างที่รู้ว่า
มีความพร้อมทั้งเงินทุน และมีความสนใจในธุรกิจมือถือมานานแล้ว เคยดึงเอาอดีตประธานบอร์ดทศท.
รุ่งโรจน์ ศรีประเสริฐสุข และคนในทศท.มานั่งทำงาน แต่โชคไม่เข้าข้าง ยังไม่ได้โครงการดีๆ
มาอยู่ในมือ จนต้องยุบธุรกิจนี้ไป แต่เชื่อว่าช่อง 3 คงไม่รามือแน่
ส่วนภูษณ ปรีย์มาโนช ที่ได้ชื่อ ว่า ลูกจ้าง ที่รวยที่สุดในประเทศไทย ก็มีความพร้อมทั้งเงินทุน
และสายสัมพันธ์ เข้านอกออกในทุกพรรคการเมือง และล่าสุดก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษา
ทางด้านไอทีให้กับไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี และเวลานี้บรรดาลูกน้องเก่าๆ
ในแทค ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจโทรศัพท์มือถือเป็นอย่างดีก็ลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว
ประเด็นสำคัญของธุรกิจนี้อยู่ ที่คลื่นความถี่ ที่มีจำกัด เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด
เพราะถึงแม้ว่าจะมีเงินทุน และเทคโนโลยีหาซื้อได้ แต่ไม่มีคลื่นความถี่ก็ไม่มีความหมาย
อย่างในประเทศอังกฤษเวลานี้ซื้อขายคลื่นความถี่กันที 6-8 หมื่นล้านบาท คลื่นความถี่
1900 ย่อมมีความหมายมากสำหรับผู้ที่อยากเข้าสู่ธุรกิจนี้
รัฐเองก็เคยได้บทเรียนมาแล้ว จากการที่อนุมัติคลื่นความถี่ 1800 เมกะ เฮิรตซ์ให้กับแทคไปทั้งแถบ
จนสามารถ เอาไปเซ็งลี้ต่อขายให้กับกลุ่มไออีซี และกลุ่มสามารถได้เงินเข้ากระเป๋าไปแล้ว
อันที่จริงแล้ว โทรศัพท์มือถือ ยังคงเป็นธุรกิจ ที่มีความหอมหวนอยู่มากถึงแม้จะได้ชื่อว่าเป็นธุรกิจ ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง
ในลักษณะของธุรกิจประเภท infrastructure ต้องสร้างเครือข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่
ที่ต้องใช้เงินแต่ละปีเป็นหมื่นๆ ล้าน แต่ต้องไม่ลืมว่า ความต้องการของผู้บริโภคยังมีอยู่มาก
จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือก็ยังน้อยอยู่มาก นั่นหมายถึงโอกาส ที่จะขยายเพิ่มขึ้นยังมีอยู่มาก
และ ที่สำคัญพัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ ที่ไม่ใช่แค่อุปกรณ์โทร คมนาคม ที่ใช้ในเรื่องของเสียง
(voice) แต่กำลังจะกลายเป็น "สื่อ" หรือ media อีกประเภทหนึ่ง ที่ใช้ส่งข้อมูลต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ต
และเป็นสื่อ ที่เคลื่อนที่พกพาไปไหนได้ ซึ่งเทคโนโลยีนับตั้งแต่ 2-3 ปีมานี้ก็มุ่งพัฒนาไปในเรื่องเหล่านี้ทั้งนั้น
ไม่ว่าจะเป็น wap เทคโนโลยี หรือ 3 generation ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
การที่ช่อง 3 มีโทรศัพท์มือถือ คง ไม่แตกต่างจากการที่ชินคอร์ปต้องการมีไอทีวี
เพราะช่อง 3 มีซอฟต์แวร์รายการ ละคร ภาพยนตร์จำนวนมาก มีวิทยุ ค่าย เพลง
ในอนาคตจะกลายเป็น content ที่จะใช้ป้อนให้กับ "สื่อ" อย่างโทรศัพท์มือถือ
นอกเหนือไปจากการป้อนให้กับ "สื่อ" โทรทัศน์ เพราะอีกไม่นานการรวม กันของเทคโนโลยีโทรคมนาคม
คอม พิวเตอร์ และบรอดคาสติ้งจะเกิดขึ้น โทรศัพท์มือถือจะรับข้อมูล ดูหนังฟังเพลง
ดูหุ้น เช่นเดียวกับโทรทัศน์ ที่จะต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ต
ภูษณเอง เวลานี้นอกจากการมีธุรกิจวิทยุอย่างไม่เป็นทางการแล้ว ธุรกิจอินเทอร์เน็ตจะเป็นอีกธุรกิจ ที่ภูษณจะเริ่มต้นอย่างเป็นชิ้นเป็นอันหลังจากออกจากแทค
โดยจะทำตัวเองเป็น content provider ที่จะป้อนข้อมูลให้กับ "สื่อ" ต่างๆ
ไม่ใช่เรื่องแปลก หากจะมีเจ้า ของ "สื่อ" อย่างกลุ่มเนชั่นมัลติมีเดีย ที่เวลานี้ก็รุกไปเกือบทุกสื่อแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ วิทยุ เคเบิลทีวี จะสนใจเข้าร่วมด้วย เพราะ "สื่อ"
ที่เนชั่นไม่มีในเวลานี้ก็คือ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งถ้าหากมีครบแล้ว เนชั่นก็มี
สภาพไม่แตกต่างจากชินคอร์ป ที่เวลานี้มีพร้อมในเรื่องของโทรคมนาคม "สื่อ"
ขาดอย่างเดียวคือ content
เพราะนี่คือ ผลพวง ที่เกิดจากการปฏิวัติของการรวมกันระหว่างโทรศัพท์มือถือ
โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต