|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2534
|
|
ดูเหมือนว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมนับวันจะทวีความเข้มข้นขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ด้วยแล้วก็ยิ่งเป็นอุปสรรคอันหนักหน่วงสำหรับรัฐบาลในการดำเนินการแก้ไข อย่างในกรณีของโรงงานหลอมทองแดงแห่งหนึ่งของลีพานโต คอนโซลิเด็ทเต็ด ไมนิ่งโค ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่รายใหญ่ในฟิลิปปินส์ ได้ทิ้งกากแร่กองสูงมหึมาใกล้กับแหล่งชุมชนอาศัย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในเชิงลบก็คือ ในหน้าฝนสารพิษที่ปะปนอยู่ในกากแร่เหล่านี้จะถูกฝนชะลงมา เป็นอันตรายต่อสิ่ง-แวดล้อมทั้งพืชและสัตว์ในบริเวณใกล้เคียง
แม้ว่ารัฐบาลจะตระหนักถึงภัยในข้อนี้ดี แต่การที่คณะกรรมการพิจารณาปัญหามลพิษแห่งกรุงมะนิลา ( MANILA POLLUTION ADJUDICATION BOARD) ออกคำสั่งให้ปิดโรงงานแห่งนี้นั้น ก็สร้างปัญหาหนักใจให้กับรัฐบาลมิใช่น้อย การปิดโรงงานนอกจากทำให้คนงานจำนวนมากต้องตกงานแล้ว รัฐบาลยังต้องสูญเสียรายได้จากการส่งออกเป็นเงินมูลค่ามหาศาล เป็นผลเสียหายต่อเศรษฐกิจและการเมืองอย่างร้ายแรง
อย่างไรก็ดี บรรดาเจ้าหน้าที่แห่งกองสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (ดีอีเอ็นอาร์) ก็สนับสนุนกับแนวคิดให้ปิดโรงงานแห่งนี้หากไม่สามารถหาแหล่งเหมาะสมในการกำจัดกากแร่ได้
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติที่ออกเมื่อเร็ว ๆ นี้ยังได้กำหนดมาตรการในการขจัดมลพิษสิ่งแวดล้อมและให้ผู้ทำให้เกิดมลพิษต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทิ้งกากของเสีย อีกทั้งเพิ่มค่าธรรมเนียม 100 เท่าสำหรับผู้ทิ้งกากแร่ลงในทะเลและหากเหมืองแร่แห่งใดดำเนินการโดยขาดระบบการกำจัดของเสีย ที่ปลอดภัยและขาดประสิทธิภาพแล้ว ก็จะถูกสั่งปิดและต้องเสียค่าปรับอย่างหนักด้วย
ทางสองแพร่งระหว่างการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมกับการเสี่ยงต่ออัตราเพิ่มขึ้นของคนว่างงานและการสูญเสียรายได้จากการส่งออกนี้ คงเป็นบทเรียนที่บ้านเราก็พึงสังวรไว้เช่นกัน
|
|
|
|
|