Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2534
โรงเรียนมะกันแหวกแนวพลิกโรงอาหารให้เชนลุย             
 


   
search resources

Food and Beverage
Education
United States
ลิซ โจนส์




สำหรับโรงเรียนยากจนในสหรัฐฯ การจำหน่ายอาหารในโรงอาหารให้แก่นักเรียนดูจะไม่ใช่ เรื่องง่าย ๆ เพราะจะต้องทุ่มทุนมหาศาล ไหนจะต้องยื่นหนังสือมากมายกับทางราชการ อีกทั้งงบประมาณของโรงเรียนที่มีอยู่ต่ำ รวมไปถึงส่วนแบ่งอาหารที่จะขอกับภาคการเกษตรมีอยู่น้อย

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าววิธีการหนึ่งสำหรับโรงเรียนในชนบทที่นิยมใช้กัน คือ ให้บริษัทธุรกิจด้านอาหารเข้ามาดำเนินการเอง เช่นบริษัทเออาร์เอ เซอร์วิส, แคนทีน เซอร์วิส อเมริกาและมาร์ริออตต์ หากบริษัทเหล่านี้เข้ามาดำเนินกิจการเอง จึงเชื่อแน่ว่า ธุรกิจประเภทนี้จะต้องคึกคักมาก เนื่องจากในสหรัฐฯ โรงเรียนทั้งหมดในชนบทมีอยู่ถึง 20,000 แห่ง โดย เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมต้น และมัธยมปลาย 24 ล้านคน ฉะนั้นการใช้จ่ายด้านอาหารสำหรับโรงเรียน เหล่านี้จึงพุ่งตามไปด้วยตกปีละ 4,200 ล้านดอลลาร์

ลิซ โจนส์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ในเออาร์เอแห่งแผนกโภชนาการของโรงเรียนชี้ว่า ร้านอาหารเหล่านี้จะทุ่มค่าใช้จ่ายเพื่ออาหารถึง 10% ในปัจจุบัน เทียบกับปี 1987 ที่ใช้จ่ายเพียง 4% เท่านั้นจึงคาดกันว่า ยอดค่าใช้จ่ายนี้จะต้องพุ่งเป็นปีละ 30% ในอีก 10 ปีข้างหน้านี้

สำหรับโรงเรียนที่ให้คนภายนอกเข้ามาจำหน่ายอาหาร ได้แก่ดูวาลเคาน์ตี้และแจ็คสันวิลล์ ใน ฟลอริด้าอีกทั้ง นาเพอร์วิลล์ คอมมิวนิตี้ สกูล ดิสตริก ในอิลลินอยส์ รวมทั้งพุทนัม ซิตี้ สกูลส์ ดิสตริกในโอกาโฮมา ซิตี้ ซึ่งโรงเรียนหลังนี้ได้ทุ่มเงินจำหน่ายอาหาร ให้กับเด็กในโรงเรียนเมื่อปีที่แล้ว 3.25 ล้านดอลลาร์ ก่อนที่จะจับมือเซ็นสัญญากับมาร์ริออตต์ วิธีนี้ส่งผลให้ทางโรงเรียนประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงถึง 250,000 ดอลลาร์ และยังมีการปรับโฉมโรงอาหารแห่งนี้ให้เหมือนกับฟาสต์ฟูดส์ทั่ว ๆ ไปคือ หลังคาร้านจะเป็นผ้าใบซึ่งจะแยกเคาน์เตอร์จำหน่ายอาหาร แต่ละร้านออกคนละอาณาเขต ร้านแบบใหม่นี้จะส่งผลดีอยู่หลายประการนอกจากจะรักษาคนขายเก่า ๆ ไว้ได้มากแล้ว ยังทำให้ทางโรงเรียนไม่ต้องเสียเวลาใส่ใจด้านนี้แต่จะไปทุ่มเทด้านการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น

ปรากฏว่าปีที่แล้วเด็กนักเรียนราว 6,000 คน ต่างพากันนำอาหารไปกินในโรงเรียนและไปใช้บริการในโรงอาหารรูปแบบใหม่นี้แทนที่จะกินอาหารที่ทางโรงเรียนจำหน่ายเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us