Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535
มังกรผยอง             
 


   
search resources

Economics
International




หลายคนคิดว่าเมื่ออังกฤษตัดสินใจที่จะส่งมอบฮ่องกงให้กับจีนคงจะถือเป็นวาระสุดท้ายของอาณานิคมแห่งนี้ แต่ในปัจจุบันเมื่อการส่งมอบในปี 1977 ใกล้จะมาถึงนั้นเศรษฐกิจฮ่องกงกำลังบูม มูลค่าอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นจากสองปีที่แล้วถึง 60%

เหตุผลคือนักธุรกิจตะวันตก บริษัทธุรกิจการเงินจากโตเกียวรวมทั้งนักธุรกิจเชื้อสายจีนจาก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังมุ่งหน้าสู่ฮ่องกงขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมทั้งโลกกำลังประสบภาวะเศรษฐกิจซบเซา พวกนักธุรกิจจึงมองหาเมืองที่กำลังจะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 ฮ่องกงถือเป็นที่ตั้งที่ได้เปรียบเนื่องจากมีแหล่งเงินทุน มีผู้ประกอบการของฮ่องกงและไต้หวันที่มีความสามารถ รวมทั้งมีตลาดบนจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีจำนวนถึง 1,200 ล้านคน มีแรงงานราคาถูกรวมทั้งทรัพยากรที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์จากจีนแผ่นดินใหญ่

อย่างไรก็ดียังมีอุปสรรคในการสร้าง “ศตวรรษแห่งมังกร” ที่ชาวจีนในดินแดนโพ้นทะเลวิตกกังวลอยู่ ความไม่แน่นอนทางการเมืองทั้งในจีนแผ่นดินใหญ่และของฮ่องกงเองหลังปี 1977 เป็นสิ่งที่ น่าจับตามอง รวมทั้งปักกิ่งและฮ่องกงเองก็ยังมิได้มีการเจรจากันอย่างจริงจังในเรื่องการรวมดินแดน แต่เป็นที่คาดกันว่าการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ในราวปลายปีนี้จะมุ่งพิจารณาถึงแผนการการปฏิรูป ทางเศรษฐกิจของ เติ้ง เสี่ยว ผิง เป็นหลัก

แต่เมื่อไม่พิจารณาถึงปัจจัยทางด้านการเมืองจะเห็นได้ว่ามีการลงทุน การค้าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเข้ามาในประเทศจีนเป็นอย่างมากอันถือเป็นการผูกมัดจีนทั้งสามเข้าด้วยกัน และจะมีส่วนช่วยสร้างดุลให้เกิดขึ้นในเอเชีย เมื่อจีนทั้งสามรวมกันนั้นจะมีเงินตราสำรองรวมถึง 160,000 ล้านดอลลาร์ มากกว่าญี่ปุ่นที่มี 70,500 พันล้านดอลลาร์ถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของญี่ปุ่นทีเดียว

มีการลงทุนหลั่งไหลเข้ามาในจีนแผ่นดินใหญ่เป็นจำนวนมากรวมทั้งผู้ประกอบการจากฮ่องกงและไต้หวัน ที่ต่างทุ่มลงทุนเป็นจำนวนเงินถึง 25,000 ล้านดอลลาร์ สร้างโรงงานทางตอนใต้ของจีนอย่างเช่นปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้และเทียนสิน ขณะเดียวกันบริษัทของรัฐบาลจีนในปัจจุบันนั้นเข้าไปลงทุนในฮ่องกงมากที่สุดนักวิเคราะห์เห็นว่า “ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่วยเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้กับจีนทั้งหมด” แม้เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางสหรัฐฯได้ตัดสินใจขายฝูงเครื่องบินขับไล่ มูลค่าหกพันล้านดอลลาร์ให้แก่ไต้หวัน

การที่เศรษฐกิจจีนเริ่มกระเตื้องขึ้นนั้นถือเป็นการท้าทายญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ขณะที่ในปัจจุบันญี่ปุ่นถือเป็นผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่ไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ และเริ่มรู้สึกว่าพ่อค้าชาวจีนกำลังจะเข้ามาแทนที่พวกตน

ส่วนทางวอชิงตันนั้นมีความรู้สึกที่ผสมผสานกันเกี่ยวกับการเติบโตขึ้นของจีนขณะที่การรวมตัวทางเศรษฐกิจนั้นกดดันให้ทางกรุงปักกิ่งต้องมีนโยบายเสรีมากขึ้นแต่ยิ่งจีนเปิดเสรีมากขึ้นก็ยิ่งสร้างความวิตกกังวลให้กับสหรัฐฯ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมสหรัฐฯจึงจับตามองการค้าและการทหารของจีนอย่างใกล้ชิดขณะที่จีนได้ดุลการค้ากับสหรัฐ ฯ มาถึง 15 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ส่งผลให้ประธานาธิบดี จอร์จ บุช บีบให้จีนเปิดตลาดการค้ามากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us