Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2535
“ไทยคม” ไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้             
 


   
search resources

เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์
Telecommunications




“ขณะนี้ เรากำลังอยู่ในขึ้นของการ Co-Ordination กับประเทศที่ยื่นขอประสานงานมา “เศรษฐ-พร คูศรีพิทักษ์ รองอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข หนึ่งในคณะตัวแทนของไทยพูดถึงความคืบหน้าของ “ไทยคม”

การ Co-Ordination นี้อยู่ในขั้นตอนที่ 2 ของข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union) ที่กำหนดถึงขั้นตอนของการที่แต่ละประเทศจะมีดาวเทียมเป็นของตัวเอง โดยมีคณะกรรมการการจดทะเบียนความถี่วิทยุระหว่างประเทศ (International Frequency Registration Board) เป็นหน่วยงานดูแลรับผิดชอบ

จากขั้นตอนแรกที่ดาวเทียมไทยผ่านไปแล้วก็คือ การจองตำแหน่งวงโคจร การส่งสเปค และขอบข่ายการบริการ (Coverage area) ให้กับ IFRB

อันนำไปสู่ขั้นตอนที่ 2 ที่ IFRB จะแจ้งเรื่องไปยังประเทศสมาชิกรับทราบและต้องทำเรื่องขอประสานงานกลับมา (Co-Ordination) หากประเทศนั้น ๆ ได้รับผลกระทบ เป็นการรักษาสิทธิ การมี ดาวเทียมเป็นของประเทศสมาชิกเองที่จะนำไปสู่การเจรจา ทำความตกลงหรือเปลี่ยนแปลงใด ๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของทุก ๆ ฝ่าย

ด้วยย่านความถี่ C-Band (คลื่นความถี่รับสัญญาณ 4GhZ, ส่ง 6Ghz) จำนวน 10 ทรานส์พอนเดอร์กับ Ku-Band (คลื่นความถี่รับสัญญาณ 12Ghz, ส่ง 14Ghz) จำนวน 2 ทรานส์พอนเดอร์ ที่ดาวเทียมไทยใช้ ณ ตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียม 4 จุด คือ ไทยคมเอ 1 ที่ 101 องศา E, เอ 2 ที่ 78.5 องศา E, เอ 3 และ เอ 4 ที่ 120 องศา E และ 142 องศา E ตามลำดับ

ประกอบกับขอบข่ายการสื่อสาร (Coverage area) ที่ครอบคลุมประเทศไทยและทุกประเทศแถบอินโดจีน ทิศเหนือถึงปักกิ่ง โตเกียว โซล และตลอดแนวแปซิฟิก ทิศใต้ถึงสิงคโปร์ และทิศตะวันตก กินเนื้อที่ครึ่งหนึ่งของประเทศพม่า

ทำให้มีประเทศสมาชิกแจ้งเรื่องมายัง IFRB เพื่อขอประสานงานกับประเทศไทยแค่เฉพาะตำแหน่งเอ 1 และเอ 2 ถึง 8 ประเทศ !

ไทยคมเอ 1 นั้นจะมี 8 ระบบ จาก 7 ประเทศ ได้แก่ปาปัวนิวกินี ฮ่องกง จีน รัสเซีย ตองกา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และอินเทลแซท (องค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ)

ส่วนเอ 2 มี 7 ระบบ จาก 6 ประเทศคือ อเมริกา อินโดนีเซีย รัสเซีย จีน อินเดีย ฮ่องกง และ อินเทลแซท

ดังนั้น ตลอดต้นปีที่ผ่านมา คณะตัวแทนของไทยอันประกอบด้วยชินวัตร แซทเทลไลท์ กับกรมไปรษณียโทรเลขในฐานะตัวแทนของรัฐบาลจึงต้องเดินทางไปยังประเทศสมาชิกที่แจ้งมาเพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและร่วมกันหาทางออก

เศรษฐพรได้เล่าให้ฟังถึงเนื้อหาของการประสานงานกับประเทศสมาชิกต่าง ๆ ให้ฟังว่าปาปัว-นิวกินีเป็นประเทศแรกที่แจ้งขอประสานงานแต่ปรากฎว่าเมื่อกลับไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในอีก 1 เดือนต่อมา ได้ข้อยุติว่าไม่มีผลกระทบใด ๆ จึงไม่มีปัญหา !

