|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2534
|
|
3 เมษายนที่ผ่านมาบริษัทแองโกลไทยได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในฐานะดีลเลอร์รายหนึ่งของบริษัทฮิวเลตต์ แพกการ์ด ประเทศไทย ซึ่งการแต่งตั้งบริษัทแองโกล-ไทย จำกัด ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ ของฮิวเลตต์ แพกการ์ดได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2533 ที่ผ่านมาแล้ว
โดยที่แองโกล-ไทยได้จัดตั้งแผนกกิลแมน บิสสิเนสซิสเต็มส์ขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบในการจัดจำหน่าย และใช้เงินลงทุนในการจัดตั้งแผนกซึ่งรวมทั้งบุคลากร สถานที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นเงินมากกว่า 25 ล้านบาท
บริษัทแองโกล-ไทยเป็นบริษัทที่มีประวัติยาวนานกว่าร้อยปีในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกของกลุ่มอินช์เคปที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศอังกฤษ และในประเทศไทยกลุ่มอินช์เคปได้ ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2526 โดยการรวมกิจการของกลุ่มแองโกล-ไทยและกลุ่มบริษัทบอร์เนียวเข้าด้วยกันโดย มีบริษัทในเครือข่ายถึง 23 บริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจต่าง ๆ กัน ทั้งในด้านการตลาดและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคอุตสาหกรรม อุปกรณ์เครื่องมือสำนักงานและคอมพิวเตอร์ เครื่องมือแพทย์ ยารักษาโรค กิจการประกันภัย บริการด้านการเดินเรือ และสายการบิน ฯลฯ
ก่อนหน้าที่แองโกล-ไทยจะร่วมมือกับฮิวเลตต์ แพกการ์ดนั้น บริษัทในเครือข่ายของกลุ่มอินช์เคปประเทศไทยคือบริษัทบอร์เนียว เซอร์วิส จำกัด ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายในระบบเอสอาร์ (SYSTEM REMARKETERS) ให้กับสินค้าของไอบีเอ็มในเขตภาคใต้ 14 จังหวัด โดยเปิดสำนักงานขายที่หาดใหญ่และภูเก็ตมาหลายปีแล้ว นอกจากนี้บริษัท กิลแมน บิสสิเนส ซิสเต็มส์ในฮ่องกงซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มอินช์เคปก็เป็นหนึ่งในตัวแทนสำคัญของฮิวเลตต์ แพกการ์ดเช่นกัน
นโยบายที่สำคัญในการเป็นตัวแทนจำหน่ายของแองโกล-ไทยก็คือการขายสินค้าของฮิวเลตต์ แพกการ์ด (HP) เพียงยี่ห้อเดียวโดยเริ่มต้นในช่วงแรกด้วยการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ พีซี เครื่องพิมพ์เลเซอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ หลังจากนั้นจะขยายสินค้าขึ้นไปในระดับเวิร์คสเตชั่นและมินิในอนาคต โดยจะมุ่งเน้นไปที่ระบบยูนิกซ์ซึ่งเป็นระบบเปิด ที่เครื่องทุกเครื่องสามารถใช้รวมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับมินิหรือเมนเฟรม
ดังนั้นการเตรียมโครงสร้างการทำงานขององค์กรเพื่อการขยายตัวในอนาคต โดยเฉพาะการเน้นให้บริการได้เต็มที่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
โครงสร้างปัจจุบันของแผนกกิลแมนบิสสิเนส ซิสเต็มส์ จึงถูกจัดแบ่งดังนี้คือ
ฝ่ายการตลาด ซึ่งรับผิดชอบการขายทางด้านคอมพิวเตอร์ พีซี เครื่องพิมพ์เลเซอร์และด้านวิศวกร
ฝ่ายบริการลูกค้า ดูแลรับผิดชอบด้านโปรแกรม และแก้ปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ ตลอดจนการอบรม
ฝ่ายซ่อมบำรุง ดูแลเรื่องการติดตั้งเครื่อง การซ่อม และทุกอย่างที่เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาของเครื่อง
ฝ่ายธุรการ ดูแลเรื่องเอกสารตลอดจนลูกค้า
ซึ่งทีมงานในแผนกนี้มีทั้งหมด 20 คนจัดแบ่งไปตามฝ่าย ๆ ละ 5 คน
ก่อนหน้าที่ฮิวเลตต์ แพกการ์ดประเทศไทยจะแต่งตั้งให้แองโกล-ไทยเป็นตัวแทนจำหน่ายนั้น ได้มีตัวแทนจำหน่ายที่เรียกว่า ดีลเลอร์ของฮิวเลตต์ แพกการ์ดอยู่แล้ว คือบริษัทธนวรรธน์ อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ จำกัดเป็นตัวแทนขายเครื่องคอมพิวเตอร์ พีซี ตลอดจนอุปกรณ์ต่อเนื่องอื่น ๆ นับเป็นรายแรก และบริษัทเดอะแวลลู ซิสเต็มส์ จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งมาพร้อม ๆ กับแองโกล-ไทยจะขายเฉพาะเลเซอร์ เจ็ทพรินเตอร์ สแกนเนอร์และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
นโยบายการตลาดที่สำคัญที่ทำให้แองโกล-ไทยเป็นดีลเลอร์ที่แตกต่างจากอีก 2 รายที่มีอยู่ประการแรกคือการใช้วิธีการขายโดยตรงให้กับกลุ่มลูกค้า โดยไม่ผ่านระบบดีลเลอร์ หรือซับดีลเลอร์และมุ่งเน้นกลุ่มบริษัทต่างชาติอย่างเช่นบริษัทน้ำมัน การบินไทย ฯลฯ ในลักษณะของทีมที่ปรึกษามากกว่าจะขายตัวสินค้าโดยตรง
ประการที่สองแองโกล-ไทยขายสินค้า HPเพียงยี่ห้อเดียว ในขณะที่ดีลเลอร์อื่นขายสินค้าหลายยี่ห้อ
ประการสุดท้ายแองโกล-ไทยเน้นที่คอมพิวเตอร์ พีซีเป็นหลักส่วนเครื่องพิมพ์เลเซอร์ยังไม่เน้นมากนัก
ซึ่งวิธีการนี้นี่เองที่ทำให้แองโกล-ไทยเชื่อว่าจะสามารถให้บริการที่ดีกับลูกค้าได้มากกว่า และนับเป็นบริษัทแรกในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ที่ใช้ระบบการขายแบบใหม่นี้โดยมีบริษัทแม่ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี
ในการตั้งเป้าขายนั้นในปีแรกทางแองโกล-ไทยคาดว่าแผนกกิลแมน นี้จะสามารถทำยอดขายได้ประมาณ 100 ล้านบาท โดยพิจารณาจากความสามารถของทีมงานที่มีอยู่ในการให้บริการแก่ลูกค้า
ในปี 2533 ผลการดำเนินงานรวมทางด้านยอดขายของกลุ่มอินช์เคปในประเทศไทยมีประมาณ 8,000 ล้านบาท เป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มบริษัทการตลาดของต่างประเทศที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแซงหน้าดีทแฮล์มที่ยอดขายรวมตกลงหลังจากรายได้จากเนสท์เล่ได้หายไปและคาดว่าในปี 2534 นี้ ทางกลุ่มอินช์เคปจะยังคงรักษาความเป็นผู้นำไว้ได้เช่นเดิม n
|
|
|
|
|