Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2534
ธีระ วรรณเมธี ใน BZW             
 


   
search resources

BZW
ธีระ วรรณเมธี
Stock Exchange




เอ่ยชื่อบริษัทหลักทรัพย์ BZW จำกัด มีน้อยคนที่จะรู้จัก ซ้ำเอ่ยชื่อเต็ม ว่า Barclays de Zoete Wedd Securities Ltd ยิ่งแทบจะไม่มีใครรู้ ทั้งที่บริษัท หลักทรัพย์แห่งนี้ เข้ามาตั้งสำนักงานตัวแทน ตั้งแต่ปี 2532 และค่อนข้างแอคทีฟ ในงานวิจัยต่างชาติรายอื่น ๆ

ธีระ วรรณเมธี หัวหน้าสำนักงานตัวแทน กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงที่มาของการตั้งสำนักงาน ในกรุงเทพฯว่า ธนาคารบาร์คเลย์ (ฺBarclays Bank PLc) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเราในกรุงลอนดอน เริ่มเข้ามาก่อน เมื่อ 8 ปีที่แล้ว โดยเข้ามาซื้อหุ้นใน บงล.บางกอกอินเวสเม้นท์ 15% แนวคิดตอนนั้นคือตั้งใจจะใช้เป็นฐานสำหรับทำความเข้าใจตลาดไฟแนนซ์ไทย พอปี 2531 เมื่อเศรษฐกิจเริ่มเติบโตมากขึ้น ทางธนาคารฯ ก็เข้ามาตั้งสำนักงานตัวแทนธนาคารฯ และในปีถัดมา บริษัทหลักทรัพย์ฯ คือในส่วน ของผมก็เข้ามาสร้างออฟฟิศที่นี่

จุดที่ BZW ขยายตัวเข้ามาในไทย เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การขยายกิจการเข้ามาในแถบเอเชีย แปซิฟิก เมื่อปี 2529 ซึ่ง เริ่มที่ฮ่องกง และสิงคโปร์ก่อน และใน 3 ปี ต่อมา ก็มีสำนักงานอยู่ทุกประเทศในเอเซีย

ยุทธศาสตร์การขยายตัวเข้ามายังเอเชีย-แปซิฟิก ของ BZW มีส่วนเกี่ยวเนื่อง กับเหตุการณ์ The Big Bang ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ซึ่ง " ผู้จัดการ" ขอทบทวนเหตุการณ์นั้นเล่าสู่กันสักเล็กน้อย

ก่อนหน้าปี 2529 หรือก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ deregulation big bang ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน กิจการธนาคาร โบรกเกอร์ และวาณิชธนกิจต่างแยกกันอยู่แยกกันทำ เจ้าของธนาคารไม่สามารถเป็นเจ้าของบริษัทโบรกเกอร์ได้ หรือหากธนาคารจะทำกิจการวาณิชธนกิจก็ต้องตั้งบริษัทแยกมาทำต่างหากไม่ยุ่งเกี่ยวกับแบงก์

ครั้นมีการผ่อนคลายกฎระเบียบเหล่านี้ลงในปี 2529 ธนาคารหลายแห่งได้เข้าไปซื้อ บริษัทโบรกเกอร์ และในบางราย ก็นำไปรวมไว้กับกิจการวาณิชธนกิจ ที่มีอยู่ก่อนหน้าแล้ว

นอกจากนี้บริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ก็ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายหุ้น และเข้าเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำหน้าที่ เป็นโบรกเกอร์และมาร์เก็ต เมคเกอร์ได้ และยังไม่มีการยกเลิกการทำการกำหนดอัตราค่าคอมมิชชั่นขั้นต่ำด้วย

