Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2534
ระบบโทรศัพท์ในยุโรปตะวันออกยังมืดมน?             
 


   
search resources

Telephone




ใครก็ตามที่มีโอกาส ไปติดต่อธุรกิจ ณ ยุโรปตะวันออก หรือสหภาพโวเวียต ก็คงหนีไม่พ้นที่จะพูดถึงปัญหาเกี่ยวกับระบบโทรศัพท์ อย่างในกรณีของเจฟฟ์ โซลส์บี้ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของราคาล-มิลโก ที่เคยเดินทางไปเมืองคีเอฟ กับผู้แทนทางการค้า ของสหราชอาณาจักร เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ถึงกับเปิดเผยว่า "คุณจะพบว่าเมื่อคนหนึ่งกำลังพูดโทรศัพท์อยู่ แต่อีกคนจะไม่ได้ยินเสียงเลย หรืออีกฝ่ายหนึ่งจะพูดเสียงเบา คนที่ฟังอยู่ก็จะต้องด่ากลับไป" เช่นเดียวกับ จอห์น กริฟฟิธส์ แห่งบริติช เทเลคอม เล่าภายหลังกลับจากโปแลนด์ว่า "การต่อโทรศัพท์ในเวลากลางวัน ช่างยากเย็นเหลือเกิน สายไม่ว่าง คุณจะต้องหมุนครั้แล้วครั้งเล่า"

ปัญหาเครือข่ายโทรศัพท์ ก็เช่นดียวกับปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันออก ที่ไม่เคยได้รับเงินสนับสนุน และได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างถูกต้องแต่อย่างใด เทคโนโลยีที่ใช้กันในปัจจุบัน กลับเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปถึง 60 ปี ตามสถานที่ต่าง ๆ จะพบว่าไม่มีโทรศัพท์ใช้กัน โฆษกของสแตนดาร์ด อิเล็กทริก โลเรนซ์ (เอสอีแอล) ในเยอรมัน ชี้แจงว่า โรงแรมในเยอรมันนีตะวันออก จะไม่มีแม้แต่แผงวงจรโทรศัพท์ เวลาแขกจะโทรจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง ก็จะต้องไปใช้โทรศัพท์สาธารณะ

การที่จะขอโทรศัพท์ใช้สักเครื่อง ต้องคอยกันถึง 10-12 ปี ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ มีโทรศัพท์ไม่พอใช้กันมากขึ้น แม้แต่บริษัทโทรศัพท์ ยูเอส เวสต์ แห่งสหรัฐ ที่ลงทุนร่วมกับองค์การโทรศัพท์ ในฮังการีก็ประสบปัญหากับเรื่องดังกล่าว คือ ภายในสำนักงานที่มีพนักงาน 23 คน จะมีโทรศัพท์ ใช้กันเพียง 2 เครื่อง "เวลาคุณจะใช้โทรศัพท์คุณถึงจะต่อโทรศัพท์ได จอห์น ดี พีโอ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ของสเปคตรัม เอนเตอร์ไพรส์ บริษัทลูกของยูเอส เวสต์ กล่าวขึ้น

ส่วนคนที่โชคดี ที่มีโทรศัพท์ใช้ภายในบ้าน ก็อาจต้องแบ่งกันใช้กับคนอื่น ๆ หรือพึ่งโอเปอเรเตอร์ อย่างรอน แซนเดอรส์ ผู้ร่วมงานของดีพีโอ ซึ่งมีที่พักอยู่แฟลตแห่งหนึ่งในบูดาเปสต์ ต้องประสบปัญหาว่า ภายในแฟลต 30-40 แห่งมีโทรศัพท์บริการเพียง 5 เครื่องเท่านั้น พอถึงเวลา 22.00 น ทุกคืน โอเปอเรเตอร์ กลับบ้านไปแล้ว ก็จะไม่มีการใช้โทรศัพท์ไปจนกระทั่งเช้า "แต่นั้นก็ดีแล้ว ผมมีโทรศัพท์ใช้นับว่าเขาโชคดีไม่น้อย เมื่อเทียบกับเลขาชาวฮังกาเรียน ของเขาที่ต้องรอโทรศัพท์นานถึง 12 ปี ทีเดียว

รัฐบาลของประเทศที่เปิดเสรีมากขึ้นสักหน่อย เช่น โปแลนด์ ฮังการี และเชสโกสโลวะเนีย อีกทั้งสหภาพโซเวียต ต่างทวีความตระหนักถึงความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านโทรคมนาคมที่มีการติดต่อด้าน

