|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เนสท์เล่ ไอศกรีมอัดงบ 700 ล้านบาท ดันส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็น 42% หวังสิ้นปีขึ้นแท่นผู้นำคู่วอลล์ กร้าวสิ้นปีหน้าขอโค่นแชมป์เจ้าตลาดร่วง วางกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ 3 รายการหลักหมากสำคัญที่จะเอาชนะคู่แข่ง พร้อมควงแขนแฟมิลี่มาร์ทเร่งทำตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ซันเดย์ คาดสร้างรายได้ 10% แซงกลุ่มเทคโฮม พร้อมยันยังไม่ปรับราคาหรือหดไซส์
นายฟิลิป เออเบอรี่ ผู้จัดการทั่วไป เนสท์เล่ ไอศกรีม และผลิตภัณฑ์แช่เย็น บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า กลยุทธ์การตลาดในปีนี้จะต่อเนื่องจากกลยุทธ์ "ปฏิบัติการสีฟ้า" ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2546 โดยจะใช้แนวคิด "ปฏิบัติการกล้า ขับเคลื่อนจักรวาลสีฟ้า" ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นส่วนแบ่งตลาดของเนสท์เล่ให้เพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 42% ภายในสิ้นปี 2548
เนสท์เล่วางงบการตลาดปีนี้ไว้ 700 ล้านบาท ประกอบด้วย เพิ่มจำนวนรถสามล้อ และปรับปรุงโรงงานรองรับการขยายตัวของยอดขาย โดยงบหลักส่วนใหญ่จะเน้นหนักให้กับการทำตลาด เนื่องจากปีที่ผ่านมาบริษัทใช้งบประมาณรวม 800 ล้านบาท เน้นหนักเรื่องการขยายโรงงานผลิตไอศกรีม และการปูทางให้กับการรุกทำตลาดอย่างหนักในปีนี้
เป้าหมายหลักของปีนี้ เนสท์เล่วางเป้าที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้ใกล้เคียงกับวอลล์ ผู้นำตลาดอันดับ 1 ซึ่งปัจจุบันเนสท์เล่มีส่วนแบ่งตามหลังวอลล์เพียง 3-4% เท่านั้น จึงมั่นใจว่าภายในสิ้นปีนี้เนสท์เล่จะสามารถก้าวขึ้นมามีส่วนแบ่งตลาดเท่ากับวอลล์ และครองตำแหน่งผู้นำคู่กัน ขณะที่ภายในสิ้นปี 2549 ตั้งเป้าที่จะก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 เพียงแบรนด์เดียวด้วยส่วนแบ่งตลาด 45-46%
ภาพรวมตลาดไอศกรีมเมืองไทยในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้มีมูลค่า 5,800 ล้านบาท หรือเติบโต 7-10% คาดว่าจะเพิ่มเป็น 6,000 ล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ โดยเนสท์เล่ถือเป็นผู้เล่นที่ช่วยกระตุ้นตลาดรวมให้เติบโตมากขึ้น ซึ่งนับจากปีแรกที่เนสท์เล่ใช้แคมเปญ "ปฏิบัติการสีฟ้า" ในปี 2546 ขณะนั้นตลาดไอศกรีมรวมมีมูลค่า 4,900 ล้านบาท สามารถเพิ่มมาเป็น 6,000 ล้านบาทได้ภายในปี 2548 และเชื่อมั่นว่าช่วยให้จำนวนผู้บริโภคไอศกรีมของคนไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย แม้ว่าอัตราบริโภคไอศกรีมของคนไทยจะยังน้อยอยู่เฉลี่ยเพียง 1.5 ลิตรต่อคนต่อปี
ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไอศกรีมตลาดที่ใหญ่ที่สุด คือ ตลาดโรงเรียน, รถไอศกรีมสามล้อ และร้านโชวห่วยมากกว่า 50% ส่วนโมเดิร์นเทรดมีสัดส่วนเพียง 8-10% ซึ่งช่องทางนี้เนสท์เล่ห่างจากผู้นำตลาดมาก โดยช่องทางที่สร้างยอดขายให้เนสท์เล่มากที่สุด คือ รถไอศกรีมสามล้อ มีสัดส่วน 35% โรงเรียน 25% ร้านโชวห่วย 20% โมเดิร์นเทรด 10% ร้านสะดวกซื้อ และร้านค้าในสถานีน้ำมัน 5% และร้านอาหาร 5% โดยปัจจุบันเนสท์เล่เป็นผู้นำตลาดไอศกรีมในสถานีน้ำมัน โดยมีส่วนแบ่งตลาด 80% และช่องทางในสวนสนุก มีสัดส่วนมากกว่า 95%
สำหรับอัตราการเติบโตของเนสท์เล่ตั้งเป้าไว้ 30% โดยไตรมาสแรกสามารถเติบโตได้ 30% ตามเป้าหมาย ซึ่งปีนี้เนสท์เล่วางกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์หลักไว้ 3 รายการ คือ 1. ไอศกรีมเอ็กซ์ตรีม โกลด์ ที่จับกลุ่มวัยรุ่นขึ้นไป เพราะเป็นนวัตกรรมใหม่ของโคนไอศกรีมที่ทำด้วยช็อกโกแลต แตกต่างจากไอศกรีมอื่นที่ทำจากขนมปังเวเฟอร์
2. ไอศกรีมสตาร์วอร์ จับกลุ่มเด็ก เพราะจำลองหน้าของดาร์ท เวเดอร์ ตัวเอกในภาพยนตร์เรื่อง สตาร์วอร์ ที่จะเข้าฉายในไทยประมาณเดือนพ.ค.นี้ และ 3. ไอศกรีม ซันเดย์ หรือไอศกรีมซอฟท์เสิร์ฟเนสท์เล่แบบกด ซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ช่วยผลักดันยอดขายทั้งปีให้เป็นไปตามเป้าหมาย มีขายในแฟมิลี่มาร์ทที่มีเครือข่ายกว่า 500 สาขาทั่วประเทศ และยังมีช่องทางที่เป็นเอ็กซ์คลูซีฟในปั้มน้ำมันอื่นๆ อีก อาทิ สตาร์มาร์ท ร้านซีเล็กซ์ เลมอนกรีน เป็นต้น ซึ่งเป็นพันธมิตรเดิมที่เนสท์เล่ทำเอ็กซ์คลูซีฟกลุ่มไอศกรีมตู้แช่ด้วย
"หลังจากที่ทดลองทำตลาดให้กับไอศกรีม ซันเดย์ที่จำหน่ายเฉพาะช่องทางร้านสะดวกซื้อต่างๆ นั้น ได้รับผลตอบรับที่ดี และปีนี้บริษัทมีช่องทางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อแบบเครือข่ายที่ลงตัวแล้ว คือ แฟมิลี่มาร์ท จึงคาดว่าไอศกรีม ซันเดย์จะสามารถสร้างสัดส่วนรายได้ให้กับเนสท์เล่สูงถึง 10% แซงกลุ่มไอศกรีมเทคโฮมหรือซื้อกลับบ้านสร้างรายได้เพียง 5% เท่านั้น และเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เนสท์เล่ไม่เน้นทำตลาดกลุ่มเทคโฮมเพิ่มขึ้น"
นายฟิลิปกล่าวเพิ่มว่า บริษัทยังไม่ได้ปรับผลกระทบจากปัญหาเรื่องภาวะน้ำมันดีเซลปรับตัว หรือต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น จึงยังไม่มีนโยบายปรับราคาสินค้า หรือลดขนาดของสินค้าให้เล็กลงเพื่อคงราคาเดิม
|
|
 |
|
|