Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535
นิพนธ์ สัจจาวุธ กลับมาเพื่อพิสูจน์ตัวเองด้วยเบตตี้แอดส์             
 


   
search resources

Advertising and Public Relations
นิพนธ์ สัจจาวุธ
เบตตี้ แอดส์ (ประเทศไทย)




นิพนธ์ สัจจาวุธ เอเยนซีแมนที่คร่ำหวอดในวงการมานานกว่า 20 ปี วันนี้ของเขากำลังพิสูจน์ ฝีมือของตนเอง เพื่อสมานแผลใจที่เกิดขึ้นจากซาทชิ แอนด์ ซาทชิ แอดเวอร์ไทซิ่ง ที่เขา ร่วมงานมานานนับแต่บริษัทนี้ถือกำเนิดสืบต่อมาจากเทดเบทส์(ประเทศไทย) แต่ก็ต้องระเห็จออกมาในที่สุดเมื่อต้นปีนี้ เพราะคำสบประมาทว่า เขาบริหารงานไม่ดี

นิพนธ์เก็บตัวเงียบอยู่หลายเดือนในระหว่างที่ออกจากซาทชิ พร้อม ๆ กับทีมงานที่ติดตามมาด้วยอีก 14 ชีวิตเป้าหมายของเขาคือลบคำสบประมาท ที่ถือเป็นคำหลู่นักบริหารมืออาชีพอย่างเขาและสิ่งที่เขาทำต่อไปมิใช่เพียงการย้ายสังกัดอย่างที่เอเยนซีแมนนิยมปฏิบัติกันเท่านั้น แต่เขามีเป้าหมายไกลกว่านั้น นั่นคือการเป็นเจ้าของกิจการเอเยนซี่ขนาดกลางบิลลิ่ง 100 ล้านบาทและขณะนี้เขาได้เริ่มต้นแล้วกับเบตตี้แอดส์(ประเทศไทย) ซึ่งแปลงสถานภาพมาจาก บิก แอดเวอร์ไทซิ่งที่มี ปิยะ จิตตาลาน เป็นประธานกรรมการบริษัท และมีสุธีร์ รัตนนาคินทร์ นักบริหารกลยุทธ์การตลาดเป็นกรรมการผู้จัดการ

นิพนธ์เริ่มเข้าไปปรับโครงการธุรกิจบิก แอดเวอร์ไทซิ่ง ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับ กิจการประชาสัมพันธ์ในรูปของไดเร็กมาร์เก็ตติ้งการพิมพ์ และการวิจัยเป็นการทำธุรกิจโฆษณาอย่าง แท้จริงเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาโดยสุธีร์แยกไปทำธุรกิจที่ตนสันทัดได้แก่การวิจัยตลาดในนามของบริษัทอินทิเกรตเตด

จุดมุ่งหมายของนิพนธ์มิได้หยุดอยู่เพียงแค่การเป็นหุ้นส่วนเจ้าของกิจการเอเยนซี่โฆษณาเท่านั้น แต่ยังขยายขอบเขตไปถึงการสร้างความแข็งแกร่งให้กับบิก ด้วยการจับมือเอเยนซี่ ที่มีชื่อเสียงระดับสากล ทัดเทียมศักดิ์ศรีของอดีตที่ทำงานเก่าของตนและเบตตี้ กรุปเป็นผู้กำชัยในการแสวงหาคู่ครั้งนี้ ของบิกหลังจากตะเวณควานหาผู้ร่วมทุนอยู่นาน ไม่ว่าจะเป็นแน๊กซ์, ดามาสค์ หรือคาเธ่ย์ แอดเวอร์- ไทซิ่ง เป็นต้น

“ผมเลือกเบตตี้เป็นพาร์ทเนอร์ เพราะเรามีสไตล์การทำงานที่คล้ายกัน ที่สำคัญผู้ก่อตั้งบริษัท เอเยนซี่คือ เอียน เบตตี้ ก็ยังทำงานอยู่จนทุกวันนี้”

แหล่งข่าวในวงการเอเยนซี่วิเคราะห์สถานการณ์การร่วมทุนระหว่างเบตตี้และบิกว่าเป็นความ จำเป็นของบิกที่ต้องมีพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่งเพื่อผลต่อการดำเนินธุรกิจต่อไปของบริษัท เพราะหลังจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจของบิกเป็นการโฆษณาล้วน ๆ สถานภาพของบิก ก็อ่อนแอลงเนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ของบิกต้องการผลงานในเชิงการวิจัยการตลาด และไดเร็กมาร์เก๊ตติ้ง มากกว่าการโฆษณาเมื่อโครงสร้างบิกเปลี่ยนลูกค้าส่วนใหญ่ก็พร้อมใจกันเปลี่ยนเอเยนซี่ไปใช้บริการของอินทิเกรตเตด ที่มี สุธีร์ เป็นกรรมการผู้จัดการดังเดิม

สิ่งที่นิพนธ์ได้จากการร่วมธุรกิจกับเบตตี้ ก็คือเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงในด้านการสร้างสรรค์ และข้อมูลจากสาขาทั่วโลกที่เบตตี้มีสายใยโยงไปถึง ไม่ว่าจะเป็นเวลลส์ริชกรีน/บีดีดีพีในอเมริกาและบีดีดีพีในยุโรป รวมทั้งเทคนิคต่าง ๆ ในการพัฒนาบุคลากร

ข้อดีของการร่วมธุรกิจกับเบตตี้ กรุ๊ป ซึ่งถือหุ้นอยู่ 30 เปอร์เซนต์นี้ คืออิสระในการบริหารโดยทีมงานของนิพนธ์ โดยเบตตี้ไม่ได้เข้ามาก้าวก่าย เพราะฐานลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของ เบตตี้ แอดส์ (ประเทศไทย) คือลูกค้าท้องถิ่นในประเทศ และลูกค้าของเบตตี้อีก 30 ล้านบาท ได้แก่สิงคโปร์แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกของเบตตี้

ที่น่าสังเกตุก็คือกลุ่มลูกค้าของเบตตี้แอดส์นั้น ส่วนหนึ่งเป็นลูกค้าที่ใช้บริการของซาทชิอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นอีริคสัน คอมมูนิเคชั่น (ประเทศไทย) ลักโซ่ หรือแสงอุดมฟาร์มาซี เป็นต้น

หรือขบวนการไล่ล่าลูกค้ากำลังเกิดขึ้น และด้วยฟอร์มที่สดแต่ทีมงานมีความคุ้นเคยกับลูกค้ามาก่อนของเบตตี้ แอดส์ กำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว !!!