อุตสาหกรรมและการค้า ในการที่จะปรับปรุงเศรษฐกิจภายในประเทศให้ก้าวหน้า

เงินทุนถือได้ว่ามีความจำเป็นจะใช้ในการติดตั้งระบบโทรศัพท์ จากตัวเลขรายงานจากเทเลคอม มิวนิเคชั่นส์ รีเสริซ เซ็นเตอร์ บริษัทวิจัยทางการตลาดของสหราชอาณาจักรชี้ว่า ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบโทรศัพท์ของประเทศยุโรปตะวันตก ราว 350,000 ล้านดอลลาร์ และยังคาดการณ์ว่า ค่าใช้จ่ายการติดตั้งระบบโทรศัพท์ ในแถบยุโรปตะวันออกสหภาพโซเวียต ตลอดจนประเทศเล็ก ๆ จะสูงปีละ 24,000 ล้านดอลลาร์ ไปจนถึงปี 1995 และจะทวีสูงขึ้นเป็น 31,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2000 นอกจากนั้น เยอรมันีตะวันตก ยังจะทุ่มทุนอีก 50,000 ล้านมาร์ก ในการติดตั้งเครือข่ายแบบดิจิตอล เฉพาะในเยอรมันีตะวันออก ในช่วงห้าปีข้างหน้าด้วย

แต่ก็ใช่ว่า ระบบโทรคมนาคม จะซื้อหาและขนส่งได้ด้วยรถบรรทุก เฉกเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ และสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ ที่จริงกลับเป็นระบบที่เหมือนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในดานอื่น ๆ อาทิ ๆ ไฟฟ้า น้ำประปา หรือบริการทางรถไฟ ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการวางแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการให้ได้ระดับสูงสุด

ทว่า ในโครงการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในขณะนี้หลายโครงการ ก็กำลังเป็นรูปเป็นร่างขึ้นบ้างแล้ว เช่น โปแลนด์ กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ด้านโทรคมนาคม ทุกประเภท สู่มือเอกชน ร่างสัญญาฉบับนี้ เปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนเข้ามาแข่งขันในระบบโทรศัพท์ทางไกล และระหว่งประเทศ อีกทั้งด้านสื่อสารข้อมูล นอกจากนี้ยังอนุญาตให้มี โทรศัพท์เคลื่อนที่ ถึง 2 เครือข่าย โดยหนึ่งในเครือข่ายนั้น ก็จะให้เอกชนเข้ามาสนับสนุนเงินทุนอย่างเต็มที่ ซึ่งจะเป็นวิถีทางหนึ่งในการเปิดทางให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน

ทางด้านเชสโกสโลวะเนีย ดูเหมือนว่า จะปล่อยกิจการในลักษณะนี้สู่มือเอกชน โดยรัฐมนตรี กระทรวงไปรษณีย์ และโทรคมนาคม ก็ร่วมทนกับยูเอสเวสต์และเบบล์ แอตแลนดิต แห่งสหรัฐฯ ประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบโทรคมนาคมในประเทศ

ฮังการีกำลังพิจารณาแนวโน้มที่จะแปรรูปกิจการโทรศัพท์ให้กับเอกชนเข้ามาแข่งขันกันเป็นครั้งแรก อนุญาตให้จัดตั้งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเอกชนเพิ่มขึ้น จากที่รัฐบาลดำเนินการอยู่เครือข่ายหนึ่ง

ส่วนโรมาเนีย ยังเป็นประเทศที่มีการเมืองภายในประเทศวุ่นวายอยู่ บัลกาเรียนั้นแม้ว่าจะดูวุ่นวายน้อยกว่าทั้งสองประเทศ นี้ ยังไม่มีแผนการที่ชัดเจนแน่นอนเกี่ยวกับการพัฒนาโทรศัพท์ให้ทันสมัย

อาจกล่าวได้ว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นแนวทางระยะหัวเลี้ยวหัวต่อในการจัดหาบริการด้านโทรศัพท์ ก็ว่าได้ เพราะว่า ติดตั้งได้รวดเร็ว สามารถใช้งานได้ทันที ในขณะที่ แบบเดิม จะต้องเสียเวลาในการติดตั้งสายโทรศัพท์ จึงเป็นที่คาดว่าจะได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

บริติช เทเลคอม จึงเข้าร่วมกับสวีดิช เทเลคอม และฟินเทลคอม แห่งฟินแลนด์ ดำเนินการประมูลเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในโปแลนด์อยู่ หากสำเร็จ ก็มีแผนจะขยายบริการออกสู่ประเทศในแถบทะเลบอลติก ได้แก่ เอสโทเนีย แลทเวีย และลิธัวเนีย นอกจากนี้ ยังจะเชื่อมเครือข่ายระบบใหม่ เข้ากับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในแถบสแกนดิเนเวีย อีกเช่นกัน

สำหรับโครงการร่วมทุนของเชสโกสโลวะเกีย ด้านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โครงการแรกมีมูลค่าถึง 60 ล้านดอลลาร์ กำหนดจะให้บริการในเมืองสำคัญอาทิ ปราก บริทิสลาวา และบัวโน ในปีหน้า

ส่วนระบบโทรศัพท์ เคลื่อนที่ของเอกชน ที่มีฮังกาเรีย เทเลคอม ลงทุนกับคอนเทล เซลลูลาร์ แห่งสหรัฐฯ นั้น ทั้งสองเครือข่าย จะเริ่มดำเนินการ ในเมืองบูดาเปสต์ ปีหน้าเช่นกัน และจะให้บริการตลอดทั้งประเทศภายในระยะเวลา 3 ปี

