Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2534
เมื่อคีรีฝ่าขวากหนามในธุรกิจโทรคมนาคม             
 

   
related stories

คีรี กาญจนพาสน์ มังกรสะท้านบู้ลิ้ม
"ผมคิดว่าเมืองไทยน่าจะจัดประกวดนางงามจักรวาลนานแล้ว !"

   
search resources

คีรี กาญจนพาสน์
Telecommunications




และแล้วมันก็ถึงเวลาหนึ่งที่คีรีเหลือทางเลือกเพียงทางเดียว คือการสู้จนถึงนาทีสุดท้าย เมื่อเขาเห็นว่าการชนะประมูลของชินวัตร ในโครงการดาวเทียมสื่อสารมูลค่าสี่พันล้านบาท เป็นเรื่อง ไม่ยุติธรรม!!!

"เรื่องนี้มันเกินไปหน่อย ถ้าคนที่ประมูลได้ให้ผลประโยชน์สูงสุดและมีคอนเน็คชั่นดีที่สุดชนะ ก็ยังเป็นเรื่อง ที่ยอมรับได้ว่าคนที่ดีที่สุดได้ไป แต่ของผมดีที่สุดแล้วคุณบอกว่าไม่ดี มันก็กระไรอยู่นะ !"

งานนี้คีรีเสนอผลประโยชน์ให้รัฐในรูปตัวเลขเงินประกันรายได้ขั้นต่ำและเปอร์เซนต์รายได้ 8.78% และให้ช่องสัญญาณหรือทรานสปอนเดอร์ฟรีอีก 1 ทรานสปอนเดอร์

"ปฏิกิริยาของเราก็คือ ผมต้องส่งหนังสือขอความเป็นธรรมจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา และถ้าไม่ได้ผลผมคงต้องส่งหนังสือถึงท่านนายกรัฐมนตรี" ความรู้สึกเสียใจระคนตกใจปรากฎในของคีรีทันทีที่รับทราบผลการตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอดาวเทียมสื่อสาร ซึ่งมีอดีตปลัดศรีภูมิ ศุขเนตร เป็นประธาน และมนตรี พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่เซ็นทิ้งทวนก่อนจะมีการยุบรัฐบาลชาติชาย

ทัศนคติของคีรีที่มีมาตลอดชีวิตได้บอกให้เขาตอบโต้อย่างหนัก ซึ่งอาจจะเสี่ยงตรงที่ว่า จะทำให้สถานการณ์ที่ย่ำแย่อยู่แล้วยิ่งเลวร้ายลงไปอีก แต่ประสบการณ์ได้สอนเขาไว้ว่า สิ่งที่แย่ที่สุดในการทำการค้าก็คือ ความรู้สึกหมดหวังที่จะจัดการ นั่นยิ่งจะทำให้ศัตรูได้กลิ่นคาวเลือดและรุมทึ้งเอาได้ หรือไม่ก็เหยียบข้ามหัวกันไปง่าย ๆ

การก้าวเข้ามาในยุทธจักรโทรคมนาคมของคีรี มีเหตุผลเชิงธุรกิจที่คีรีมองเห็นอนาคตของการ สื่อสารในประเทศไทยกำลังก้าวกระโดด โอกาสนี้มีไม่มากนักและสามารถทำประโยชน์ให้กับการแตกตัวกิจการของบริษัท

ก้าวแรกของคีรีที่หยั่งขาเข้าในธุรกิจนี้ ก็คือบริษัท สยามบรอดแคสติ้ง แอนด์คอมมิวนิเคชั่น หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "เอสบีซี" ได้รับสัมปทานเคเบิลทีวีเป็นเวลา 20 ปี โดยจะให้ผลประโยชน์ตลอดสัญญา 175 ล้านบาท หรือไม่ต่ำกว่า 6.5% ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย รวมทั้งมอบหุ้นให้ อ.ส.ม.ท. ไม่น้อยกว่า 7% ในขณะที่บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดแคสติ้ง แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น (ไอบีซี) ของกลุ่มชินวัตรให้หุ้น อ.ส.ม.ท. เพียง 5%

เครือข่ายธุรกิจนี้ในฮ่องกงของคีรี ได้รับการจัดหาโปรแกรมบันเทิง สารคดีและกีฬาจากบริษัทเอ็มอีไอ ซึ่งเป็นบริษัทที่คีรีร่วมหุ้นด้วย และเพิ่งตั้งขึ้นในปีที่แล้ว เพื่อขอสัมปทานคอมเมอร์เชียล เรดิโอที่ฮ่องกงแข่งกับฮัทชิสัน คีรีเคยมีความคิดความสนใจที่จะเข้าไปร่วมในบริษัท เอทีวี ซึ่งเป็นธุรกิจโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียงของฮ่องกง แต่สุดท้ายเขาก็ไม่ได้เข้าไป

"เงินลงทุนทั้งหมดสำหรับโครงการเคเบิลทีวีนี้ประมาณ 300 ล้านบาท มันสำคัญอยู่ที่ซอฟท์แวร์" คีรีเล่าให้ฟัง

แม้ว่าคีรีจะเป็นฝ่ายรุกไล่หลังกลุ่มของชินวัตรในโครงการเคเบิลทีวีได้สำเร็จเป็นรายที่สอง ทั้งคู่ก็ต้องมาเผชิญหน้ากันอีก เมื่อโอกาสทองเปิดขึ้นในงานประมูลสัมปทานดาวเทียมสี่พันล้านบาท ซึ่งนับเป็นการก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่สำหรับคีรีถ้าหากเขาชนะ เพราะผลประโยชน์ทางธุรกิจอันต่อเนื่องจากดาวเทียมจะเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจโทรคมนาคมอื่น ๆ อีกมากมายเช่นโครงการเคเบิลทีวี เป็นต้น

ศึกครั้งนี้คีรีในฐานะผู้บริหารระดับสูงของบริษัท วาเคไทย (ไทยแลนด์) ที่เสนอตัวเข้าชิงด้วยต้องคิดหนัก !!!

หลังจากวงเงินค้ำประกันโครงการนี้ 100 ล้าน การเตรียมการสำหรับโครงการนี้คีรีต้องจ่ายเงินไปไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท นับว่าเป็นต้นทุนที่สูงมากโดยไม่รู้ว่าผลจะออกมาว่าจะได้หรือไม่?

ในที่สุดผลของการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ก็ประกาศออกมาว่าชินวัตรชนะการประมูล ด้วยการเสนอผลประโยชน์สูงสุดในรูปของตัวเงิน 222 ล้านบาท

แต่เกมยังไม่จบ เพราะงานนี้ยังไม่ผ่านขั้นตอนสุดท้ายที่คณะรัฐมนตรี คีรียังต้องสู้อีกต่อไป

"ผมให้ผลประโยชน์มากที่สุดต่อประเทศ ทุกคนก็เห็น ผมจะสู้จนนาทีสุดท้าย แต่ถ้าเขาบอกว่าอันนี้ไม่ใช่...ผมก็คิดว่า I DO THE BEST ผมได้ทำดีที่สุดแล้ว จะประท้วงใครได้อีกล่ะ?!"

คีรีกล่าวอย่างคนยังไม่แพ้ เขายังคงวางแผนที่จะก้าวต่อไปในธุรกิจโทรคมนาคมอันมี ศักยภาพยิ่งใหญ่นี้อีก และเป้าหมายหลายสิ่ง หลายอย่างท้าทายรออยู่เบื้องหน้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us