Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2534
เมื่อแบงก์ทั่วโลกขาดเสถียรภาพ BIS จึงต้องเร่งกู้ความเชื่อมั่น             
 


   
search resources

Banking and Finance




Bank for international Sattlements BIS ได้ตกลงกันที่กรุงบราซิลเพื่อกำหนดให้สิ้นปี 1992 เป็นเส้นตายที่แบงก์ต่าง ๆ ทั่วโลก ต้องเร่ทำให้สัดส่วนทุนต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงไม่ต่ำกว่า 8% โดยอัตราส่วนทุนประเภทที่ 1 หรือทุนหลัก (core capital) ไม่ต่ำกว่า 42% การกำหนดองค์ประกอบของทุนประเภทที่1. ทุนประเภทที่ 2 และองค์ประกอบของการคำนวณ ความเสี่ยงคือ สาเหตุที่ทำให้มีการประชุมคณะกรรมการผู้ออกกฎด้านอุตสาหกรรมแบงก์ และผู้ออกข้อปฏิบัติต่าง ๆ ของบีไอเอส ที่กรุงบราเซล โดยมีปีเตอร์ คุ๊ก เป็นประธาน

บีไอเอส ยังกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติตามข้อกำหนด อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยกำหนดช่วงปี 1990-1991 เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ก่อนจะทำตามกฎอย่างสมบูรณ์ในสิ้นปี 1992

แต่เดิมนั้น แบงก์ชั้นนำส่วนใหญ่เชื่อว่า จะสามารถทำตามกฎของบีไอเอส ได้ก่อนปี 1992 โดยไม่จำเป็นต้องเดินตามขั้นตอนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทว่าเมื่อแบงก์เหล่านี้ ต้องเผชิญสภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากตลาดหุ้นที่ทรุดดิ่งในปี 89 และวิกฤตการณ์ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในปี 90 ก็ทำให้แบงก์ต่าง ๆ จำเป็นต้องยอมเดินตามการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป

การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปดังกล่าวก็คือ ในขั้นแรก บีไอเอส จะยอมให้นับรวมองค์ประกอบของทุนประเภทที่ 2 หลาย ๆ องค์ประกอบ ยังสามารถเข้าเป็นทุนประเภทที่ 1 ได้ นอกจากนี้ กำไรจากการถือหลักทรัพย์ของแบงก์ญี่ปุ่น ซึ่งไม่แสดงในงบดุล ก็ถือว่าเป็นทุนประเภทที่ 1 เช่นเดียวกับหนี้สิน แบบซับออดิเนท ( subbordinated debt) ของแบงก์สหรัฐ

นอกจากนี้ในช่วงแรก บีไอเอส ยังยอมโอนอ่อนในเรื่องโครงสร้างของทุนทั้ง 2 ประเภทด้วย กล่าวคือ อันที่จริงแล้วทุนประเภทที่ 1 นั้นหมายถึง ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ หรือผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์มีเสียงในการบริการ และเป็นผู้ที่ต้องแบกรับยอดขาดทุนของแบงก์ หากแบงก์ประสบปัญหา แต่บีไอเอส ยังยอมให้รวมเอาองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น เงินสำรองในรูปของส่วนเกินทุน (Capital surplus) และกำไรสะสม โดยทุนสำรองดังกล่าวจะ ต้องมีการเปิดเผยรายละเอียดและจะต้องไม่มีการนำเงินทุนสำรองที่ไม่แสดงในงบดุลมาคิดรวม

อยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดไม่สะสมเงินปันผลนั้น ไม่อาจรวมอยู่ในทุนประเภทที่ 1 เพราะแม้ว่าหุ้นดังกล่าวจะไม่ได้รับเงินปันผล หากปีใด บริษัท มีกำไรสะสมไม่พอจ่าย แต่ผู้ถือหุ้น บุริมสิทธิ์ ก็ไม่มีสิทธิ์ออกเสียง และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลขาดทุน หากบริษัทประสบปัญหา หรือประสบภาวะล้มละลาย ดังนั้นหุ้นบุริมสิทธิ์จึงมีลักษณะเหมือนหนี้สินมากกว่าหุ้นสามัญ

ทันทีที่มีการแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างทุนประเภทที่ 1 และทุนประเภทที่ 2 บรรดาผู้ออกกฎ ก็มีอิสระเสรีที่จะเซ็นอนุมัติให้ทุนชนิดใดนับรวมเป็นทุนประเภทที่ 2 ได้บ้าง โดยอาศัยการตีความรูปแบบของทุนตามกำหนดเฉพาะของแต่ละประเทศ และด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มีการต่อรองกันในระดับประเทศเกิดขึ้นด้วย โดยสำหรับแบงก์ญี่ปุ่นนั้น ยอมให้มีการตีมูลค่าเงินสำรองใหม่ได้ โดยคำนึงถึงกำไรจากการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งในงบดุล จะมิได้แสดงเอาไว้ จะแสดงก็แต่เพียงต้นทุนของหลักทรัพย์เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลาย ๆ ประเทศ เช่น เยอรมัน ที่แบงก์ยังพอมีเงินทุนสำรองเท่ากับยอดดั้งเดิม เพราะพวกเขายืนยันว่า จะไม่ยอมให้แบงก์ต่าง ๆ เอารายการอื่น ๆ ที่ไม่เคยเป็นที่ยอมรับมานับรวมเป็นทุนประเภทที่ 2 เหมือนแบงก์ญี่ปุ่น เป็นอันขาด รวมทั้งบีบบังคับให้แบงก์เปิดเผยข้อมูลอย่างเต็มที่ ส่วนหนี้สินแบบซับออดิเนทที่ แบงก์สหรัฐฯ นับรวมเป็นทุนประเภทที่ 1 นั้น เยอรมันนี กลับเป็นทุนประเภทที่ 2

อย่างไรก็ดี เนื่องจากหนี้สิน แบบซับออดิเนท เป็นหนี้สินที่แลเห็นได้ไม่ชัดเจน และมีความผันผวนจึงมีความจำกัดหากจะนำมานับรวมในทุนประเภทที่ 2 โดยจำกัดไว้เพียงไม่เกิน 50% ของทุนประเภทที่ 2 ส่วนกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ถูกจำกัดไว้ไม่เกิน 55% และทุนประเภทที่ 2 นั้นจะต้องไม่เกิน 50% ของทุนทั้งหมด กล่าวคือทุนประเภทที่ 2 จะต้องไม่เกินทุนประเภทที่ 1 นั่นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us