ฮ่องกง มีปัญหากับดวงที่ 1 และ 2 เนื่องจากวงโคจรใกล้เคียงกันและตรงกันคือ 105.5 องศา กับ 78.5 องศา ซึ่งทางเอเซียแซทเสนอให้ไทยเป็นฝ่ายย้ายตำแหน่ง แต่ไทยไม่ยอมรับในข้อเสนอ จึงยังตกลงกันไม่ได้ !

ประเทศญี่ปุ่นซึ่งก่อนหน้านี้เคยส่งตัวแทนมาประสานงานกับประเทศไทยครั้งหนึ่ง จากข้อมูลพบว่าญี่ปุ่นไม่มีปัญหากับดวงที่ 1 และดวงที่ 2 แต่มีปัญหากับดวงที่ 3 คือมีแผนจะยิงดาวเทียมที่ตำแหน่ง 120 องศา E ตรงกัน ทางญี่ปุ่นเสนอให้ไทยย้ายดวงที่ 3 ออกไป 1 องศา ซึ่งยังไม่สามารถยอมรับกันได้ จึงพักเรื่องไว้ก่อน !!

รัสเซีย กับดาวเทียมอินเทลแซท ของสหรัฐอเมริกา ยังไม่มีการกำหนดแผนการประสานงานเนื่องจากต้องรอการติดต่อกลับมาเพื่อนัดช่วงเวลา

ส่วนอินโดนีเซียนั้นกำหนดประสานงานกันเดือนพฤศจิกายน

และการเดินทางประสานงานครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนกันยายน กับประเทศจีน และญี่ปุ่นที่จีนนั้น ปรากฎว่ามีเพียงตำแหน่งวงโคจรเอ 2 เท่านั้นที่ไม่มีปัญหา ในขณะที่เอ 1, 3 และ 4 ตำแหน่งจะอยู่ใกล้กันมากกับตำแหน่งดาวเทียมของจีน !!

แต่ผลการประสานงานครั้งนี้ ดูจะสร้างความพอใจให้กับคณะตัวแทนไทยมากที่สุด เพราะการเจรจาคืบไปถึงขั้นทำข้อตกลงเรื่องระดับของการรบกวนของระดับอัตราการรบกวนของสัญญาณ (C/I) ว่าระดับของการรบกวนนั้นจะแล้วแต่ประเภทของบริการ ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป

และสูตรการคำนวณหาระดับการรบกวนก็ตกลงกันว่าจะใช้สูตรตามที่ ITU กำหนด ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะใช้เป็นเสมือนบรรทัดฐานในการประสานงานความถี่ครั้งต่อไป

ส่วนญี่ปุ่น ปัญหายังคงติดอยู่ที่ตำแหน่งเอ 3 เหมือนเดิม และไม่มีประเด็นอะไรคืบหน้า ใหม่ ๆ ซึ่งกรณีของญี่ปุ่นนี้เศรษฐพรให้ความเห็นว่าไม่ใช่เรื่องรีบร้อนสำหรับตอนนี้เพราะเอ 3 ยังไม่มีกำหนดยิง!

จากการCo-Ordination เศรษฐพรได้แยกลักษณะของผลกระทบที่จะเกิดกับประเทศสมาชิกต่าง ๆ ว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเด็นคือ ประการแรกเป็นเรื่องของตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมที่อยู่ใกล้กัน หรือตำแหน่งตรงกันพอดี ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วการวางตำแหน่งดาวเทียมนั้นแต่ละดวงจะต้องห่างกัน 2 องศา ประการที่สองมีขอบข่ายการบริการที่ตรงกัน

ซึ่งทำให้เกิดผลตามมาก็คือสัญญาณของดาวเทียมจะรบกวนกัน

แต่อย่างไรก็ดี จุดนี้เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ เจ้าหน้าที่เทคนิคฝ่ายดาวเทียมของการสื่อสารแห่งประเทศไทยชี้แจงว่า ความใกล้เคียงของตำแหน่งวงโคจร และขอบข่ายการสื่อสารที่ตรงกันจะไม่ก่อให้เกิดการรบกวนกันแต่อย่างใด หากว่าคลื่นความถี่ที่ใช้เป็นคนละความถี่ หรือหากเป็นความถี่ที่อยู่ใกล้กันในระดับที่ยอมรับกันได้

กล่าวคือ ดาวเทียมที่อยู่ใกล้กัน ดวงแรกใช้คลื่นความถี่ในการรับสัญญาณที่4Ghz และส่งสัญญาณที่ 6Ghz แต่ดวงที่ 2 ซี่งอยู่ใกล้กันน้อยกว่า 2 องศาการรบกวนจะมีโอกาสเกิดน้อยมากจนถึงไม่มีโอกาสเกิดเลย หากดาวเทียมดวงที่ 2 ใช้ความถี่ในการรับสัญญาณโดยการคำนวณให้คลื่นความถี่ห่างออกไป เช่นเป็นความถี่รับสัญญาณที่ 4.09Ghz และส่งสัญญาณที่ 6.10Ghz

