Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 พฤษภาคม 2545
"กิตติรัตน์"วิเคราะห์บทเรียนธุรกิจ หวังสร้างภูมิคุ้มกันก่อนบริหารกิจการ             
 


   
search resources

กิตติรัตน์ ณ ระนอง




วิเคราะห์วิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่ผ่านมาผ่านสายตาผู้มีประสบ การณ์อย่าง "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" หวังเป็นบทเรียนสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ประกอบการของไทยในอนาคต กิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรม

การและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวในงานอบรม สัมมนา "ทายาทธุรกิจ" ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเด็นของ

การศึกษาบทบาทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาและการสร้างภูมคุ้มกันในอนาคต" ว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาหลายคนอาจลืม ไปว่าเบื้องลึกของปัญหาแฝงบทเรียนที่ดีไว้ด้วย

โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่สามารถนำพาธุรกิจผ่านพ้นวิกฤตเหล่านั้นมาได้ กรณีที่สถาบันการเงินมีปัญหา ขาดดุลจนกระทั่งต้องลดค่าเงินบาทเป็นปัญหาที่เกิดจากการที่

สะสมมานานและมาระเบิดในเวลาเดียวกันจนกลายเป็นข้อพิพาท กันว่าแท้จริงแล้ววิกฤตเศรษฐกิจเกิดจากตรงไหนกันแน่ จุดที่หลายคนเห็นว่าจะเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตกขณะเดียว

กันนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนยังพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพ ได้ส่งผลให้เงินอัตราของต่างประเทศนั้น ไหลทะลักเข้ามาในประเทศไทย เมื่อเงินทะลักเข้ามาล้นมือของคนที่เกี่ยวข้องทั้งภาคธุรกิจ

ภาคเอกชน และรวมถึงภาครัฐซึ่งอาจจะรวมถึง รัฐวิสาหกิจด้วย ผลที่เกิดขึ้นก็คือราคาทรัพย์สินสูงขึ้น เรื่องที่เกิดขึ้นถ้าหลายคน สังเกตเป็นเรื่องตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยอย่างเดียว ในญี่ปุ่น

ก็เกิดวิกฤตเช่นนี้เหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ว่าญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการส่งออกมาก จนกระทั่งได้เปรียบดุลการค้าจนบัญชีเงินสะพัดและเงินก็ทะลักเข้าสู่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเหมือนกัน

สังเกตเห็นได้ว่าก่อนญี่ปุ่นประสบปัญหาทรัพย์สินในประเทศญี่ปุ่นมีราคาสูงทั้งที่ดินหุ้นหรือแม้

แต่อะไรก็ตามที่เป็นทรัพย์สินที่พอจะซื้อหาได ้พร้อมที่จะมีราคาสูงทั้งนั้น และเมื่อไรก็ตามที่ปริมาณเงินทะลักเข้ามาล้นมือโอกาสที่ราคาทรัพย์สินเพิ่มก็สูง

แต่ในมุมที่กลับกันถ้าหากว่าเงินไม่ได้ล้นมือทรัพย์สินทั้งหลาย ซึ่งความจริงแล้วควรจะมีราคาสูงกว่านั้น ก็อาจจะไม่ได้มีราคาสูงเท่าที่ควร เพราะว่าเงินไม่ได้มีเพียงพอ

เราใช้คำว่าเงินล้นมือไม่อยากใช้คำว่าเงิน ล้นระบบเพราะหลายท่านอาจจะสับสนและเข้าใจผิดว่าตอนนี้เป็นช่วงเงินล้นมือ แต่จริงแล้วช่วงนี้ของ

ไทยเป็นช่วงที่เงินล้นระบบเพราะว่าตอนนี้เงินอยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์มาก แต่เงินตรงนั้นไม่ได้มา ที่ผู้บริโภคและผู้ลงทุน อันนี้จึงเป็น บทเรียน และเป็นข้อสังเกตประการ แรก

ระบบเศรษฐกิจของไทยอาจเรียกได้ว่าอยู่ในระหว่างติดเชื่อได้ง่ายเพราะยังมัปัญหาที่ค้างคาอยู่อีก หลายเรื่อง ในความเป็นจริงแล้วความจริงวิกฤตเศรษฐกิจที่เราผ่านมาไม่ใช่เกิดโดยที่ไม่มีข้อเตือนใจ

กรณี ของเม็กซิโกลดค่าเงินจาก การที่ขาดดุลการค้าดุลบัญชีเงินสะพัดจนกระทั่งเงินสำรองระหว่างประเทศมีไม่เพียงพอ ช่วงเวลานั้นนักวิเคราะห์จำนวนมากชี้นิ้วมาที่ประเทศไทยว่าจะเป็นรายต่อไป

แต่ในขณะนั้นเรามีความมั่นใจตัวเราเองมากและก็น่าเสียดายที่เราไม่ได้ทำอะไรเลยซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ เราก็เกิดดุลบัญชีเดินสะพัดหนักขึ้นกว่าในปี 2537 ชะอีก

ในมุมมองของกิตติรัตน์ที่อยากจะฝากไว้ก็คือว่า ในเมื่อวิกฤต เศรษฐกิจได้เกิดขึ้นแล้วบทเรียนต่างๆ หรือข้อสังเกตรายละเอียดต่างๆ น่าจะเก็บไว้เป็นข้อเตือนใจผู้ประกอบการทางธุรกิจทุกคนไม่ใช่

แต่เพียง SMEs แต่ในขณะเดียว กัน็มีผู้ประกอบธุรกิจอีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากวิกฤตเศรษฐกิจไปด้วยเหมือนกันเช่น ผู้ประกอบการส่งออกเมื่อการลอย ตัวค่าเงิน 1 เหรียญกลายเป็น 40 หรือ 50

บาทนักธุรกิจกลุ่มนั้นก็ได้ ประโยชน์เหมือนกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us