Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2531
แสง อุดมจารุมณี เรียกเขาว่า "MR. RUBBER THAILAND"             
 


   
search resources

แสง อุดมจารุณี
Chemicals and Plastics
เต็กบีห้าง




ไม่มีใครในวงการยางพาราไม่รู้จัก แสง อุดมจารุมณี

ไม่ว่าใครผู้นั้นจะอยู่ในแวดวงตลาดยางภายในประเทศหรือกว้างออกไประดับโลก

แสง อุดมจารุมณี หรือในชื่อเดิม LEE SAENG HO เกิดที่อะลอสตาร์ (ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) เมื่อราว ๆ 50 ปีที่แล้ว แสงเป็นลูกชายคนเดียวของพ่อค้าชาวจีนฮกเกี้ยนซึ่งอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งปลายแหลมมลายูเมื่อกว่า 80 ปีที่แล้ว พ่อของเขาเปิดร้านขายสินค้าโชวห่วยเล็ก ๆ ขึ้น แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักส่วนแม่ของเขาเป็นคนฮกเกี้ยนที่เกิดในมาลายา

เมื่ออายุ 10 ขวบ พ่อเสียชีวิตลงด้วยโรคไส้ติ่งอักเสบอย่างรุนแรง ตอนนั้นพ่ออายุเพิ่งจะ 40 "แม่ผมเพิ่งจะตั้งท้องลูกสาวคนที่ห้า เงินทองเราก็มีอยู่นิดเดียวเราจำเป็นต้องย้ายที่อยู่ และเปิดร้านขายข้าวสารเล็ก ๆ แห่งหนึ่งขึ้น" แสงเล่า

แสงเรียนหนังสือในโรงเรียนจีนจนถึงชั้นมัธยมต้น และด้วยความช่วยเหลือของญาติผู้หนึ่งเขาได้รับโอกาสเข้าเรียนต่อในโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในอะลอสตาร์เมื่ออายุได้ 15 ปีจนอายุครบ 19

ต้นปี 2499 ขณะที่กำลังรอผลสอบ (ในที่สุดเขาได้รับ CAMBRIDGE SCHOOL CERTIFICATE) แสงได้งานเป็นครูในโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ปะลิสในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกันนั้นเอง ลูกพี่ลูกน้องคนหนึ่งของเขาซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของ "เต็กบีห้าง" ที่หาดใหญ่ก็ได้เรียกตัวเขาไปทำงานด้วย

ตั้งแต่นั้นมา แสงก็ไม่เคยเคลื่อนย้ายไปจากหาดใหญ่เลยและเขานี่แหละที่เป็นหนึ่งในจำนวนไม่ กี่คนที่ทำให้หาดใหญ่กลายเป็นศูนย์กลางการค้ายางของประเทศไทย

แสงเริ่มชีวิตการทำงานกับ "เต็กบีห้าง" ด้วยการเป็นพนักงานพิมพ์ดีดโต้ตอบจดหมายภาษาอังกฤษ แล้วค่อย ๆ เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเรื่อย ๆ บนเส้นแห่งการไปสู่ความเป็น "มิสเตอร์ รับเบอร์ไทยแลนด์"

ภาษาไทยของแสงไม่ค่อยจะดีนัก เขาพูดจีนและอังกฤษคล่องกว่ามาก

ก็คงจะไม่ผิดหรอก ถ้าจะบอกว่าภาษาต่างประเทศเป็นเสมือนทรัพย์สินประจำตัวที่มีค่ายิ่งยวดสำหรับเขา

ปี 2503 แสงเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นแคชเชียร์ประจำสำนักงานใหญ่ของ "เต็กบีห้าง" ที่หาดใหญ่ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของผู้จัดการฝ่ายการตลาดควบคู่ไปด้วย ผู้จัดการฝ่ายการตลาดคนนี้เป็นคนสูงอายุและไม่สันทัดในการใช้ภาษาอังกฤษ "ผมก็เลยทำงานเองทุกอย่างตั้งแต่เรื่องชิปปิ้งไปจนถึงเรื่องการเงิน" เขาย้อนความทรงจำและย้ำว่า "ผมเริ่มสร้างคอนเน็คชั่นทั่วโลกของผมจากตรงนี้นี่แหละ"