ขณะเดียวกัน โทรศัพท์สายเมน ก็มีความจำเป็นจะต้องวางแผนอย่างจริงจัง ซึ่งก็ตรงกับความคิดของเยอรมันนี ตะวันตก ที่ทุ่มงบ 50,000 ล้านมาร์ก ติดตั้งระบบโทรคมนาคม ที่ชื่อว่า " Digital Overlay Network" ระบบนี้ จะต้องวางสายโทรศํพท์สายใหญ่รุ่นใหม่ ระบบดิจิตอล ผ่านเมืองสำคัญในเยอรมนันนีตะวันออก โดยจะเดินคู่ขนาน กับระบบโทรศัพท์แบบเดิมที่ใช้อยู่

โทรศัพท์สายใหญ่ชนิดฝังใต้พื้นดิน นี้มีแนวโน้มจะติดตั้งในประเทศแถบนี้ทั้งหมด จอห์น เยียวแมนส์ ที่ปรึกษา ทางด้านโทรคมนาคม ของพีท มาร์วิค แม็คลินท็อค ใช้เวลาศึกษาเครือข่ายในยุโรปตะวันออก เป็นเวลาหลายเดือน เขาชี้แจงหากการเชื่อมโทรศัพท์แบบใหม่ เข้ามาติดต่อ ก่อนที่สายโทรศัพท์สายใหญ่ จะปรับปรุงแล้ว ก็อาจทำให้เกิดความวุ่นวายอยู่บ้าง

ทั้งฮังการี โปเแลนด์ และเยอรมันตะวันออก ได้เริ่มสั่งซื้อระบบโทรศัพท์ดังกล่าว กับผู้ผลิตรายใหญ่ แห่งตะวันตกไปแล้ว เช่น อัลคาเทล, นอร์ธเทริน เทเลคอม และเอสอีแผล ยิ่งกว่านั้น การสื่อสารดาวเทียมและวิทยุเอง ก็จะมีบทบาท ในขบวนการนี้ด้วย เนื่องจากมีความรวดเร็วและสะดวกต่อการติดตั้งมากกว่าระบบโทรศัพท์แบบเก่า

ส่วนเยอรมันตะวันตก นั้น ได้เริ่มนำแผนการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมบนอาคาร และโรงงานเพื่อส่งสัญญาณโทรศัพท์ ภายในและคอมพิวเตอร์ในเยอรมันตะวันออก ปฏิบัติการแล้ว ภายหลังจากได้รับอนุญาตให้เอกชนสามารถดำเนินการได้

เยียวเมนส์ เชื่อว่าการพัฒนาโทรศัพท์ ระหว่างประเทศ จะเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะเป็นแหล่งทำให้เกิดรายได้ขึ้นอย่างเร็วซึ่งจะเป็นหนทางสู่การลงทุนในส่วนอื่นของระบบ

นี้ด้วย

เขายังคำนวณต่อไปว่า รายได้นี้จะรับมาจากการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศตลอดจนการวางสายโทรศัพท์ เช่นโปแลนด์ มีสายโทรศัพท์ 71 สาย ที่ไปยังสหรัฐฯ หากทีมการวางสายมากขึ้น อีก 500 สาย ก็จะทำรายได้ อีกราวสายละ 50,000 ดอลลาร์ หรือรวมปีละ 25 ล้านดอลลาร์ และเมื่อจานดาวเทียม ที่มีมูลค่า 10 ล้านดอลลาร์ให้บริการได้แล้ว ผลตอบแทนจะยิ่งกลับมาอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม หลักการธุรกิจเชิงพาณิชย์และการตลาดดังกล่าว ยังไม่เป็นที่รู้จักมักคุ้น ต่อยุโรปตะวันออก เนื่องจากที่ผ่านมา ยังไม่มีความจำเป็นซึ่งผิดกับยูเอส เวสต์ คอนเทล เซลลูลาร์ และเบลล์ แอตแลนติก ที่ไม่เคยไปลงทุน ไปโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ บริษัทเหล่านี้ ยังพบว่า หน้าที่อย่างหนึ่งของตนก็คือ การถ่ายทอดวิธีการดำเนินการเชิงพาณิชย์ ให้กับผู้ร่วมธุรกิจด้วยกัน

ส่วนฮังการี ผู้ริเริ่มให้มีการแข่งขันเครือข่ายก่อนเพื่อน ก็มีความคุ้นเคยกับแนวคิดนี้ " ผมว่าการแข่งขันลักษณะนี้จะเป็นได้เปรียบของเศรษฐกิจฮังการี" ทามัส ลิกิตี ผู้อำนวยการฝ่ายพาณิชย์ ของฮังกาเรีย เทเลคอม ให้ความเห็น แต่ปัญหาที่ต้องเผชิญ ในขณะนี้ ก็คือการไม่สามารถระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ได้เพราะขาดข้อมูลจากการวิจัยทางตลาด

การขาดประสบการณ์ทางด้านธุรกิจและการขาดแคลนเงินตราสกุลแข็งเป็นอุปสรรคเช่นกัน แต่ตลาดยุโรปตะวันออก ก็ใหญ่เกินกว่าที่จะถูกปล่อยให้หลุดไปได้ง่าย ๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us