|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2534
|
|
นับเป็นระยะเวลาหลายปีมาแล้วที่สหภาพโซเวียตได้ริเริ่มใช้นโยบาย "เปเรสทรอยกา" ซึ่งเป็นนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ของประเทศแบบเดิมสู่ระบบกลไกตลาดเสรี การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นยังผลให้ชาวโซเวียตมีเสรีภาพในการเดินทางไปทุกหนทุกแห่งรวมทั้งการใช้จ่ายเงินได้ตามใจชอบและจากนั้นเป็นต้นมาโลกก็ได้มีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยว หรือลูกค้าชาวโซเวียต อย่างจริงจัง
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ติดอันดับความนิยมที่ชาวโซเวียตจะเดินทางไปเยือน เพราะญี่ปุ่นมีหลายสิ่งหลายอย่างให้ค้นหา โดยเฉพาะรถยนต์ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะเป็นแบบฉบับในการซื้อรถยนต์ใหม่ในทุก ๆ 2-3 ปีขณะที่ชาวโซเวียตนั้นหากต้องการจะเป็นเจ้าของรถยนต์คันใหม่สักคันต้องรอคอยร่วม 10 ปี เพราะราคาของรถยนต์ในโซเวียตสูงกว่า 20 เท่าของรายได้รวมตลอดทั้งปี ความใฝ่ฝันของชาวโซเวียตดูย่นระยะเวลาเข้ามาด้วยความสอดคล้องลงตัวของนโยบายเปเรสทรอยกากับนิสัยใช้แล้วทิ้งของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงเป็นแหล่งดึงดูดใจของชาวโซเวียต ที่จะมาค้นหารถยนต์ที่ถูกใจสักคันจากป่าช้ารถยนต์ในญี่ปุ่น ซึ่งเท่ากับเป็นการสนับสนุนการทิ้งรถของชาวญี่ปุ่นทางอ้อม
เมืองโอตารุเป็นเมืองที่ชาวโซเวียตมักจะมาชุมนุมกันเสมอ เจแปน อิงก์เป็นบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับรถยนต์เก่าในโอตารุ ซึ่งมีคิโยชิ นิชิเป็นเจ้าของกิจการ การที่เจแปน อิงค์มีรถมากมายให้เลือก เหตุผลหลักมาจากกฎหมายด้านความปลอดภัยที่เข้มงวด ผลบังคับของกฎหมายต่อรถโดยสารที่มีอายุเกิน 3 ปีจะต้องรับการตรวจเช็กสองปี/ครั้ง ส่วนรถที่มีอายุมากกว่า 10 ปีจะต้องทำการตรวจสอบเป็นประจำทุกปี และค่าใช้จ่ายในกระบวนการตรวจสอบหาข้อบกพร่องกินเงินถึงหลายพันดอลลาร์ เพราะลิขสิทธิ์ในการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถระบุมาว่าการตรวจสอบข้อบกพร่อง ต้องทำโดยร้านซ่อมรถยนต์เท่านั้น ชาวญี่ปุ่นจึงพอใจที่จะซื้อรถใหม่มากกว่าการเสียเงินในการตรวจเช็กหรือการซ่อม
ญี่ปุ่นมีกฎจำกัดในการส่งออกรถเก่าที่มีมูลค่าลดลงจากเดิมแม้ว่ารถยนต์เก่าบางคันจะขายได้ในราคาที่สามารถซื้อรถคันใหม่ที่ไร้ยี่ห้อได้ ในทางตรงกันข้ามญี่ปุ่นได้ผ่อนปรนการตรวจเช็กรถ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะซื้อรถกลับประเทศของตน ภายใต้เงื่อนไขราคากำหนดคือไม่เกินกว่า 50,000 เยน (390 ดอลลาร์) รอยโหว่ของกฎหมายในญี่ปุ่นถูกกลาสีเรือชาวโซเวียตพบในปี 1987 หลังจากนั้นเที่ยวกลับที่เรือสินค้าของพวกเขาว่างพวกเขาจะบรรทุกรถต่าง ๆ กลับโซเวียต แม้ปัญหาด้านพวงมาลัยของรถญี่ปุ่นจะอยู่คนละด้านกับถนนในโซเวียตแต่เรื่องนี้ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ปีที่ผ่านมานักเดินทางชาวโซเวียตมากกว่า 100,000 คนได้ซื้อรถยนต์ที่ชาวญี่ปุ่นไม่ใช้แล้วกลับประเทศ
นโยบายเปเรสทรอยกาได้ทำให้เมืองสองเมืองมีบทบาทสำคัญขึ้นมา การซื้อรถเก่าในโอตารุ สู่เมืองแซคคะลินประเทศโซเวียต ปัญหาที่พบเป็นเรื่องของการขาดความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ของโซเวียต ประกอบกับสภาพถนนที่เลวร้ายในโซเวียตทำให้อะไหล่บางชิ้นสูญหายสุดท้ายอาจนำไปสู่อุบัติเหตุ ทั้งการแลกเงินเยน ได้อย่างจำกัดของชาวโซเวียต ทำให้เงินเยนขาดแคลนการซื้อขายไม่สะดวกเท่าที่ควร และผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ต่อการจัดซัพพลายของเมืองโอตารุ
แนวโน้มที่ชี้ชัดถึงการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งของธุรกิจนี้คือการแข่งขันกันระหว่างนักธุรกิจจากซัพโปโรกับนิชิที่ต้องการจะไปเปิดศูนย์รถยนต์ใช้แล้ว และร้านซ่อมรถยนต์ในแซคคะลินแต่ฝ่ายนักธุรกิจจากซัพโปโรได้ชิงตัดหน้าเจรจากับเจ้าหน้าที่รัฐบาลแซคคะลิน ไปก่อนหน้าถึงโครงการนี้แล้วรวมทั้งยังได้เดินทางไปเกาะแซคคะลินเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาด้วย
|
|
|
|
|