Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535
ภาพชีวิตของสามัญชนเขมรวันนี้             
 


   
search resources

Economics
Cambodia




ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจและบรรดานักวิเคราะห์ตลอดจนนักธุรกิจส่วนใหญ่ต่างเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจเขมรกำลังดีวันดีคืนตามลำดับและถนนธุรกิจจากทั่วทุกมุมโลกกำลังทอดยาวเข้าสู่ดินแดนที่เพิ่งผ่านพ้นไฟสงครามมาไม่นานแต่การคาดหมายใด ๆ จะมีความหมายมากไปกว่าเสียงสะท้อนจากสามัญชนคนเดินดินชาวเขมรเองที่จะเป็นผู้ชี้ชัดว่าพวกเขามี “ชีวิตที่ดี” กว่าแต่ก่อนหรือไม่ ? อย่างไร?

กับคำถาม “คุณคิดว่าเศรษฐกิจเขมรกำลังดีขึ้นหรือแย่ลง” สิโธเจ้าของร้านขายเครื่องเขียนในตลาดทายให้ความเห็นว่า “ดิฉันคิดว่าเงินเฟ้อคงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปตามราคา ของมัน และคนทั่วไปก็เข้าใจดีที่จริงตอนนี้ทางร้านขายดีกว่าเมื่อก่อนวันหนึ่ง ๆ มีกำไรราว 15,000-20,000 เรียล ถึงจะไม่มากมายนักแต่ก็พอที่จะเลี้ยงดูครอบครัวได้”

ส่วนจัน ธร เจ้าของภัตตาคารฟราเทอร์ไนต์ เผยความรู้สึกว่า “ช่วงหลังนี้ธุรกิจดีขึ้นมากเรามีรายได้มากขึ้นมีกำไรมากขึ้นยอดขายของร้านเพิ่มขึ้นตามค่าเงินเรียลในตลาดมืดปีที่แล้วเรามีรายได้ 150,000 เรียลแต่ตอนนี้เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัวแล้ว ดูเหมือนว่าตั้งแต่เจ้าหน้าที่อันแทคเข้ามามีลูกค้าเข้าร้านเพิ่มขึ้น แต่ถึงยังไงธุรกิจในช่วงกลางคืนก็ไปได้ไม่ดีนักเพราะมีพวกหัวขโมยและมีการฆาตกรรมมากถ้ามีความปลอดภัยมากขึ้นธุรกิจคงดีตามไปด้วย”

แม้แต่คนขี่สามล้อรับจ้างวัยฉกรรจ์อย่างพิรูนก็มีทัศนะต่อภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจในเขมรน่าสนใจไม่น้อย “ทุกคนรู้ดีว่าตอนนี้มันวุ่นวายไปหมด และถึงแม้ค่าจ้างสามล้อจะแพงขึ้นกว่าเดิมมากแต่ผมก็มีรายได้แค่วันละ 3,000 เรียล ซึ่งก็พอสำหรับค่ากินอยู่ไปวัน ๆ เหมือนเมื่อก่อนนั่นแหละ” ทว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อกำลังส่งผลร้ายต่อกลุ่มข้าราชการอย่างเห็นได้ชัดที่สุดหูตโสถนักบัญชีประจำกระทรวงการคลังให้ความเห็นว่า “เงินเดือนที่รัฐบาลจ่ายให้พวกเราแค่ 30,000 เรียลนั้นไม่พอแม้แต่จะเป็นค่าอาหารเช้า ตอนนี้พวกเราต้องพึ่งภรรยาที่ขายของอยู่ในตลาด ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปอย่างยากเย็น แต่มาตรฐานการดำเนินชีวิตของเราคงดีขึ้นอย่างช้า ๆ”

ครูโรงเรียนมัธยมบักตูกอย่างอุม สีนูนก็พูดในทำนองเดียวกันว่า “เราไม่สามารถอยู่ได้ด้วยเงินเดือน 32,000 เรียล (ราว 15 ดอลลาร์) พวกเราทุกคนต้องมีทำธุรกิจส่วนตัวหรือประกอบอาชีพเสริมไม่งั้นต้องอดตายแน่ดิฉันกับพี่สาวก็ขายอาหารในโรงเรียนไปด้วยอีกหน่อยดิฉันอาจจะลาออกแต่กำลังรอดูอยู่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีกบ้างในอนาคต แต่ถึงอย่างไรดิฉันยังรักอาชีพครูอยู่” และเมื่อถามคำถามเดียวกันนี้จากยาย หญิงชาวนาและขอทานผู้เร่ร่อนบนถนนอาจารย์เมียนแล้วคำตอบแบบไม่ยี่หระต่อสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปของเธอก็คือมันก็ไม่ได้ไม่เสียอะไรนี่ทุกปีฉันต้องเข้าเมืองมาขอทานแล้วก็มีเงินพอเลี้ยงตัวไปวัน ๆ ถึงจะไม่ใช่เรื่องที่ควรทำเท่าไหร่แต่ฉันไม่มีใครอีกแล้วที่นาที่กัมปงสปือก็ทำนาไม่ได้เพราะไม่มีน้ำ”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us