Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535
100 บริษัทชั้นนำของผู้จัดการ             
โดย สรร เกษมสถิตจงกุล
 


   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Economics
Research




“มีเพียง 10 บริษัทเท่านั้นที่ทำรายได้คิดเป็นสัดส่วนถึงเกือบครึ่งของทุกบริษัทในตลาดหลัก-ทรัพย์ฯ และทำกำไรสูงถึง 40% ของยอดกำไรรวมของทุกบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ถ้าวัดจาก ความสามารถในการทำกำไรและความมั่นคงแล้วบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ดีที่สุด”

ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ ในฐานะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจของประเทศผลการประกอบการของบริษัทที่เปลี่ยนแปลงไปจึงเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศได้

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแม้ว่าจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ แต่ผลการดำเนินงานของบริษัทต่าง ๆ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ฯ โดยรวมยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีก่อน

โดยในช่วงครึ่งปีแรกบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ฯ สามารถสร้างรายได้รวมทั้งสิ้น 416.32 พัน-ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 15.89 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ตามประมาณการของสภาพัฒน์ในปีนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน 10.5 เปอร์เซ็นต์ โดยมีรายได้เฉลี่ยบริษัทละ 1.39 พันล้านบาท

แต่มีเพียง 54 บริษัทเท่านั้นที่สามารถสร้างรายได้ของบริษัทที่มีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งในจำนวนนี้ หากไม่รวมกลุ่มธนาคารซึ่งมีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยแล้วจะมีบริษัทที่มีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย เหลือเพียง 39 บริษัทเท่านั้นและเมื่อรวมรายได้ของบริษัทที่มีรายได้สูงสุด 10 บริษัทแรก จะพบว่ามี สัดส่วนถึง 44.59 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของบริษัททั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์

การที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ในขณะเดียวกันบริษัทต่าง ๆ มีความจำเป็นในการขยายตัว เพื่อรักษาระดับการเจริญเติบโต ประกอบกับนโยบายการค้าเสรีของรัฐบาล จึงทำให้การแข่งขันทวี ความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันทางด้านราคาต้นทุนการดำเนินงานจึงสูงขึ้นอันส่ง ผลให้กำไรสุทธิลดลง

แม้ว่ารายได้รวมของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ฯ จะเพิ่มขึ้น 10.5 เปอร์เซ็นต์แต่การทำกำไร กลับเพิ่มขึ้นเพียง 0.58 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 46.35 พันล้านบาท

และหากเปรียบเทียบบริษัทที่มีกำไรสุทธิสูงสุด 10 อันดับแรกซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ แล้วจะพบว่ามีมูลค่าคิดเป็น 41.5 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่ากำไรสุทธิของตลาด

ในระยะครึ่งปีแรกบริษัทต่าง ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ ฯ ได้เพิ่มมูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 3,463.77 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 33.32 เปอร์เซ็นต์

ขณะที่การเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิกลับเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ต่ำกว่า ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์จึงมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการลงทุนส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ซึ่งยังไม่สามารถก่อรายได้ในงวดบัญชีปัจจุบัน

โดยมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมทั้งตลาด 3.92 เปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ในระดับ 4.43 เปอร์เซ็นต์ และเปรียบเทียบกับ 10 บริษัทแรกซึ่งให้ผลตอบแทนสูงสุดในระดับ 18.17 เปอร์เซ็นต์

บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ฯ มีขนาดสินทรัพย์เฉลี่ย 11.54 พันล้านบาทแต่มีเพียง 29 บริษัทเท่านั้นที่มีขนาดสินทรัพย์สูงกว่าค่าเฉลี่ย เนื่องจากการถ่วงของธนาคารขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของประชาชน

หากไม่รวมกิจการธนาคาร บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ฯ จะมีขนาดสินทรัพย์เพียง 2.5 พันล้านบาท (100 ล้านเหรียญ)

หรือหากเทียบเป็นมูลค่าตามราคาตลาด (MARKET CAPITAL) บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ฯ จะมีมูลค่าเมื่อวันที่ 30 กันยายน 1992 เฉลี่ยประมาณ 4.47 พันล้านบาท (178.2 ล้านเหรียญ) เท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหลักทรัพย์คู่แข่งของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน คือ มาเลเซีย และสิงคโปร์ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดเมื่อสิ้นปี 1991 ประมาณ 182.6 และ 370.6 ล้านเหรียญ

นอกจากนี้จำนวนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีขนาดสูงกว่าขนาดเฉลี่ยกลับ มีเพียง 58 บริษัทจากจำนวน 299 บริษัทเท่านั้น นอกจากนั้นสินทรัพย์ประมาณ 65.49 เปอร์เซ็นต์ในตลาดหลักทรัพย์ ฯ เป็นสินทรัพย์ของบริษัทขนาดใหญ่ 10 อันดับแรก

กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเล โดยเฉพาะการส่งออกปลาทูน่าโดยมีรายได้และกำไรสุทธิลดลงเฉลี่ย 1.05 และ0.47 เปอร์เซ็นต์ทั้งนี้เนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบและการกีดกั้นทางการค้า

นอกจากกลุ่มการเกษตรแล้วกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังเป็นกลุ่มที่มีผลการดำเนินงานไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากบริษัทในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นการรับจ้างทำของและพึ่งพาการส่งออกค่อนข้างสูง โดยมีรายได้และกำไรสุทธิเฉลี่ยลดลง 2.70 และ 210.84 เปอร์เซ็นต์

ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับสูงคือกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากโครงการต่าง ๆ ในอดีตยังคงสร้างกระแสรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าภาวะการก่อสร้างจะชะลอตัวลงก็ตามอย่างไรก็ตาม การรับรู้รายได้ในวิธีการบันทึกทางบัญชี และมีผลต่อการดำเนินงาน ค่อนข้างสูง

ส่วนการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ฯ เมื่อมองในด้านความมั่นคงของธุรกิจโดยพิจารณาจากขนาดของสินทรัพย์ ยอดรายรับ ยอดกำไรสุทธิและส่วนของ ผู้ถือหุ้นพบว่า บริษัทที่มีความมั่นคงสูงเป็นบริษัทในกลุ่มธนาคารเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะธนาคารกรุงเทพ ยังคงเป็นบริษัทที่มีลำดับสูงที่สุด โดยมีรายรับรวมต่ำกว่าการบินไทยเท่านั้น

นอกจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่แล้ว บริษัทชั้นนำในประเทศที่มีความมั่นคงระดับสูง คือการบินไทย ปูนซิเมนต์ไทย กลุ่มธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ และกลุ่มพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่

การเปรียบเทียบเมื่อมองในด้านความสามารถในการทำกำไร เมื่อพิจารณาจากผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ผลตอบแทนต่อยอดขาย ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และกำไรสุทธิต่อหุ้น พบว่าความสามารถในการทำกำไรกระจายสู่กลุ่มบริษัทต่าง ๆ ออกไปค่อนข้างกว้าง

บริษัทที่น่าสนใจในด้านผลการดำเนินการคือ ทิสโก้ คริสเตียนีแอนด์นีลเซ่น อเมริกันสแตนดาร์ด และเครือซิเมนต์ไทย

แต่เมื่อมองทั้งด้านความมั่นคงและความสามารถในการทำกำไรแล้ว ควรให้เครดิตกับแลนด์ แอนด์เฮ้าส์ และกฤษดามหานคร

วิธีการสำรวจ

ข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอนี้เป็นการวิเคราะห์จากรายงานงบการเงินประจำงวดครึ่งปี (ม.ค.-มิ.ย. 2535) ของบริษัทต่าง ๆ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 299 บริษัท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของบริษัทต่าง ๆ ในระยะครึ่งปีที่ผ่านมา ซึ่งนักลงทุนสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการคัดเลือกหลักทรัพย์ในการลงทุนจากการเปรียบเทียบ และจัดอันดับปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ อย่างไรก็ตามบริษัทต่าง ๆ มีลักษณะการดำเนินธุรกิจแตกต่างกันไป ปัจจัยที่จะนำมาใช้ในการเปรียบเทียบจึงจำเป็นต้องใช้ปัจจัยและอัตราส่วนที่มีลักษณะร่วมของแต่ละธุรกิจคือ

1) รายได้รวม เป็นรายได้จากการดำเนินงานจากธุรกิจหลักและรายได้อื่น ๆ
2) กำไรสุทธิภายหลังจากดอกเบี้ยและภาษี
3) สินทรัพย์รวมตามมูลค่าทางบัญชี
4) ส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งรวมถึงทุนเรือน หุ้น กำไรสะสม และส่วนล้ำมูลค่าหุ้น
5) อัตราผลตอบแทนต่อยอดขาย
6) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม
7) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
8) กำไรสุทธิปรับราคาพาร์เพื่อการเปรียบเทียบ
9) อัตราการเติบโตของรายได้

การจัดอันดับตามปัจจัยต่าง ๆจะทำการเปรียบเทียบระหว่างบริษัทต่าง ๆ ทั้งนี้ไม่รวมถึงหลักทรัพย์ที่มิใช่หุ้นสามัญ และจะนำเสนอเพียง 100 บริษัทตามยอดรายได้รวม

ส่วนการคำนวณเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโดยรวม ใช้วิธีเฉลี่ยคะแนนลำดับของปัจจัยที่ใช้ใน การจัดลำดับ ทั้ง 9 ปัจจัยดังแสดงไว้ข้างต้นแล้ว โดยได้เพิ่มลำดับของยอดรายได้รวมระยะเดียวกับปีก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us