|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2534
|
|
ธุรกิจการเงินประเภทแบงก์พาณิชย์ นับวันจขะมีลักษณะความเป็นสากลมากขึ้น ตลาดการเงินที่อยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก จะถูกเชื่อมโยง ด้วยเครือข่ายเดียวกัน เพื่อสร้างความได้เปรียบในการช่วงชิงคุณภาพ ในการให้บริการแก่ธุรกิจการค้า และการลงทุนที่นับวัน จะแพร่ขยายไปทั่วโลก
ความเป็นจริงในแนวโน้มเช่นนี้ เห็นได้จาการเคลื่อนไหว ของสมาชิกบางประเทศ ของแกตต์ ที่พยายามวางกรอบธุรกิจ การเงิน ของประเทศต่าง ๆ ให้เปิดประตู เสรีทางการเงินซึ่งกันและกัน
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งสัญญาน ต่อตลาดการเงินโดยมาตรการประกาศรับพันธมาตรา 8 ของไอเอ็มเอฟ เมือเดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว และการผ่อนคลายมาตรการการควบคุม การปริวรรตเงินตรา ที่เกิดขึ้นจากการค้าระหว่างประเทศ และการเคลื่อน ย้ายทุน เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ถึงความพยายามของแบงก์ชาติ ที่ค่อย ๆ เปิดเสรี ขึ้นสำหรับการเงินในตลาด
เป้าหมาย ของการค่อย ๆ เปิดเสรีการตลาดการเงินในประเทศ จุดสูงสุดอยู่ที่การพยายามแปลงตลาดการเงินไทยจากค่อนข้างปิด ตัวเองในสมัยก่อน ไปสู่การเปิดศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคนี้
การเปลี่ยนแปลงของตลาดเงินเช่นนี้ ทำให้แบงก์ ต่าง ๆ หันมาดูตัวเอง มากขึ้นว่า จะเตรียมตัวเองเ พื่อรับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร
แบงก์ทหารไทย ก็เช่นกัน ที่ผ่านมา 30 ปี อาศัยตลาดในประเทศเป็นช่องทางทำมาหากินเป็นหลัก ในช่วงแรก ๆ สมัยสุขุม นวพันธ์ เป็นกรรมการผู้จัดการ หากินอยู่กับตลาดกองทัพ ตลอดทั้งในรูปแบบเงินฝาก สินเชื่อ และธุรกิจเทรดไฟแแนซ์ ด้านการจัดซื้ออาวุธ มาในยุคหลัง ๆ แม้จะขยายออกไปยังธุรกิจ หลายประเภท หลายกลุ่ม ลูกค้า แต่ก็ยังมีบทบาท ในฐานะเป็นแบงก์ที่มีทิศทางการทำธุรกิจอยู่ในประเทศ
" แบงก์ทหารไทย เพิ่งเริ่มก้าวออกไปต่างประเทศ ที่อ่องกง เมื่อปี 2530 นี้เอง โดยตั้งบริษัททีเอ็มบี ไฟแนนซ์ ทำ depotsit taking" ศุภชัย กล่าวถึงเครือข่ายแบงก์ที่ฮ่องกง
แบงก์ทหารไทย ใช้ที่เอ็มบี ไฟแนนซ์ เป็นกลไกในการหารเงินจากตลาดการเงินที่ฮ่องกง เข้ามาในสำนักงานใหญ่ ใช้โดยวิธีการออก ตราสารการเงินเช่น เอฟ อาร์เอ็น และ ซีดี มองในแง่นี้เท่ากับเป็นการขยายตลาดเงินฝาก ออกสุ่ตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ที่เอ็มบี ไฟแนนซ์ ก็ยังทำหน้าที่ในการค้าเงินตราต่างประเทศด้วย
" เราจะใช้ฮ่องกง เป็นฐานทำดีทีซี ที่ว่า ส่วนสาขาจริง ๆ เราจะเข้าไปที่จีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่มาก มีโอกาสเลือกโครงการได้มากกว่าที่ฮ่องกง ที่ทำได้ เฉพาะเทรดไฟแนนซ์ เท่านั้น" ศุภชัย พูดถึงแผนการเข้าจีน
การเข้าจีน ต้องร่วมลงทุนกับธนาคารจีนที่นั่น แล้วใช้เป็นตัวผ่านในการโยงฐานการค้าและลงทุนของลูกค้าที่มีตลาดในจีน ขณะเดียวกัน การเข้าไป ในตลาดเงิน ( money market) ที่จีนด้วย
เป็นไปได้มาก ที่ศุภชัย กำลังจะคิดเชื่อมโยงตลาดฮ่องกง จีน ไทย ทั้ง 3 ตลาด เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
และยุทธศาสตร์นี้คือ Market Niche ด้านการต่างประเทศของแบงก์ทหารไทยที่ศุภชัยตั้งใจจะทำให้สำเร็จ
|
|
|
|
|