หรืออาจใช้ความถี่คนละคลื่นไปเลย เช่น ดาวเทียมดวงแรกใช้คลื่น C-Band (ซึ่งมีคลื่นอยู่ระหว่าง 4-8 Ghz) ดวงที่ 2 ก็อาจเลี่ยงไปใช้คลื่น Ku-Band ซึ่งเป็นคลื่นความถี่สูงขึ้นไปอีก (คือ8-12Ghz) ก็สามารถทำได้

ซึ่งการปรับเปลี่ยนคลื่นสัญญาณความถี่ในการรับส่งนี้เป็นเรื่องทางเทคนิคที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ไม่ยาก

แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านการประสานงานมาแล้วกับหลายประเทศ เศรษฐพรเห็นว่า เรื่องนี้มันขึ้นอยู่กับการตกลงกันถึงผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายมากกว่า ! เพราะมันกลายเป็นเรื่องของธุรกิจระหว่างประเทศไปแล้ว !!

ซึ่งการเจรจาธุรกิจระหว่างประเทศที่ว่านี้ หนึ่งในคณะผู้แทนไทยให้ความเห็นว่าโดยรวมแล้ว ไม่มีอะไรน่าหนักใจส่วนที่ยากและเป็นปัญหาที่สุดเศรษฐพรเห็นว่าน่าจะเป็นกรณีของดาวเทียมเอเซีย-แสทของฮ่องกง

เพราะจากการประสานงาน 2 ครั้งที่ผ่านมา เอเซียแสทยืนกรานข้อเสนอเดียวว่าให้ไทยเป็นฝ่ายย้ายตำแหน่งวงโคจรออกไปทั้ง เอ1 และ2!!

ความไม่ยินดีที่จะเจรจากันในประเด็นทางเทคนิคนั้นเศรษฐพรให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นเพราะส่วนแบ่งของตลาดดาวเทียม

เนื่องจากตลาดใหญ่ ในปัจจุบันอยู่แถบประเทศไทย อินโดจีน พม่า เอเซียแสทก็คงอยากได้ตลาดนี้เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดี หากว่ามีเหตุผลเพียงเท่านี้ ก็น่าดูจะ “เบา” ไปสำหรับการเกี่ยงงอนของเอเซียแสท เพราะพื้นที่ส่วนแบ่งตลาดดาวเทียมตรงนี้ มันขึ้นอยู่กับฝีมือและชั้นเชิงในการต่อรองของใครจะเหนือกว่าใครมากกว่า

ซึ่งเอซีแสทเองก็มีโอกาส ณ จุดนี้เท่า ๆ กับไทย อเมริกา จีน ญี่ปุ่น หรือใคร ๆ “ผมเคยถามไปทาง IFRB ว่ามีไหมกรณีที่ยังตกลงกันไม่เสร็จแล้วยิงขึ้นไป เขาก็ตอบมาว่ามีเกือบ 20 ประเทศทั่วโลก ใครยิงก่อนประเทศนั้นก็ได้เปรียบ ใครยิงทีหลังก็ต้องไปปรับเปลี่ยนเรื่องสัญญาณความถี่เอาเอง ซึ่งไทยคมมีกำหนดยิงก่อนทางเอเซียแซท”

อย่างไรก็ตาม คณะตัวแทนของไทยยังคงเห็นคล้อยตามกับหลักการของไอทียู ดังนั้นการ Co-Ordination กับเอเซียแซทในครั้งต่อไป

หัวข้อการเจรจาจะพยายามพูดถึงข้อตกลงด้านเทคนิคที่จะนำมาใช้และป้องกันปัญหาคลื่นรบกวนกัน เพื่อแก้ปัญหาในจุดที่เป็นอยู่ที่เศรษฐพรให้ความเห็นต่อไปอีกว่าหากยังไม่มีอะไรดีขึ้น อีกก็คงต้องไปเจรจากับประเทศอื่น ๆ ที่เหลือ คือ อินเดีย ญี่ปุ่น และตองกาด้วยตามวิธีที่ว่านี้จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้ “ไทยคม” ของไทยได้เปรียบเอเซียแซท เพราะเหลือประเทศที่ต้องประสานงานด้วยน้อยกว่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us