Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2534
การคืนชีพของ "โรงรับจำนำ" ที่พึ่งในยามยาก             
 


   
search resources

Financing
ฟิล เมอร์ฟี
โรงรับจำนำอัลเบอร์มาเรล แอนด์ บอนด์ (10 แอนด์บี)




ในสภาพที่บรรยากาศเศรษฐกิจไม่สดใสเช่นปัจจุบัน เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าธุรกิจหนึ่งยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะโดยรวมแล้วในสายตาของประชาชนภาพพจน์ต่อธุรกิจนี้เต็มไปด้วยอคตินานา แต่ธุรกิจ "รับจำนำ" ยังเป็นธุรกิจที่ดำรงอยู่และโตเร็วเป็นพิเศษในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจซบเซาเพราะธุรกิจดำเนินไปได้ดีในช่วงนี้

เหมือนเจ้าของโรงรับจำนำทั่วไป ฟิล เมอร์ฟี ผู้ก่อตั้งโรงรับจำนำอัลเบอร์มาเรล แอนด์ บอนด์ (10 แอนด์บี) มีความทรงจำเกี่ยวกับลูกค้าที่มีความสุขมากมาย อย่างการที่เขาได้มีส่วนช่วยให้บริษัทเล็ก ๆ แห่งหนึ่งพ้นจากภาวะวิกฤติทางการเงิน และสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ด้วยการรับจำนำเพชรพลอยของบริษัทไว้ 12,000 ปอนด์ ซึ่งเป็นเงินที่ถือเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด

นับจากเมื่อ 2-3 ปีก่อนที่ธุรกิจรับจำนำ ได้เข้าสู่สภาพฟื้นตัว หลังจากที่ตกต่ำอย่างหนักในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีปัจจัยหนุนจากการที่อัตราดอกเบี้ยสูงในขณะที่รัฐบาลมีสวัสดิการให้ต่ำรวมทั้งสินเชื่อต่าง ๆ ที่ผุดขึ้นราวดอกเห็ด สิ่งที่ทำให้เห็นเด่นชัดว่าธุรกิจรับจำนำรุดหน้าขึ้น คือสมาชิกของเนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น ออฟ พอนโบรกเกอร์ (เอ็นเอพี) ซึ่งในทศวรรษ 1970 มีไม่ถึง 50 รายเพิ่มอย่างรวดเร็วเป็น 220 ราย ในปัจจุบัน

แต่ธุรกิจรับจำนำในทศวรรษ 1990 ถูกล้อมกรอบ เพราะผู้คนมองว่าโรงรับจำนำมีไว้สำหรับคนจนเท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่เพียงแต่คนจนที่มาใช้บริการ ห้องเก็บของของโรงรับจำนำบางแห่งเต็มไปด้วยเพชรพลอยของมีค่า ศิลปะมีชื่อ เครื่องดนตรี ของโบราณ ฯลฯ แม้แต่โถปัสสาวะ 24 กะรัตที่มีมูลค่า ถึง 75,000 ปอนด์ของเหล่านี้เป็นของบรรดาเศรษฐีที่มาใช้บริการโรงรับจำนำ และถ้าไม่มีใครมาไถ่ถอนคืน ของทั้งหมดจะมีการประมูลและขายไปโดยบริษัทซอธบี้

โรงรับจำนำกับธนาคารไม่ได้ต่างกันเท่าใดนัก ธนาคารมีการรับจำนองบ้าน แต่โรงรับจำนำจะรับจำนำสิ่งของโดยคิดดอกเบี้ย 3-4 % ต่อเดือนขึ้นอยู่กับวงเงินที่ให้ลูกค้าไปโรงรับจำนำเป็นแหล่งหมุนเงินระยะสั้นเป็นเดือน หากต้องการกู้ยืมเป็นปีควรไปพึ่งธนาคาร โรงรับจำนำให้บริการลูกค้าอย่างเป็นกันเอง และส่วนใหญ่ 60 %ของร้านจะเป็นลูกค้าประจำ

ผู้ร่วมอาชีพของเมอร์ฟีมีความภูมิใจที่โรงรับจำนำเหมือนเป็นทางเลือกสุดท้ายของผู้คน และมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมในการช่วยให้ลูกค้าพ้นจากการเป็นหนี้รายอื่นที่รีดเลือดพวกเขา แต่ไม่ค่อยจะมีใครคิดอย่างนี้นัก โรงรับจำนำจึงตกอยู่ภายใต้กฎหมายสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในต้นทศวรรษที่ 1980 เป็นกฎหมายที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด อย่างข้อกำหนดที่ว่า ถ้าไม่มีผู้มาไถ่ถอนจะต้องแจ้งให้เจ้าของทราบว่าจะขายทรัพย์นั้นภายใน 21 วันเป็นการให้โอกาสจากนั้นถ้าขายทรัพย์สินแล้วจะได้เพียงดอกเบี้ยกับเงินทุนที่เสียไปแต่ในส่วนที่เกินมาเท่าใดต้องคืนให้เจ้าของ ซึ่งกฎหมายนี้ทำให้ธุรกิจย่ำแย่ แม้ในปัจจุบันจะยกเลิกกฎหมายนี้ไปแล้ว แต่เมอร์ฟี ต้องการให้มันมีอยู่ เพราะจะได้ช่วยทำความสะอาดภาพพจน์ของผู้คนต่อธุรกิจรับจำนำได้

เมอร์ฟีจัดเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ เขาเริ่มต้นที่โรงรับจำนำอีเอ บาร์คเกอร์ ซึ่งเป็นโรงรับจำนำในตลาดบน ใช้เวลานับ 10 ปี กับฮาร์เวย์ แอน ทอมสัน จนถึงตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการเขายังเป็นคนแรกที่เรียกร้องให้มีการแยกร้านกันอย่างเด็ดขาดระหว่างร้านขายปลีก กับร้านรับจำนำ เพราะในอดีตโรงรับจำนำต่าง ๆ ด้านหน้าจะเป็นร้านขายเพชรพลอยและด้านหลังจะทำธุรกิจรับจำนำ ซึ่งปัจจุบันฮาร์เวย์ แอนด์ ทอมสันเป็นโรงรับจำนำที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษ เป็นโรงรับจำนำแห่งเดียวที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ มีสาขาถึง 29 แห่ง และอันดับสองเป็นของเมอร์พีเองคือ เอ แอนด์ บี มี 13 สาขา และมีร้านดำเนินงานขายปลีก 2 ร้านนับว่าเขาเริ่มจากศูนย์สู่ร้อยในวันนี้อย่างแท้จริง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us