Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2534
กลับสู่ยุครุ่งของกลุ่มวัสดุก่อสร้างอีกครั้ง             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

สนทนานักลงทุน

   
search resources

Construction
Stock Exchange




สถานการณ์เศรษฐกิจโลก รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศไทยได้มาถึงจุดที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มกันใหม่ ภายหลังจากที่ตัวแปรสำคัญ ได้แก่สถานการณ์สงครามในตะวันออกกลางสงบลง

ในช่วงที่บทสรุปของสงครามยังไม่แสดงออกมานั้น นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักได้มองถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างค่อนข้างจะเลวร้ายว่าจะต้องถึงกับถดถอยลงมา เพราะปัจจัยสำคัญในการผลิตคือราคาน้ำมันจะต้องพุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ และภาวะการลงทุนของทุกประเทศ

ดัชนีราคาหุ้นทั่วโลกสะท้อนให้เห็นถึงความกลัวดังกล่าว ด้วยการตกรูดอย่างรุนแรง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ดูเหมือนในตลาดหุ้นของไทยเราจะหนักกว่าเพื่อน

การลงทุนซื้อหุ้นในระยะดังกล่าว นักวิเคราะห์หลายสำนักมองว่าต้องหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบด้านลบจากภาวะสงครามเช่นกลุ่มขนส่ง โรงแรม โดยควรให้ความสนใจกับหุ้นในกลุ่มที่จะได้รับผลดีอย่างกลุ่มอาหาร หรือโรงพยาบาลมากกว่า

หุ้นกลุ่มที่เคยนำตลาด อย่างกลุ่มธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ วัสดุก่อสร้าง หรือพัฒนาที่ดิน เสื่อมความนิยมลงทันตาเห็น เพราะปัจจัยเกื้อหนุนทั้งหลายได้เปลี่ยนแปลงไป โดยมีปัจจัยด้านลบเข้ามาแทนที่

สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ จากที่เคยมองว่าจะได้รับผลดีจากการประกาศนโยบายผ่อนคลายการปริวรรตเงินตรา แต่ก็ถูกภาวะดอกเบี้ยเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นจนอาจส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นลูกหนี้ จนมีบางคนมองว่าวัฏจักรที่แบงก์ต้องไล่ฟ้องหนี้เสียจากธุรกิจต่าง ๆ กำลังจะกลับมาให้เห็นอีกครั้งหนึ่ง

บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่หลายคนมองว่าภาวะการซื้อขายหุ้นจะต้องคึกคักภายหลังมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ส่งผลให้บริษัทเหล่านี้จะมีรายได้จากค่านายหน้าเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อราคาหุ้นตกต่ำภายหลังเกิดสงคราม หลายบริษัทที่ดูแนวโน้มว่าจะได้รับกำไรดีกลับมีผลขาดทุนปรากฎขึ้นทันที เพราะราคาหุ้นในพอร์ตของแต่ละบริษัทลดต่ำลงมาด้วย

ส่วนกลุ่มวัสดุก่อสร้างและพัฒนาที่ดิน ที่ราคาเคยวิ่งอย่างหวือหวา เพราะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่บูมขึ้นมาอย่างสุดขีด ก็ถูกสถานการณ์โดยรวมกดดันจนราคาหุ้นต้องลดต่ำลงมา เพราะความกลัวของนักลงทุนที่อาจถึงยุคสิ้นสุดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แล้ว

แนวความคิดของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และผู้จัดการกองทุนเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง ภายหลังอิรักยอมยุติสงคราม ความหวังของนักลงทุนที่มีต่อตลาดหุ้นเริ่มฉายแววออกมาใหม่ เมื่อความกลัว ที่นักลงทุนเคยมีเริ่มจางหายไป การตัดสินใจลงทุนซื้อหุ้นได้หวนกลับมาใช้ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นหลัก

หุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เป็นกลุ่มหนึ่งที่ถูกจับตามองว่าจะต้องกลับมาเด่นอีกครั้ง นักวิเคราะห์ หลักทรัพย์หลายคนมองว่าเมื่อสถานการณ์ทุกอย่างคลี่คลายลงแล้วทุกประเทศก็จะต้องเริ่มหันมาสนใจกับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ กันใหม่ ดังนั้นการก่อสร้างที่เคยคิดกันว่าอาจจะต้องชะลอตัวลงไป กลับจะต้องมีมากขึ้น

กิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายวิเคราะห์และพัฒนาการลงทุนบริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง จำกัด เคยคาดการณ์ไว้ตั้งแต่ในช่วงที่สงครามยังไม่สงบว่า ปี 2534 นี้น่าจะเป็นปีทองของหุ้น ในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะเครื่องตกแต่งภายในเพราะถึงแม้สถานการณ์สงครามจะทำให้โครงการก่อสร้างหลายโครงการจะต้องชะงักไป แต่โครงการที่ได้เริ่มก่อสร้างไปเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วและกำลังจะเสร็จในปีนี้ จะมีความต้องการใช้วัสดุตกแต่งภายในเป็นจำนวนมาก

บริษัทผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปัจจุบันมีอยู่ ทั้งสิ้นประมาณ 13 บริษัท สามารถแยกออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ประมาณ 2 กลุ่ม

กลุ่มแรกเป็นผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างหลักเช่นปูนซีเมนต์ เหล็ก ยางมะตอย ประกอบด้วยบริษัทปูน ซิเมนต์ไทย, ปูนซีเมนต์นครหลวง, ชลประทานซีเมนต์, ไทยไวร์โพรดักส์ และทิปโก้ แอสฟัลท์ อย่างไรก็ตามอาจจะรวมบริษัท ทีพีไอ โพลีนเข้าไปได้อีกบริษัทหนึ่ง

กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ผลิตเครื่องตกแต่งภายใน ได้แก่บริษัทกระจกไทย-อาซาฮี, คาร์เปทอินเตอร์เนชั่นแนล, ไทย-เยอรมันเซรามิค, โรแยลซีรามิค, สหโมเสคอุตสาหกรรม, ไทยผลิตภัณฑ์ยิปซั่ม, อุตสาหกรรมพรมไทย และอเมริกันสแตนดาร์ด

ในความเห็นของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ส่วนใหญ่มองว่าปัจจัยหนุนอันสำคัญ ที่จะส่งเสริมให้หุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้างกลับมาเด่นได้อีกครั้งไม่ใช่เรื่องของภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อาจจะบูมขึ้นมาใหม่ แต่เป็นเรื่องของการที่ประเทศไทยยังขาดแคลนระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอยู่อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องของถนนหนทาง รวมทั้งระบบขนส่งมวลชน

โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นไป โครงการขนาดใหญ่ที่ภาครัฐบาลจำเป็นจะต้องเร่งก่อสร้าง เช่น โครงการทางด่วนระยะที่ 2, โครงการทางรถไฟยกระดับของกลุ่มโฮปเวลล์, โครงการทางยกระดับคร่อมถนนวิภาวดีรังสิต ของกลุ่มดอนเมืองโทลล์เวย์ และโครงการรถไฟลอยฟ้าของกลุ่มลาวาลิน จำเป็นต้องใช้วัสดุก่อสร้างหลัก เช่นปูนและเหล็กเส้นเป็นจำนวนมากแทบทั้งสิ้น

ก่อนหน้าที่จะเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในประเทศไทยเคยเกิดภาวะขาดแคลนวัสดุก่อสร้างอย่างรุนแรงมาแล้วครั้งหนึ่ง จนรัฐบาลจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือโดยการออกนโยบายลดภาษีการนำเข้าเหล็กเส้น, เหล็กแท่ง รวมทั้งปูนซีเมนต์ มาจนถึงปัจจุบัน และก็ได้ต่ออายุการลดภาษีดังกล่าวออกไปจนถึงเดือนเมษายนปีหน้า

ซึ่งถ้าหากโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐเริ่มต้นเดินหน้า ภาวะการขาดแคลนดังกล่าวก็ยิ่งน่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

กิตติพงษ์ สมิทธ์ศราการย์ ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม จำกัด มองว่าภาวะขาดแคลนวัสดุก่อสร้างหลักเช่นนี้น่าจะกินระยะเวลาต่อไปได้อีกไม่ต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ย่อมส่งผลดีต่อบริษัทผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างหลักที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพราะเป็นช่วงที่โครงการขยายกำลังการผลิตของหลายบริษัทเริ่มเดินเครื่องแล้ว

"อย่างปูนกลางนั้น โรงงานส่วนขยายอีกเกือบ 1 ล้านตันเขาจะสร้างเสร็จประมาณกลางปีนี้ ซึ่งจุดนี้จะมีผลต่อรายได้ในงวดไตรมาสที่ 3 และ 4 ที่ปรากฏในงบการเงินของเขาจะต้องเพิ่มสูงขึ้น" กิตติพงษ์ยกตัวอย่าง

ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย ผู้แทนสำนักงานตัวแทนบริษัทโนมูระซีเคียวริตี้ ประจำประเทศไทย ให้ความเห็นสอดคล้องเช่นกันว่าแนวโน้มของอุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้างหลักที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมีโอกาสจะขยายตัวสูงมากโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีหลังจากนี้ที่รัฐบาลเริ่มเดินหน้าก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันภาวะการก่อสร้างโดยทั่วไปก็ยังมีลักษณะที่บูมอยู่

ในความเห็นของผู้จัดการกองทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ทั้ง 2 ท่านนั้นสอดคล้องกันว่า แนวโน้มของอุตสาหกรรมนี้ ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างหลักอย่างเช่นปูนซีเมนต์ หรือเหล็กค่อนข้างจะมีโอกาสที่จะขยายตัวได้ดีกว่าผู้ผลิตวัสดุประเภทตกแต่งภายใน เพราะไม่ว่าจะผลิตออกมาได้เท่าใด ก็สามารถขายได้หมด

อย่างไรก็ตาม สำหรับบริษัทผู้ผลิตเครื่องตกแต่งภายใน ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอนาคต เพราะปริมาณความต้องการใช้ ก็มีอัตราการขยายตัวไม่แพ้วัสดุก่อสร้างหลัก และในขณะเดียวกัน แทบทุกบริษัทก็ได้มีการขยายกำลังการผลิตของตนเองเพื่อรองรับกับความต้องการดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้วทั้งสิ้น

"แต่ถ้าจะให้จัดลำดับความน่าสนใจผมมองว่าปูนกับเหล็กเส้น น่าจะมาเป็นอันดับ 1 รองลงมาก็ได้แก่พวกเซรามิก พรม และพวกวัสดุอื่น ๆ" กิตติพงษ์กล่าวเรียงอันดับความน่าสนใจลงทุน

จากการประมวลความเห็นจากบรรดานักวิเคราะห์ในตลาดหุ้นบ่งชัดถึงความเชื่อมั่นในหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้าง น่าจะกลับเฟื่องฟูขึ้นมาตามดัชนีปัจจัยพื้นฐานของอุตสาหกรรมการลงทุนของตลาดภาครัฐบาล   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us