ปี 2505 แสงแต่งงานกับลูกสาวคนจีนกวางตุ้งเกิดในกรุงเทพฯ ชื่อ สุธีสรรพ์ ทั้งคู่มีลูกชาย 2 หญิง 1 ลูกชายคนโตจบวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเรียนคอมพิวเตอร์ต่ออีกระยะหนึ่งที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันลูกชายคนนี้ช่วยงานเขาทางด้านฝ่ายการตลาดและตั้งเป้าว่าปีหน้าจะส่งไปเรียนต่อปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา ลูกชายคนที่สองเป็นนักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่วนลูกสาวเรียนภาษาจีนและภาษาอังกฤษที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

ในปี 2507 "เต็กบีห้าง" มีการจัดองค์การปรับโครงสร้างใหม่ตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ที่ สิงคโปร์ จากนั้นในปีต่อมาแสงก็ถูกส่งตัวไปเข้ารับการฝึกอบรมที่สิงคโปร์เป็นเวลาหนึ่งเดือน ตำแหน่งหน้าที่ของเขายังคงเหมือนเดิมคือผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาดและควบตำแหน่งแคชเชียร์ อย่างไรก็ตามขอบเขตอำนาจความรับผิดชอบของเขากลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ล่วงเข้าปี 2515 "เต็กบีห้าง" ซึ่งเคยผลิตแต่เฉพาะยางดิบแผ่นได้ตัดสินใจผลิตยางแท่ง "ผมถูกมอบหมายให้รับผิดชอบในเรื่องนี้ร่วมกับเพื่อนร่วมงานอีกคนหนึ่ง ผมมีหน้าที่ในเรื่องการตลาดและเรื่องเทคนิค ผมต้องเดินทางไปทั่วโลกเพื่อศึกษาตลาดและมองหาลู่ทางตลอดจนตัวลูกค้า เราประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น" แสงสาธยายให้ฟัง

หลังปี 2516 "เต็กบีห้าง" มีโรงงานยางอยู่ภาคใต้รวม 7 แห่ง และอีกแห่งหนึ่งที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก กำลังการผลิตช่วงนั้นขึ้นไปถึง 16,000 ตันต่อเดือน ระหว่างปี 2516 ถึงปี 2524 "เต็กบีห้าง" ทำรายได้อย่างงามจากการผลิตยางแท่งในขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งการผลิตยางแผ่น

"ช่วงปี 2520 ผมเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด" ซึ่งนอกจากต้องทำงานตามหน้าที่แล้วก็ยังต้องถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับผู้ช่วยของเขา โดยที่ผู้ช่วยบางคนก็คือญาติสนิทของ ลี อิน ตง ประธาน "เต็กบีห้าง"

มันเป็นช่วงเวลาไม่นานนักก่อนที่ปัญหาทั้งหลายแหล่จะก่อตัวขึ้น

ว่าไปแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากความแตกแยกและการชิงดีชิงเด่นกันของพนักงานกับอีกส่วนหนึ่งเกิดจากความทะเยอทะยานส่วนตัวของเขา

"ระหว่างปี 2524 ผมรู้สึกว่าผมกำลังจะถูกดอง ดังนั้นผมจึงเริ่มคิดที่จะตั้งบริษัทใหม่ แต่ตอนนั้นผมเองยังมีเงินแค่ 2 ล้าน" แสงเล่า

