Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2531
ยักษ์ใหญ่ตนนั้นชื่อ "โซลเวย์"             
 


   
search resources

Chemicals and Plastics
โซลเวย์ (SOLVAY)
เออร์เนส โซลเวย์
อัลเฟรด โซลเวย์




ทันทีที่โซลเวย์ประกาศตัวขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอในผลิตภัณฑ์พีวีซี คู่แข่งทั้งบิ๊กและไม่ บิ๊กอย่าง กลุ่มศรีเฟื่องฟุ้ง, กลุ่มศรีกรุงวัฒนา, กลุ่มอุตสาหกรรมสับประรดกระป๋องของพิพัฒน์ ตันติพิพัฒน์พงศ์, กลุ่มศรีเทพไทย ต่างพากันตื่นตระหนกตกใจ บรรยากาศโดยรอบผนึกตัวเข้ามาอย่างเยือกเย็น !

และฉับพลันที่โซลเวย์ได้รับการส่งเสริมจากมติของบอร์ดเล็ก ความรู้สึกของคู่แข่งระคนกันด้านหนึ่งต้องหนักใจที่ต้องเร่งล็อบบี้ให้เต็มที่ยิ่งขึ้น อีกด้านหนึ่งใจฝ่อเพราะเห็นลางแพ้มากขึ้น แล้วก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ มติบอร์ดใหญ่ยังคงให้โซลเวย์ได้พีวีซีไปครอง

ความยิ่งใหญ่ของโซลเวย์ย่อมทำให้ทุก ๆ คนอยากรู้ว่ายักษ์ใหญ่ตนนี้คือใคร !?!

โซลเวย์มีตำนานการเกิดที่ยาวนานถึง 125 ปี ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ปี 2406 (ค.ศ. 1963) ในบรรยากาศการขยายตัวทางวิทยาศาสตร์หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญคือ เออร์เนส โซลเวย์ เป็นผู้ก่อตั้งร่วมกับ อัลเฟรด โซลเวย์ และครอบครัวของเพื่อน ๆ เขาเป็นปู่ของ JACQUES SOLVAY ประธานบริษัทในปัจจุบัน

บริษัทโซลเวย์เริ่มดำเนินการผลิตด้านเคมีภัณฑ์จากโซดาแอซ โซดาไฟ และคอลรีน เป็นต้นจากนั้นขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น สาขาพลาสติก ได้แก่ พีวีซี พีพี พีอี สาขาสินค้าพลาสติกสำเร็จรูป สาขา PEROXYGEN ผลิตไฮโดรเจนเพโรไซด์ เพอร์ซอลท์ และออแกนนิคเพโรไซด์ และสาขาด้านผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีนสำหรับคนและสัตว์

ทุกวันนี้โซลเวย์จัดได้ว่าเป็นยักษ์ใหญ่ในหลาย ๆ ระดับที่นี่เป็นบริษัทยักษ์ลำดับที่ 2 ของเบลเยี่ยม เป็นบริษัทด้านเคมีภัณฑ์ลำดับที่ 10 ของยุโรปและลำดับที่ 25 ของโลก

มีบริษัทในเครือถึง 30 แห่งกระจายไปทั้ง 32 ประเทศมีการจ้างงานถึง 45,000 คนในจำนวนนี้เป็นแผนกวิจัยถึง 3,000 คน

นับแต่ปี 1985 โซลเวย์เริ่มเจาะเข้ามาในตลาดแถบเอเชียแต่ทำไมถึงเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตพีวีซี วิลลี่ ลาลองค์ (WILLY LALANDE) ตัวแทนของบริษัทในไทยกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า

"ที่มาลงทุนในเมืองไทยก็เพราะว่านโยบายของโซลเวย์ต้องการลงทุนในประเทศที่มีเสถียรภาพ หลังสงครามโลกครั้งที่สองเราไปลงทุนในสหรัฐอเมริกาและบราซิล สำหรับเมืองไทยในช่วงห้าปีที่ผ่านมามีเสถียรภาพที่ดีมากในทุก ๆ ด้านทั้งเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีบุคลากรที่ดี มีตลาดที่ขยายตัวในอัตราที่สูง มีความต้องการพีวีซีสูงมากในอนาคต"

เขายังชี้อีกว่าเมืองไทยมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นมากโดยดูจากห้างสรรพสินค้าจำนวนมากมาย สินค้าตัวใหม่ ๆ และแฟชั่นที่ทันสมัย "ผมถือว่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์เป็นเครื่องชี้ความเจริญทางเศรษฐกิจและระดับการครองชีพของสังคมได้ดี ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ในเมืองไทยมีสภาพที่ดีกว่าในที่อื่นมากนัก"

