|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2534
|
 |
ธุรกิจอาหารฟาสต์ฟู้ดที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดในสหรัฐอเมริกามาจาการที่ตลาดธุรกิจประเภทนี้ได้ถึงจุดอิ่มตัว กลยุทธ์ทั้งการรุกและรับถูกดึงมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แบรนด์เนมอันดับต้น ๆ อย่างเบอเกอร์คิงส์กลับออกมาประกาศในการให้สัมภาษณ์เมื่อไม่นานนี้ว่า คู่แข่งที่ยิ่งใหญ่พอฟัดพอเหวี่ยงกันอย่างแมคโดนัลด์นั้นหาใช่คู่แข่งที่จนหวาดหวั่นไม่ เหตุประหลาดใจจึงเกิดขึ้นโดยถ้วนหน้าว่ากลใดที่ทำให้ "ไมอามี่ ซับส์" กลายมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของเบอเกอร์คิงส์มากกว่าเชนที่มั่นคงอย่าง แมคโดนัลด์
"ไมอามี่ ซับส์" ย่อมน่าจะสร้างความหวั่นวิตกให้เบอเกอร์คิงส์แน่เพราะคนที่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญของไมอามี่ ซับส์ในปัจจุบัน ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นถึงอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่ดูแลกิจการนอกสหรัฐฯได้แก่ ซี.โดนัลด์ เพ็ทตี้ อายุ 46 ปี ซึ่งถ้าจะนับรวมเวลาที่เพ็ทตี้เป็นลูกหม้อของเบอเกอร์คิงส์ แล้วนานถึง 12 ปีทีเดียว และเหตุผลที่แบร์รี่ กิบบอนประธานบริหารของเบอเกอร์คิงส์คนปัจจุบันออกมาประกาศอย่างนั้น ก็เพราะครั้งหนึ่งเพ็ทตี้เคยทำงานขึ้นตรงกับเขา ดังนั้น แนวนโยบายส่วนใหญ่ของเบอเกอร์คิงส์ย่อมซึมซับอยู่ในสมองของเขาอย่างไม่ต้องสงสัย และเหตุผลที่เพ็ทตี้อ้างในการลาออกต่อ กิบบอนคือ การไม่มีศักยภาพเพียงพอต่อตำแหน่งที่รับผิดชอบ ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะ ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ดูแลกิจการนอกสหรัฐฯในช่วงปี 1984-1988 เขาสามารถเพิ่มยอดขายของเบอเกอร์คิงส์จาก 180 ล้านดอลลาร์เป็น 800 ล้านดอลลาร์
ภายหลังจากที่เพ็ทตี้ออกจากเบอเกอร์คิงส์ เพ็ทตี้ได้รวมกำลังกับกัส บูลิสผู้ซึ่งเข้าเทคโอเวอร์เชนร้านอาหารอเมริกาที่กำลังขาดทุนในฟลอริดา และหุ้นส่วนอื่น ๆ ก็ลงความเห็นให้ขายร้านเก่าทอดตลาดและเปลี่ยนส่วนที่เหลือมาเป็นร้านจำหน่ายของไมอามี่ ซับส์
ไมอามี่ ซับส์ปัจจุบันมีเครือข่ายจำหน่ายใน 52 ร้าน อาหารที่ขายมีแซนวิช, ปีกไก่ และเครื่องดื่มดอมพีริกนอนราคาขวดละ 89 เหรียญ มีบริการสั่งซื้อจากที่จอดรถ โดยลูกค้าไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปสั่งอาหารในร้านไมอามี่ ซับส์ยังสามารถดำเนินกิจการได้ดีเป็นสองเท่าจากที่เจ้าของเดิมชาวเม็กซิกันได้ทำไว้ เพ็ทตี้ ผลักดันให้ร้านจำหน่ายของไมอามี่เปิดถึงตี 3 และอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมาช่วยตัดสินใจอย่างชาญฉลาดที่จะปิดร้านในอาหารมื้อเช้าซึ่งเป็นอาหารมื้อที่ทำกำไรได้น้อยที่สุด
บริษัทใหม่ของเพ็ทตี้พลิกฟื้นสถานการณ์ขึ้นมาได้จากการขายทรัพย์สิน บัญชีในธนาคารเปลี่ยนจากตัวแดงมาเป็นตัวดำ นอกจากไมอามี่ ซับส์จะคงยอดจำหน่ายในระดับนี้ไว้ได้ตลอดไปแล้ว ยังต้องมีการขยายกิจการควบคู่กันไปในเวลาเดียวกันด้วย จึงจะสามารถทำให้เบอเกอร์คิงส์ได้รับผลกระทบได้ แต่ก็เป็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และหากว่าไมอามี่ ซับส์ ต้องการมากไปกว่านี้คงต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีที่สุดเป็นเท่าทวี ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่มีความง่ายเจืออยู่เลยแม้เพียงนิด แต่คนอย่างเพ็ทตี้รู้ดีเสมอว่าเขาทำอะไรอยู่ และจะต้องทำอะไรต่อไป ถึงกระนั้นก็ตามนอกนี้เพ็ทตี้คงทำใจนานทีเดียวกว่าจะรับมาแบกได้
|
|
 |
|
|