Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2534
วันคืนเก่า ๆ ข้างเตาผิงถ่าน             
 


   
search resources

Japan
Social




สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมมีผลทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยอย่างนิสัยชาวญี่ปุ่นรุ่นก่อนที่ชอบใช้เตาผิงถ่านเป็นที่นั่งชุมนุม เพื่อพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ สู่กันฟัง ซึ่งข้อปฏิบัตินี้ดูจะเป็นความทรงจำที่ลางเลือนไปแล้ว สำหรับคนรุ่นใหม่ในสังคมญี่ปุ่นบางกลุ่ม

ในขณะที่บางกลุ่มเริ่มที่จะทำให้ความนิยมในอดีตกลับคืนมาเช่นคนที่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ ของญี่ปุ่นเริ่มที่จะย้อนกลับไปในวันเวลาของอดีตด้วยการใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงในเวลาที่แก๊ส หรือไฟฟ้าหาได้ยาก หรือบางกลุ่มก็พยายามลงมือที่จะเรียนรู้วิธีการทำถ่านของคนรุ่นก่อน เพื่อดำรงไว้ซึ่งวิธีอันชาญฉลาดนั้น

คอร์สเรียนวิธีทำถ่านได้ถูกเปิดสอนขึ้นในเดือนธันวาคมปีก่อนในจังหวัดชิบา โดยไม่มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้เรียน ผู้ที่สนใจเรียนจะเป็นคนจังหวัดใดก็ได้ ครั้งนั้นมีผู้เข้ารับการอบรมถึง 80 คน ทุกคนล้วนแต่ขะมักเขม้น ตั้งใจจริงที่จะทำถ่านตามแบบดั้งเดิมโดยไม่มีทีท่าว่าจะรังเกียจสิ่งสกปรกแต่อย่างใด

การเรียนจะเริ่มจากวิธีทำถ่านที่ง่ายที่สุด ซึ่งเรียกว่า "ฟูเซยากิ" ทุกคนเพียงแต่ขุดหลุมตื้น ๆ บนพื้นดิน แล้วเลือกเก็บกิ่งไม้ที่แห้งตกลงมาจากต้น ใส่ลงไปในหลุมกลบข้างบนด้วยแผ่นดีบุกแล้วจุดไฟทิ้งไว้ข้ามคืน รุ่งเช้าพวกเขาก็จะได้สุขใจกับผลงานของตัวเองเพราะวิธีฟูเซยากิให้ทั้งถ่านที่มากปริมาณ และเปี่ยมคุณภาพ

การที่ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันนิยมที่จะเที่ยวเตร่และดื่มกินเป็นอย่างมากเป็นอีกจุดหนึ่งที่กระตุ้นให้ถ่านกลับมาสู่ความนิยมอีกครั้ง เพราะพวกเขาตระหนักว่าการใช้ถ่านย่างไก่, เนื้อ หรือบาร์บีคิวล้วนทำให้รสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น แก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านนั่นเองที่มีส่วนช่วยเพิ่มรสชาติอาหารทั้งรังสีที่เกิดจากถ่านที่กำลังไหม้เป็นรังสีอินฟราเรดในอัตราที่สูงมาก ความร้อนที่เกิดขึ้นจะผ่านอณูของอาหารให้สุกอย่างทั่วถึง

ข้อดีอีกประการหนึ่งของถ่านคือการเคลื่อนย้ายสะดวก และให้พลังงานสูง ความร้อนคงที่ไม่ถูกพัดไปตามลมได้ง่ายเหมือนไฟจากแก๊ส แม้ว่าแก๊สหรือไฟฟ้าจะใช้แล้วเกิดมลพิษที่น้อยกว่าแต่ถ่านก็มีคุณค่าในทางปฏิบัติมากกว่าการต้องการหวนสู่อดีตเพียงอย่างเดียว

เซบุ ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ โค กล่าวว่า ยอดขายถ่านที่นำไปใส่ไว้ในตะกร้าที่สานด้วยฟาง เมื่อฤดูหนาวที่ผ่านมาขายได้ในปริมาณมหาศาล เพราะวัยรุ่นหญิงนิยมที่จะซื้อไปแขวนไว้ในห้อง หรือผนังเป็นเครื่องประดับ ซึ่งความจริงแล้วสมาคมการค้าเชื้อเพลิงเพื่อบริโภคในครัวเรือนของญี่ปุ่นสนับสนุนการกระทำดังกล่าว เพราะนอกจากตะกร้าถ่านจะใช้เป็นของตกแต่งแล้วยังช่วยกำจัดกลิ่นที่มาจากแม่น้ำลำคลองได้ ถ่านยังมีคุณสมบัติช่วยดูดซึมฟอสฟอรัสที่เป็นสารสำคัญในการฟื้นฟูสภาพดินได้ดีอีกด้วยกรดบางชนิดที่อยู่ในเนื้อไม้ซึ่งถูกเผาไปในกระบวนการผลิตถ่าน ทำให้ถ่านมีความสามารถในการดูดกลิ่น ป้องกันการเน่าเสียของอาหาร และฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมการค้าเชื้อเพลิงฯ ที่มีศูนย์เพื่อส่งข่าวสาร และนำเที่ยวชมการทำถ่านตามท้องถิ่นต่าง ๆ มีเพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ แนวโน้มนี้บริษัทธุรกิจที่จับตามองอยู่อย่าง อะโนตะซีเมนท์ โค เริ่มที่จะจับถ่านเป็นสินค้าสำหรับกลุ่มขายผักสด และผลไม้เพื่อใช้ในการยืดอายุการเน่าเสียของผักผลไม้รวมทั้งการศึกษาที่จะขายถ่านสำหรับการใช้ในครัวเรือนด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us