โซลเวย์ไม่เพียงแต่ลงทุนในพีวีซี แต่ยังรวมถึงวีซีเอ็มและคลอรีนซึ่งเป็นการผลิตที่ครบวงจร ซึ่งสิ่งนี้เป็นเหตุผลที่บีโอไออนุญาตการส่งเสริมให้กับโซลเวย์ ส่วนโซลเวย์เองก็ยังเห็นว่าก็ยืนยันประเด็นนี้ว่า

"ที่เราได้ก็เพราะ หนึ่ง-เราเป็นบริษัทระดับยักษ์ที่มีความสำคัญมากในโครงการระดับใหญ่

สอง- เราเป็นบริษัททำพีวีซีที่ใหญ่มากและมีเทคโนโลยีเป็นของเราเอง

สาม - เรามีความรู้เกี่ยวกับตลาดโลกดีมาก และเราก็เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการทำพีวีซี (คือวีซีเอ็ม) ทำให้เราสามารถรับมือ ปรับตัว หรือแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านดีมานด์หรือซัพพลายได้อย่างไม่ลำบากนัก

สี่ - เรามีการศึกษาเกี่ยวกับตลาดพีวีซีอย่างละเอียด เรามีตัวเลขความต้องการพีวีซีในเมืองไทยยี่สิบปีที่ผ่านมาและอีกยี่สิบปีในอนาคต รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตรายอื่น และผู้ใช้ผลิตภัณฑ์พีวีซีเป็นวัตถุดิบสิ่งเหล่านี้แสดงถึงความยิ่งใหญ่และความพร้อมของโซลเวย์เป็นอย่างดี" วิลลี่ ลาลองด์ กล่าวอ้างกับ "ผู้จัดการ"

แน่นอนสิ่งที่พอจะทราบกันอยู่ความยิ่งใหญ่ของบริษัทเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง แต่ปัจจัยสำคัญที่ชี้ขาดก็คือ การล็อบบี้และสายสัมพันธ์ เรื่องนี้มิสเตอร์ลาลองด์กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า

"เราไม่มี CONNECTION พิเศษอะไรที่ทำให้ได้โครงการนี้ เพราะว่าเรื่องการวิ่งเต้นหรือเงินใต้โต๊ะไม่ใช่ MENTALITY ของเรา และเราไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับเมืองไทยมาก่อน เพราะเราเพิ่งเข้ามา ถ้าเรามาอยู่ที่นี่เมื่อห้าปีที่แล้วก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะใช้ CONNECTION พิเศษ เพราะเราพอจะรู้ว่าใครเป็นใคร จะไปติดต่อกับใครได้

CONNECTION อย่างเดียวที่เรามีอยู่ก็คือ ความช่วยเหลือจากสถานทูตเบลเยียมเป็นอย่างมาก เป็น CONNECTION เดียวและเป็น CONNECTION ที่ดีที่สุดที่เรามีในเมืองไทย"

อย่างไรก็ตามถึงทุกวันนี้แม้โซลเวย์จะได้พีวีซีไปครองแต่ยังคงมีเรื่องยุ่ง ๆ หลายเรื่องโดยเฉพาะการหา PARTNER

แต่เดิม PARTNER ที่ร่วมกันเสนอขอรับการส่งเสริมคือ TPI , เลียกเซ้งเทรดดิ้งและธนาคารทหารไทย แต่ทว่าจนบัดนี้อะไรหลายอย่างเปลี่ยนไป โซลเวย์กำลังหา PARTNER รายใหม่

"การดำเนินงานตามโครงการพีวีซีที่ได้จากบีโอไอนี้ เรามีทีมงานพิเศษมาจากบริษัทแม่เพิ่งจะกลับไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานี้ (11 ก.ค.) ทีมงานนี้จะทำการเจรจาหา PARTNER ทางฝ่ายไทยตอนนี้ยังอยู่ในขั้นเจรจายังบอกไม่ได้ว่าจะเป็นใครเพราะยังไม่มีการตกลงกันแน่นอนเราต้องการบริษัทที่เป็น STRONG INDUSTRIAL PARTNER" มิสเตอร์ลาลองด์กล่าว

เมื่อมีบางคนยกตัวอย่างบริษัทที่ STRONG อย่างกลุ่มปูนใหญ่ กลุ่มสหยูเนี่ยน มิสเตอร์ลาลองด์ก็พยักหน้ารับว่าอยู่ในข่าย

"ผู้จัดการ" จบการเยี่ยมชมโซลเวย์ลงตรงที่มิสเตอร์ลาลองด์พาชมแผนผังแสดงผลิตภัณฑ์และความก้าวหน้าของโซลเวย์ และภาพประดับห้องบริเวณห้องรับแขก เป็นภาพที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชปฏิสันถารกับกษัตริย์โบดวงแห่งเบลเยียมและพระราชินี

มิสเตอร์ลาลองด์กล่าวว่าสิ่งนี้เป็นเครื่องแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับเบลเยียม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us