ธีระอธิบายเรื่อง Big Bang ว่า " ผมคิดว่า ธนาคารชาติอังกฤษ มีเหตุผล 2 อย่าง ที่ทำอย่างนั้น คือต่อไป ในโลกของตลาดการเงินจะมีลักษณะ Globalized ซึ่งการที่จะทำให้พวกโบรกเกอร์ และกิจการวาณิชธนกิจ สามารถแข่งขันไปได้ ก็จำเป็นที่จะต้องให้บริษัทเหล่านี้ มีทุนจดทะเบียนเยอะ ซึ่งทุนก็ต้องเอามาจากแบงก์ ก็เลยอนุญาต ให้แบงก์เข้าเทคโอเวอร์ กิจการเหล่านี้ได้ และสอง นอกจากเรื่องทุนแล้ว เรื่องความสามารถในการแข่งขันก็สำคัญ เพราะในลอนดอน พวกโบรกเกอร์ มักจะจับกลุ่ม ร่วมมือกันทำธุรกิจ ตั้งกฎเกณฑ์ภายในขึ้นมาเอง ไม่มีการแข่งขัน อยู่กันอย่างสบาย ๆ ซึ่งก็จะไปแข่งกับพวกญี่ปุ่น และนิวยอร์ค ไม่ได้ แบงก์ชาติอังกฤษก็เลยทำลายกฎเกณฑ์เหล่านี้เสีย"

อย่างไรก็ดี ธีระ เห็นว่า Big Bang มีทั้งข้อดีและข้อเสีย " ข้อดี คือมีกลุ่มใหญ่เกิดขึ้น มีทุนมากพอและมีความสามารถในการแข่งขัน ในด้านที่พวกเขาชำนาญ แต่ข้อเสีย คือเกิดมีการขัดแย้ง ในผลประโยชน์ เพราะการที่สามารถ ทำได้ทั้งโบรกเกอร์ และอันเดอร์ไรเตอร์ ทำให้ลูกค้าเกิดความลังเลใจว่า บริษัทจะช่วยเขาในด้านไหนแน่ และอีกประการหนึ่ง การเทคโอเวอร์ ส่วนมากที่ไม่ค่อยสำเร็จเพราะวัฒนธรรม และสไตล์การบริหารต่างกันมาก อย่างบริษัทอเมริกันมาเทคโอเวอร์บริษัทอังกฤษ หรืออย่างสไตล์ของโบรกเกอร์ กับแบงก์เกอร์ก็มีความต่างกันอยู่"

ทั้งนี้ มีบริษัทอังกฤษ เพียง 2 แห่งเท่านั้น ที่ประสบความสำเร็จจากการทำ Deregulation ของแบงก์ชาติอังกฤษ และสามารถแข่งขันได้ ในระบบใหม่นี้ หนึ่งในนั้นคือ BZW

ก่อนหน้า Big Bang ธนาคารบาร์คเลย์ไม่มีกลไกทางด้านหลัก ทรัพย์ในครอบครอง ธนาคารฯ ได้ใช้โอกาสที่ deregulation ครั้งนี้ ซื้อกิจการหลักทรัพย์ และการเป็นผู้ตลาด (Market Maker) โดยเข้าไปซื้อบริษัท โบรกเกอร์ ยักษ์ใหญ่ 1 ใน 5 ของอังกฤษ ชื่อ de Zoete & Bevan ซึ่งเป็นพวกดัชท์อพยพเข้ามาใน City of London ตั้งแต่ 200 ปีก่อน และซื้อบริษัท ขายหุ้น ซึ่งเป็นผู้นำตลาดในเวลานั้นด้วยคือ wedd durlacher mordaunt ซึ่งเป็นพวกเยอรมันอพยพเข้ามาใน Coity of London ด้วยเช่นกัน

เอา 2 บริษัท ดังกล่าวเข้ามารวมกับฝ่ายวาณิชธนกิจของธนาคาร ฯ ก่อตั้ง เป็น BZW securities ในปี 2529