"ตอนนั้นเจ้าของโรงงานยางหลาย ๆ แห่งไม่มีช่องทางปล่อยสินค้าเข้าตลาด วันหนึ่งผมได้เสนอความคิดกับบางคนและได้รับการสนองตอบอย่างกระตือรือร้น ผมเรียกประชุมผู้คิดริเริ่มที่จะเป็นหุ้นส่วนกันได้ 7 คน แต่ละคนลงเงิน 1 ล้านบาท เราได้เจ้าของโรงงานยาง 5 คนอีกคนคือผม แต่เราต้องการใครสักคนที่มีโกดัง เราหามาได้ในที่สุด เป็นเพื่อนผมที่อยู่สงขลาและเราต้องการคอนเน็คชั่นที่สิงคโปร์ ซึ่งผมมีอยู่แล้ว" แสงอธิบายจุดเบี่ยงเบนจาก "เต็กบีห้าง" ของเขาอย่างค่อนข้างละเอียด

การลาออกจากเต็กบีห้างพร้อม ๆ กับสร้างกิจการของตัวเองขึ้นมาแข่งนั้น ทำเอาเต็กบีห้างว้าวุ่นพอสมควร

และภายหลังก่อตั้งได้ 6 ปีบริษัทไทยสรรพ์รับเบอร์ ของแสงและหุ้นส่วนก็ได้กลายเป็นบริษัทค้ายางที่ใหญ่เป็นอันดับสองบี้ตามเต็กบีห้างอยู่ติด ๆ

เมื่อปีที่แล้ว ไทยสรรพ์ รับเบอร์ ซึ่งมีพนักงาน 400 คนส่งออกยางไปต่างประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาทในขณะที่เต็กบีห้างซึ่งอยู่ในวงการเก่าแก่ส่งออกคิดเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท

"สองปีแรกเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก โรงงานส่งยางให้เรา และเราเป็นคนทำการตลาดปี 2527 เราซื้อที่ดินและสร้างอาคารโรงงานขึ้น 1 โรง ปีต่อมาเราเพิ่มทุนจาก 12 ล้านบาทเป็น 24 ล้านบาท และ ปีที่แล้วเราขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีกแห่ง เป็นโรงงานขนาดเล็กที่ระยอง นอกจากนี้เรายังได้ร่วมทุนกับ EURONAT ตั้งบริษัทใหม่อีกบริษัทชื่อยูโร-ไทยสรรพ์มีทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท วางโครงการจะตั้งโรงงานที่อำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี โรงงานบ่มยาง กำลังจะเสร็จในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนที่เหลือจะเรียบร้อยในเดือนพฤศจิกาและเดือนธันวาเราพร้อมที่จะดำเนินการ

โรงงานที่ว่านี้เป็นโรงงานผลิตน้ำยางข้นได้เดือนละ 1,200 ตัน สัดส่วนการถือหุ้นเป็นของหุ้นส่วนฝรั่งเศส 47% ไทยสรรพ์ รับเบอร์ 49% อีก 4% ที่เหลือเป็นของแสงเอง

จริง ๆ แล้วแสงยังมีโรงงานอีกแห่งที่เริ่มดำเนินการในปีนี้ที่อำเภอเบตง เป็นโรงงานผลิตน้ำยางข้นเดือนละ 1,000 ตัน โรงงานแห่งนี้ดำเนินการภายใต้ชื่อบริษัททานาเมรา รับเบอร์มีทุนจดทะเบียน 7 ล้านบาทเป็นของไทยสรรพ์ 92% อีก 8% ถือโดยนักลงทุนในท้องถิ่น

ข้ามถนนไปอีกฟากหนึ่งตรงข้ามสำนักงานใหญ่ของเขาที่หาดใหญ่ เป็นโรงงานอีกแห่งหนึ่งที่กำลังก่อสร้าง โรงงานนี้จะเป็นโรงงานผลิตถุงมือ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดมาก

สำหรับโครงการอื่น ๆ ในอนาคตนั้น "เรากำลังจะขยายการผลิตยางแผ่นที่ระยองและอาจจะสร้างโรงงานเพิ่มอีกโรงที่เบตงซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผลิตผลสูง" แสงกล่าวตบท้ายสะท้อนความยิ่งใหญ่ในวันนี้และอนาคตข้างหน้าของเขา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us