ในขณะที่ทางด้านซาทชิเอง ก็พยายามที่จะรักษาฐานลูกค้าของตนอย่างเข้มงวดถึงขนาดดึงมือดีด้านครีเอทีฟของลินตาส ที่มีผลงานได้รับรางวัล แทคอวอร์ดมาหลายชิ้นอย่างชูเกียรติ เจริญสุข เข้ามาเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา

นิพนธ์ตั้งเป้าหมายว่าในปีหน้า เบตตี้ แอดส์ จะสามารถขยายบิลลิ่งของตนเป็น 200 ล้านบาท จากยอดบิลลิ่ง 150 ล้านบาท เป็นเป้าหมายของปลายปีนี้ ในขณะที่ยอดบิลลิ่งของซาทชิในปีนี้ประสบภาวะชะงักงัน 2 ระลอก เนื่องจากการตบเท้าลาออกพร้อมกัน 15 คนของบุคลากร และเหตุการณ์พฤษภาคมเลือด ที่มีผลทำให้ธุรกิจต่าง ๆ หยุดชะงักไป ทำให้ไม่สามารถขยายตัวได้ คาดว่าบิลลิ่งจะ ใกล้เคียงกับปีที่แล้วประมาณ 300 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ 350 ล้านบาท

คนที่หนักใจก็เห็นจะมีผู้บริหารของซาทชิอย่าง จอห์น เกเฮเกน และ ประเสริฐ มัสซารี ผู้จัดการทั่วไปถึงขนาดมีผลทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างการบริหารลูกค้าเป็นกลุ่มลูกค้าในประเทศและกลุ่ม ลูกค้าบริษัทข้ามชาติ พร้อมกับดึงอดีตกรรมการผู้จัดการวิคเตอร์เจียม ได้แก่ ปริญดา อุทัยเจริญพงษ์ กลับเข้ามาร่วมในวงการเอเยนซี่อีกครั้งหนึ่งสำเร็จ หลังจากปริญดาถอนตัวไปพักหนึ่ง

ระหว่างเอเยนซี่ใหม่ปีแรกมีบิลลิ่ง 150 ล้านบาท และเอเยนซี่เก่าอายุ 4 ปีที่ยอดบิลลิ่งยังคงที่ ไม่ขยับขึ้นตามเป้าหมาย ซ้ำลูกค้าก็ทับซ้อนกันหลายราย นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามมอง

ในขณะที่ซาทชิยังยึดถือความเป็นบริษัทข้ามชาติ ที่มีฐานอยู่อังกฤษตามวิสัยบริษัทใหญ่ที่ทำตลาดด้วยนโยบายโกลเลิบไลเซซั่นเป็นเครือข่ายสำคัญขยายฐานลูกค้าในลักษณะที่เรียกกันว่า THINK GLOBAL, ACT LOCAL แต่สำหรับเบตตี้ด้วยความที่เกิดในเอเซีย แนวคิดที่การทำงาน จึงมุ่งให้ความสำคัญกับความเป็นเอเยนซี่ท้องถิ่นมากกว่าแล้วจึงขยายตัวออกไปนอกทวีป ข้ามไปยังอเมริกาและยุโรป เพื่อสนับสนุนฐานความเป็นเอเยนซี่ท้องถิ่นให้คล่องตัวขึ้น ภายใต้คอนเซปท์ว่า THINK LOCAL, ACT BLOBAL

หรือจะเป็นความตั้งใจของนิพนธ์ที่จะพลิกโฉมหน้าการโฆษณาของทีมงานที่ประสบความสำเร็จจากสินค้าที่มีชื่อเสียงมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นปาล์มโอลีฟ แพมเพอร์ส, บริทิช แอร์เวย์, ซัลซิล, ฮอทไลน์ และคาลเท็กซ์ ซีเอ๊กซ์-3 เป็นต้น

อีกนัยหนึ่งก็คือผลงานจากซาทชิที่ยังสั่งสมคั่งค้างในประสบการณ์ของนิพนธ์ในฐานะเออีเก่า จะเป็นฐานสร้างความเชื่อถือแก่ลูกค้าที่มีสายสัมพันธ์กันมานาน และฝ่ายที่จะต้องระวังป้องกันตัวเองให้มาก ก็เห็นจะไม่แคล้วเป็นซาทชิ รังเก่าของนิพนธ์ ที่ไต่เต้าจากฐานธุรกิจของบริษัทที่มี บิลลิ่งเพียง 40 ล้านบาท เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ก้าวมาเป็น 300 ล้านบาทในวันนี้

ศึกครั้งนี้ซาทชิคงต้องทำงานหนัก เมื่อต้องแข่งขันกับผู้บริหารเก่าของตนเองอย่างนิพนธ์ สัจจาวุธ ซึ่งเป็นผู้ที่รู้จักเส้นสนกลในของซาทชิเป็นอย่างดี แต่ได้เปรียบในแง่ฟอร์มที่สดกว่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us