บาร์คเลย์ กรุ๊ป แยกกิจการธนาคารออกจากกิจการวาณิชธนกิจ โดยสิ้นเชิง ธีระให้เหตุผลว่า "เราคิดว่า วัฒนธรรมการบริหารธนาคารพาณิชย์กับกิจการวาณิชธนกิจ ไม่เหมือนกัน และในส่วนของธนาคาร เองก็เพิ่งมีการปรับโครงสร้างใหม่ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมาด้วย"

ธีระ เปิดเผยว่า " การปรับโครงสร้างใหม่ ครั้งนี้ ถือว่ากิจการ ธนาคารอยู่กลุ่มหนึ่งเลย และอีกกลุ่มหนึ่งเป็น market & investment Banking มีการดึงพวก tereasury product และส่วนที่เกี่ยวกับตลาด Forex และ Swap ซึ่งสมัยก่อนอยู่ใต้แบงก์มาอยู่ในส่วนวาณิชธนกิจด้วย

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง นอกจากการปรับโครงสร้าง แล้วปรากฏว่า ทางผู้บริหารธนาคาร ได้เสนอซื้อหุ้นทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อย มูลค่า 111 ล้านปอนด์ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีในแง่ของธนาคาร และผู้ถือหุ้นรายย่อย โดยเฉพาะพวกที่ถือไว้ตั้งแต่มีการร่วมกิจการ ในปี 2529

ข้อดีสำหรับกลุ่มบาร์คเลย์ คือได้อำนาจการบริหารเต็มที่ พร้อมกันไปกับแผนการปรับโครงสร้าง ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยก็แฮปปี้ โดยหลังจากถือหุ้นมา 5 ปี ในมูลค่าหุ้นละ 1 ปอนด์ ปรากฏว่า ในตอนนี้ หุ้น BZW มีมูลค่าหุ้นละ 1.24 ปอนด์ ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน และธนาคารฯ จะจ่ายค่าพรีเมียมในข้อเสนอครั้งนี้อีก หุ้นละ 26 เพนนี เท่ากับว่า ผู้ถือหุ้นได้กำไรมา 50 เพนนี

เป็นความใจกว้างของผู้บริหารธนาคาร ซึ่งปรากฏว่า มีผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างน้อย 300 คน ยินดีที่จะขายหุ้นให้ผู้บริหาร แบงก์ในราคาดังกล่าว รวมแล้ว 74 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 1.50 ปอนด์

ข้อที่น่าสนใจ คือในจำนวน 300 คน เป็นเจ้าหน้าที่ดั้งเดิมของ de Zoete และ Wedd ถึง 107. คน อีก 60 คน เป็นพนักงานของบริษัทออสเตรีย ชื่อ meares& philps และบริษัทฝรั่งเศส ชื่อ puger-mahe ซึ่งเข้ามาร่วมธุรกิจ กับ BZW ในภายหลัง ส่วนที่เหลือ เป็นเครือญาติของเจ้าหน้าที่ หรือผู้ร่วมก่อตั้ง มาตั้งแต่ดั้งเดิม ที่ได้ออกไปแล้วยังไม่ได้ขายหุ้น

ทั้งนี้ BZW GROUP มีกำไร ก่อนหักภาษี 33 ล้านปอนด์ใน 2531 และเพิ่มขึ้นเป็น 54 ล้านปอนด์ในปี 2532

อย่างไรก็ดี ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในปี 2532 ก็น้อยกว่า 1 ใน 3 ของผลกำไรก่อนหักภาษี ของ Wargurg ซึ่งเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจากการรวมกิจการไฟแนนซ์ Big Bang

สำหรับเมืองไทยนั้น ธีระกล่าว่า จะต้องการขยายงานเพิ่มขึ้น ธีระได้พยายามขอใบอนุญาตประกอบกิจการธุรกิจหลักทรัพย์จากธนาคารชาติ แต่เรื่องยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร

นอกเหนือจากงานวิจัยหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีผลงานไม่แพ้บริษัทวิจัยอื่น ๆ และการทำหน้าที่เป็น selling agent หุ้นหลายตัวโดยอาศัยเครือข่าย

ในทั่วโลก เช่นหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารไทยพาณิชย์ ภัทรประกันภัย และหุ้นใหม่อย่างชินวัตรฯ ไทยยิบซั่ม บอร์ด เป็นต้น ธีระยังเตรียมขยายงานด้านตลาดหนี้ (debt instrument เช่นการทำ swap commercial paper ด้วย)

นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นสำนักงานตัวแทน BZW ที่กรุงเทพฯ ต้องทำงานด้านการตลาด ธีระเล่าว่า "ผมต้องเดินทางไปเสนอรายงานให้ลูกค้าโดยตรงที่นิวยอร์ค ลอนดอน ฮ่องกง โตเกียว ปีละ 2 ครั้ง ไปอธิบายเรื่องแนวโน้ม และการพัฒนาตลาดหุ้นไทย บรรยายหุ้นแต่ละตัว รวมทั้งเรื่องเศรษฐกิจไทยด้วย และเมื่อมี fund mangager ที่ดูแลเงินทุนใหญ่เดินทางเข้ามา ผมก็ต้องรับรองพาไปดูบริษัท/หุ้น ที่พวกเขาสนใจ ลงทุนด้วย"

ธีระกล่าวว่า "มันเป็นเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ Fund Manager เหล่านี้ ใช้โบรกเกอร์ 3-4 รายขึ้นไป ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนที่เขาดูแลอยู่"

ธีระเชื่อมั่น ในมูลค่าเพิ่ม (value added) ที่เขาสร้างให้กับบริการต่าง ๆ ที่มีให้ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานวิจัยซึ่งจะต้องอธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและแนวโน้มที่จะเป็นได้อย่างชัดเจนที่สุด หรือเรื่องการซื้อหุ้นอย่างมีประสิทธิภาพ การส่งมอบหุ้นไม่ให้สาย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ลูกค้าพิจารณาและธีระมั่นใจว่า" เราพยายามที่จะเป็นโบรกเกอร์อันดับหนึ่งให้ได้"

ในเรื่องของการขยายกิจการนั้น ธีระได้เปิดเผยด้วยว่า "เราเปิดการเจรจากับโบรกเกอร์ และซับโบรกเกอร์ในประเทศ 3-4 ราย แต่ยังไม่สำเร็จ เพราะยังมีความแตกต่างเรื่องเป้าหมาย และสไตล์การบริหารอยู่พอสมควร ผมคิดว่ามันเป็นเหมือนการแต่งงาน ผมต้องแน่ใจว่า คนที่เราร่วมมือด้วย ต้องมีเป้าหมาย และวิธีทำธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน"

เพราะเป้าหมายระยะยาวของ BZW คือต้องการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ในในระยะสั้น คือการมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์

ธีระกล่าวอย่างคนหนุ่มผู้เชื่อมั่นในอนาคตว่า "แม้ตอนนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเงียบ แต่โครงสร้างของตลาดการเงินและตลาดทุนยังเติบโตอยู่ มันอาจจะเริ่มจากฐานที่ไม่ค่อยพัฒนานัก แต่นั่นก็เป็นข้อดีสำหรับธุรกิจการเงิน เพราะเมื่อมันพัฒนาไปเรื่อย ๆ และมีความลึกซึ้งในด้านการเงินมากขึ้น หากเราโตไปพร้อมกัน เราจะโตทั้งในด้านหลักทรัพย์และตลาดหนี้ด้วย ซึ่งผมคิดว่า คงจะใช้เวลาในอีก 5 ปี ข้างหน้า เป็นอย่างน้อย

เป็นความเชื่อมั่น และมุ่งมั่น ของคนหนุ่มไฟแรง ที่มีต่ออนาคตการเติบโตของตลาดทุนเมืองไทย อย่างแท้จริง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us