Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2545
เกมใหม่ของ อนันต์ กาญจนพาสน์             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

"เมืองทองธานี" รอวันปิดฉาก?

   
search resources

อนันต์ กาญจนพาสน์




ในวันที่ 2 มิถุนายน 2545 นี้ อนันต์ กาญจนพาสน์ จะมีอายุครบ 61 ปีเต็ม เขาเป็นลูกชายคนโตของมงคล กาญจนพาสน์ บุตรของชาวจีนโพ้นทะเล ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบมาดำรงชีพด้วยการซ่อมแว่นตาและนาฬิกา ในย่านเยาวราช ตั้งแต่ปี 2483

มงคลได้รุกคืบขยายกิจการเล็กๆ ข้างถนนของตระกูลอย่างต่อเนื่อง จนได้ร่วมมือกับดิเรก มหาดำรงค์กุล ตั้งบริษัทเมืองทอง เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาชื่อดังจากต่างประเทศ เช่น มิโด้ ราโด้ และไซโก้

ต่อมามงคลขยายไปตั้งบริษัทพัฒนาที่ดิน หลายบริษัท เช่น สหกรุงเทพฯ พัฒนา บริษัทธนายง และปี 2516 ได้ก่อตั้งบริษัทบางกอกแลนด์ เพื่อก่อสร้างโครงการเมืองทองนิเวศน์บนถนนแจ้งวัฒนะ พร้อมๆ กับกว้านซื้อที่ดินย่านชานเมืองสำคัญหลายแห่งในกรุงเทพฯ

หลังเกิดเหตุการณ์มหาวิปโยคเมื่อเดือนตุลาคม 2516 ตระกูลนี้ก็ได้ขยายฐานไปสร้างรกรากใหม่ที่ฮ่องกง ทำทั้งธุรกิจนาฬิกาและพัฒนาที่ดิน หลังจากนั้นกลับมาเมืองไทยอีกครั้งเมื่อปี 2530 และปักหลักยึดหัวหาดบนถนนแจ้งวัฒนะ พัฒนาโครงการเมืองทองธานี โดยมีอนันต์ กาญจนพาสน์ ลูกชายคนโตเป็นผู้บริหาร ส่วนคีรี กาญจนพาสน์ ลูกคนที่ 7 ไปยึดทำเลอีกฟากหนึ่งของกรุงเทพฯ เพื่อพัฒนาที่ดินในย่านบางนา ในโครงการธนาซิตี้

อนันต์เกิดและเติบโตในย่านเยาวราช เรียนหนังสือที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนจนอายุ 13 ปี ถูกส่งไปเรียนต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เรียนจบได้ปริญญาทางด้าน Commercial Diploma และหอบไปให้ครอบครัวชื่นชมที่ฮ่องกง และรับผิดชอบธุรกิจนาฬิกากับผู้เป็นพ่อที่นั่น รวมทั้งทำโครงการด้านพัฒนาที่ดิน

วันนี้รูปอนันต์จะผอมลงกว่าเดิมถ้าเทียบกับเมื่อ 15 ปีก่อน แม้สีหน้าจะยังเคร่งเครียด แต่เมื่อได้พูดคุยก็จะพบว่าเป็นคนใหม่ที่อารมณ์ดี ยิ้มง่าย เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ขันเช่นเดิม จนไม่น่าเชื่อว่าผู้ชายธรรมดาๆ คนนี้ จะเต็มไปด้วยลีลา และชั้นเชิงในการทำธุรกิจที่ซับซ้อนหลายแง่มุม

ถ้าเกมกีฬาเป็นเหมือนเช่นเกมธุรกิจ ช่วงแรกที่อนันต์กลับมาเมืองไทย เขาชอบออกกำลังกายด้วยการเล่นเทนนิส ซึ่งเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยความว่องไว ตัดสินใจเร็วในการตอบโต้ เช่นเดียวกับโครงการเมืองทองธานี ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว หลายคนอาจจะมองว่าอนันต์เป็นคนใจร้อน บุ่มบ่ามเกินไป การมองตลาดตรงนี้จึงผิดพลาด ในขณะที่ เขายังมั่นใจว่าทุกเรื่องที่เกิดขึ้นมาในอดีตของการทำธุรกิจ เขาตัดสินใจไม่พลาดแต่เป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจต่างหากที่ซ้ำเติมให้ทุกอย่างเลวร้าย

วันนี้ กีฬาที่เขาชอบคือกอล์ฟ ซึ่งเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยความใจเย็น สุขุมรอบคอบ เมื่อก่อนเขาเคยบอกว่า ไม่ชอบเล่นเลย เพราะช้า ไม่ทันใจ และใช้เวลามากไป เพราะทุกครั้ง ก่อนที่จะตัดสินใจเหวี่ยงไม้ลงไปตีลูกลงหลุม นอกจากลูกไม่พลาดเป้าแล้ว วงสวิงต้องสวยด้วย เฉกเช่นเดียวกับการตัดสินใจทำโครงการต่างๆ ของเขาในตอนนี้ ที่ต้องอาศัยจังหวะ และเวลามากขึ้นเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

การใช้ชีวิตส่วนตัวของนักธุรกิจคนนี้ เป็นที่รู้กันในหมู่ผู้ร่วมงานว่า ไม่ค่อยออกงานสังคมมากนัก จะสัมผัสกับทุกคนในเวลาทำงานเป็นหลัก ไม่ค่อยให้โอกาสพบเจอกับใครเลยในเวลานอกเวลาทำงาน ทันทีที่เลิกงานส่วนใหญ่จะกลับบ้านเลย เพราะกฎกติกาของเขาที่เป็นความเคยชินในชีวิตคือ ต้องกลับบ้านไปทานข้าวกับภรรยา "โซฟี" และลูกๆ คือ "พอลล์" กับ "ปีเตอร์" ที่วันนี้ได้เข้ามาช่วยงานบิดาทั้งคู่ในบริษัทบางกอกแลนด์

ส่วนวันว่าง เสาร์-อาทิตย์ จะไปเล่นกอล์ฟกับก๊วนส่วนตัวเล็กๆ ที่สนามธนาซิตี้

นอกจากจะผอมลง และพูดภาษาไทยได้ชัดเจนขึ้น เขายังบอกว่า วันนี้ เขาใจเย็นขึ้น และเข้าใจการทำธุรกิจกับข้าราชการไทยมากขึ้นด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us