Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2534
ความอยู่รอดของเคลียร์วิว ?             
 


   
search resources

TV
วิลเลี่ยม แอล มอนสัน
เคลียร์วิว มอนสัน




ความอยู่รอดของเคลียร์วิว ?
วิลเลี่ยม แอล มอนสัน หนุ่มใหญ่วัย 40 ปีเศษ เดินทางเข้ามาเมืองไทยในปี 2525 เพื่อหาลู่ทางลงทุนในธุรกิจที่เขาถนัดแต่ยังไม่มีใครคิดจะทำให้เมืองไทยคือเคเบิลทีวีในนามบริษัทเคลียร์วิว มอนสันเป็นนักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจเคเบิลทีวีในสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลากว่า 20 ปี มีธุรกิจประเภทนี้อยู่หลายเมืองในสหรัฐฯและต่างประเทศอย่างออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ทั้งมีสายสัมพันธ์อย่างกว้างขวางกับผู้ผลิตเกือบทุกราย ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าว บันเทิง กีฬา หรือสารคดี

เป็นเวลาร่วม 2 ปี ที่มอนสันเข้า ๆออก ๆ เมืองไทยเขารู้จักกับศิริ จุลเสวก ทายาทเจ้าของที่ดินรายใหญ่รายหนึ่งย่านสีลม และเป็นเจ้าของรีสอร์ทตกปลาที่บางสเหร่ เป็นคนพามอนสันเข้าพบประมุท สูตะบุตร ผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยหรือ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้นซึ่งเป็นคนแนะนำให้เขาได้รู้จักทักษิณ ชินวัตร ซึ่งขณะนั้นยังไม่ลาออกจากราชการตำรวจ แต่ก็ได้ก่อร่างสร้างชินวัตรคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเป็นที่รู้จักในวงกว้างพอสมควรแล้ว

"ประมุทสนใจในเรื่องนี้มากอยากจะส่งเสริมและเห็นทักษิณเป็นคนไทยที่มีความรู้ทางด้านนี้มากคนหนึ่งจึงแนะนะทั้งสองให้รู้จักกัน" แหล่งข่าวที่รู้เรื่องนี้ดีคนหนึ่งบอกกับ "ผู้จัดการ"

โครงการที่เขานำเสนอคือขอติดตั้งช่องส่งรายการโทรทัศน์เพิ่มขึ้นอีก 4 ช่อง โดยนำระบบบอกรับรายการโทรทัศน์ส่งตรงจากต่างประเทศผ่านเคลื่อนไมโครเวฟ ในรูปของการเป็นสมาชิกหรือที่เรียกว่าเคเบิลทีวีแบบยิงคลื่นในปัจจุบัน ในจำนวน 4 ช่องนั้นจะประกอบไปด้วยช่องรายการเพื่อการศึกษา ช่องรายการเพื่อครอบครัว ช่องรายการข่าวและกีฬา และช่องรายการภาพยนตร์

เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายรองรับการทำธุรกิจเคเบิลทีวีในประเทศไทยอย่างเช่นต่างประเทศ อ.ส.ม.ท. ซึ่งเป็นเจ้าของทีวีช่อง 9 และมีกฎหมายจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำธุรกิจและพัฒนาการสื่อสารของรัฐอย่างกว้างขวาง จึงน่าจะเป็นหน่วยงานที่เหมาะสมที่สุดที่จะเป็นเจ้าของโครงการนี้โดยให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ

ซึ่งแน่นอนจะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลจึงจะดำเนินการได้ ส่วนทางด้านเทคนิคซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำธุรกิจนี้ได้คือช่องส่งคลื่นดาวเทียมนั้นก็จะต้องได้รับอนุญาตให้ใช้จากกรมไปรษณีย์โทรเลข

แผนงานของมอนสันเริ่มเห็นแววเป็นจริงมากขึ้นเมื่อ สมัคร สุนทรเวช เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมัครเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้พัฒนาระบบการสื่อสาร ในประเทศ ในฐานะที่คุมกรมไปรษณีย์โทรเลขซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลรับผิดชอบและพัฒนาระบบการสื่อสารระหว่างประเทศ

มอนสันลงทุนสาธิต การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอินเทลเซทในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก นำรายการที่ออกกันสด ๆ ในสหรัฐอเมริกามาให้ชมกันถึงประเทศไทย โดยเขาเองได้นำเครื่อง รับสัญญาณบนพื้นโลกชนิดเคลื่อนที่เข้ามาตั้งไว้ที่หน้าอ.ส.ม.ท. แล้วส่งสัญญาณไปยังเครื่องรับที่โรงแรมเซ็นทรัล ซึ่งเป็นการส่งในรูปของคลื่นไมโครเวฟ โดยไม่ต้องวางสายเคเบิล

สมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นคนไปเปิดงานในวันนั้น และได้ใช้เวลาในการสาธิตให้คนทั่วไปชมนานถึง 3 วัน เป็นที่ฮือฮากันมากพอสมควรในขณะนั้น

จากนั้นก็ได้มีการทำโครงการขึ้นมาเป็นรูปร่างโดยร่วมกับทักษิณ ชินวัตร ในนามบริษัทวีดีโอลิ้ง เสนอให้องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินการในขั้นรัฐบาลต่อไปในปี 2529 ระหว่างรอฟังผลช่วงเวลาก็ถูกทิ้งห่างไปอีกนาน มีการเปลี่ยนแปลงในคณะรัฐมนตรี

โผล่มาอีกทีปรากฎว่า ทักษิณ ชินวัตร ได้รับอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้ได้ช่องสัญญาณดาวเทียม 2 ช่องไปแล้วเรียบร้อย และอีกไม่นานต่อมาทักษิณก็ได้รับอนุมัติจาก อ.ส.ม.ท. ให้เป็นผู้ดำเนินการเคเบิลทีวี ในนามบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคลาสติ้งหรือไอบีซี ไปแล้วเรียบร้อยเช่นกัน

ชื่อของ วิลเลี่ยม แอล. มอนสันได้ตกหล่นหายไปในกลางอากาศเฉย ๆ อย่างนั้นแหละ!!

"ในระหว่างที่รอการพิจารณาโครงการจากรัฐบาลอยู่นั้นก็มีเรื่องไม่เข้าใจกันหลายเรื่องระหว่างมอนสันกับทักษิณ เขาไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรจนสุดท้ายก็แยกตัวออกมา โดยมาตั้งบริษัท ซีทีวีซี ออฟ ฮาวาย อันเป็นชื่อย่อของเคเบิล เทเลวิชั่นเคลียร์วิว เครื่องหมายการค้าที่มอนสันใช้ดำเนินธุรกิจในสหรัฐอเมริกา" สถาพร ศรีธรรมโรจน์ กรรมการผู้จัดการเคลียร์วิว เล่าให้ฟังถึงที่มาการตกหล่นชื่อของมอนสัน

วิลเลี่ยม แอล. มอนสัน ไม่ยอมถอนตัวกลับออกไปจากเมืองไทยเขาสร้างทีมขึ้นมาหารายได้ เพื่อให้มีกิจกรรมทางธุรกิจต่อไป รอจังหวะว่าเมื่อไหร่ทางรัฐบาลไทยจะเปิดให้เขาลงทุนได้บ้าง โดยซื้อลิขสิทธิ์ข่าวและรายการในระบบเคเบิลทีวีจาก เคเบิลนิวส์เน็ทเวิร์คทหรือ ซีเอ็นเอ็นที่กำลังโด่งดังเป็นที่นิยมไปทั่วโลกเข้ามาให้บริการในประเทศไทยในระบบสมาชิกวีดีโอโดยใช้มอเตอร์ไซค์ส่งตามบ้าน โรงแรม และคอนโดมิเนียม

มอนสันได้ สถาพร ศรีธรรมโรจน์ มาเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทซีทีวีซี ออฟ ฮาวายที่เขาตั้งขึ้น เพราะลำพังตัวเขาเองต้องเดินทางไปหลายประเทศไม่ค่อยได้อยู่กรุงเทพฯ ไม่มีเวลาจะมาดูแลกิจการ

"ก่อนที่ ไอบีซี จะเปิดบริการเคลียร์วิวมีสมาชิกข่าวและรายการต่าง ๆ ของ ซีเอ็นเอ็น อยู่แล้วประมาณ 400 ราย แต่ก็พออยู่ได้ไม่มีกำไรอะไรมาก พอเลี้ยงตัวอยู่ได้ แต่หลังจากมี ไอบีซี และความนิยมติดตั้งจานรับคลื่นส่วนตัวตามบ้านก็ทำให้ยอดสมาชิกของเราลดลง ขณะนี้เหลือเพียง 300 ราย คืออาจเหลือเฉพาะคนที่เป็นแฟนซีเอ็นเอ็นจริง ๆ เท่านั้นในขณะเดียวกัน ทีวีช่อง 5 ก็มีข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานสด ๆ เสนอทุกวันก็เป็นผลทำให้สมาชิกไม่เพิ่มด้วย ทั้งที่จริง ๆ แล้วแม้ว่าของเราจะช้าแต่ก็มีความละเอียดของข่าวสไตล์ของซีเอ็นเอ็นมากกว่า และนอกจากนี้เรายังมีรายการที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่ทางช่อง 5 ไม่ได้ ซื้อมา เพราะฉะนั้นแฟนของซีเอ็นเอ็นที่ต้องการความละเอียดและหลากหลายขณะนี้ก็ยังมีอยู่ที่เป็นตลาดของเรา" สถาพรเล่าให้ฟังถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเคลียร์วิว

โดยเฉพาะในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซียที่ผ่านมาคนหันไปดูการรายงานสด ๆ จากช่อง 5 ช่อง 9 ช่อง 7 และแม้แต่เคเบิลทีวีของไอบีซี มากกว่า ซึ่งเป็นจุดอ่อนของเคลียร์วิวที่ไม่มีลิขสิทธิ์ที่ให้บริการผ่านทางทีวีทั่วไป

"ตอนนี้ก็แย่เพราะโดนทั้งทีวีทั่วไปกระหน่ำกันสด ๆ ในรายการข่าว จานรับสัญญาณดาวเทียมส่วนตัวซึ่งสามารถรับสัญญาณของซีเอ็นเอ็นได้โดยไม่ต้องจ่ายอะไรและยากต่อการตรวจสอบอย่างยิ่ง แล้วยัง มาโดนลักไก่จาก ไอบีซีอีกผมพูดได้เลยว่าธุรกิจตอนนี้ขาดทุนเดือนละสองสามล้านบาทแต่มอนสันยืนยันไม่ถอยจะต้องลงทุนในเมืองไทยให้ได้" สถาพรพูดถึงมอนสันนายของเขาให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

แหล่งข่าวที่อยู่ในวงการทีวีบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าเขามองไม่เห็นทางที่เคลียร์วิวจะเกิดได้ในเมืองไทย เพราะตัวสินค้าที่เขาทำอยู่ทุกวันนี้ก็ไปไม่รอด เพิ่มยอดลำบาก เมื่อถูกละเมิดลิขสิทธิ์ก็ไม่สามารถจะตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือถ้าจะรอทำระบบยิงด้วยคลื่นก็ปรากฏว่า อ.ส.ม.ท. ได้อนุมัติให้บริษัทสยามบรอดคลาสติ้งของคีรี กาญจนพาสน์ไปแล้วอีกรายเมื่อเร็ว ๆนี้ช่องสัญญาณที่กรมไปรษณีย์ มีอยู่ 5 ช่องก็ปรากฏว่าให้ ไอบีซี ไปแล้ว 3 ช่อง สยามบรอดคลาสติ้งเอาไปอีก 2 ช่องก็หมด

แต่สถาพรยังพูดถึงความหวังของเคลียร์วิว ว่าโปรแกรมของซีเอ็นเอ็น จะเป็นโปรแกรมที่คนไทยนิยมสูงมากในอนาคต แต่ทีวีทั่วไปก็มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาเผยแพร่และค่าใช้จ่ายสูง จานรับสัญญาณดาวเทียมส่วนบุคคลก็รับคลื่นของซีเอ็นเอ็นได้ไม่ชัดเจนนัก อาจรับได้เฉพาะบางช่วงเท่านั้น เพราะดาวเทียมที่ซีเอ็นเอ็นใช้ในการส่งคลื่นนั้น จะเป็นแบบเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ แต่จานรับส่วนบุคคลจะเป็นแบบคงที่ไม่อาจเคลื่อนตามดาวเทียมได้

"ผมคิดว่าคนก็คงยังจะเป็นสมาชิกของเราอยู่บ้าง แต่ที่สำคัญเราก็ยังมีความหวังว่าพระราชบัญญัติที่จะออกมารองรับการทำธุรกิจเคเบิลทีวีคงจะออกมาในเร็ว ๆนี้ ขณะเดียวกันเราก็ยังเสนอเข้าไปยังกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อขอทำเคเบิลทีวีให้กับช่อง 11 เหมือนกับที่เสนอแก่ช่อง 9 คงจะทราบผลในเร็ว ๆ นี้ เพราะถ้าพูดถึงเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในการจัดการธุรกิจประเภทนี้ผมคิดว่ายังไม่มีใครกินนายผมได้ในขณะนี้" สถาพรกล่าวถึง วิลเลี่ยม แอล. มอนสัน นายของเขาอย่างยกย่องก่อนที่จะบอกว่าโอกาสที่ ซีเอ็นเอ็นจะเลิกสัญญากับเขาแล้วไปขายลิขสิทธิ์ให้แก่ไอบีซีของชินวัตรซึ่งมีความพร้อมมากกว่าและกำลังติดต่อทางซีเอ็นเอ็นโดยตรงอยู่ในขณะนี้นั้นคงน้อยมาก ด้วยเหตุผลเพียงว่าซีเอ็นเอ็นกับนายของเขาเป็นคนสัญชาติอเมริกันด้วยกัน

แต่คนที่นั่งสังเกตอยู่ข้างนอกบอกว่าจุดอ่อนของมอนสันไม่ได้อยู่ที่ไม่มีเทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญในการจัดการธุรกิจนี้หรือจะดึงซีเอ็นเอ็นไว้ไม่อยู่ แต่เป็นเพราะความเป็นอเมริกันของมอนสัน มากเกินไปนั่นแหละถึงได้เป็นผู้แพ้มาตลอดในสนามธุรกิจเมืองไทย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us