Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
เคเบิลแอนด์ไวร์เลส เราเรียกตัวเองว่า "ISP ระดับภูมิภาค"             
 

   
related stories

อัครพงศ์ ผ่องสุวรรณ

   
search resources

เคเบิล แอนด์ ไวร์เลส เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย)
อัครพงศ์ ผ่องสุวรรณ
ISP (Internet Service Provider)




กระแสของอินเทอร์เน็ต ที่ต้องมองการลงทุนในเครือข่ายระดับภูมิภาค ทำให้เคเบิลแอนด์ไวร์เลสหวนกลับมา ที่เมืองไทยอีกครั้ง

ถึงแม้การเติบโตของอินเทอร์เน็ต ในแถบเอเชียแปซิฟิกยังไม่เท่ากับฝั่งสหรัฐอเมริกา ทั้งในแง่จำนวนผู้ใช้งาน และธุรกิจ เนื่องจากจำนวนผู้ใช้ยัง จำกัด ในทางตรงกันข้าม การเป็นตลาดที่เพิ่งเริ่มต้น ย่อมหมายถึงโอกาสของการเติบโต และช่องว่าง ที่จะแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ และนี่คือ เหตุผลของการตั้งต้นธุรกิจอินเทอร์เน็ตของเคเบิลแอนด์ไวร์เลสในภูมิภาคนี้

ความมุ่งหวังของเคเบิลแอนด์ไวร์เลส ไม่ได้อยู่ ที่ตลาดของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ต้องเป็นการสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระดับภูมิภาคเอเชีย และเมืองไทยจึงไม่ใช่ประเทศเดียว แต่เป็นหนึ่งใน 12 ประเทศเป้าหมาย ที่เคเบิลแอนด์ไวร์เลสจะทยอยลงทุนให้เสร็จภายสิ้นปี

ถ้าสิงคโปร์มีแปซิฟิกอินเทอร์เน็ต มีสิงคโปร์เทเลคอม ฮ่องกงจะมีเคเบิลแอนด์ไวร์เลส เป็นอีกหนึ่งในผู้เล่นระดับ ภูมิภาค เป้าหมายของพวกเขา คือ การครอบคลุมบริการทั้งในแง่ของพื้นที่ ภูมิประเทศ และการตลาดเครือข่ายธุรกิจ

เคเบิลแอนด์ไวร์เลส มีรากฐานธุรกิจมาจากเกาะอังกฤษ ทำธุรกิจโทรคมนาคมแบบครบวงจร ตั้งแต่วางเครือข่ายไฟเบอร์ออพติก โทรศัพท์พื้นฐาน ดาวเทียม และก็เหมือนกับบริษัทโทรคมนาคมในฝั่งยุโรปอื่นๆ ที่ขยายการลงทุนออกไปนอกบ้านไปลงทุนมีสาขากว่า 50 ประเทศทั่วโลก สาขา ที่ฮ่องกงจะเป็นฐานในการดูแลรับผิดชอบในภูมิภาคเอเชียทั้งหมด

และเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ เคเบิลแอนด์ไวร์เลสก็เพิ่งตกไปอยู่ในมือของ แปซิฟิกไซเบอร์เวิร์ค เจ้าของเว็บไซต์ tom.com ของริชาร์ด ลี ลูกชายคนเล็กของลีกาชิง เฉือนคู่แข่งอย่างสิงคโปร์ เทเลคอมไปแบบหวุดหวิด จนกลายเป็นประวัติศาสตร์ของธุรกิจดอทคอมไปแล้ว

ในไทยนั้น เคเบิลแอนด์ไวร์เลสเคยเข้ามาลงทุนธุรกิจสื่อสาร ผ่านดาวเทียม หรือวีแสท เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วง ที่เมืองไทยกำลังขยายธุรกิจสื่อสาร จนกระทั่งปีที่แล้ว เคเบิลแอนด์ไวร์เลสก็ตัดสินใจขายกิจการนี้ทิ้งให้กับกลุ่มจัสมิน ที่มีธุรกิจทางด้านนี้ซื้อไป

กระแสของอินเทอร์เน็ต ที่ต้องมองการลงทุนในลักษณะของเครือข่ายทำให้เคเบิลแอนด์ไวร์เลส หวนกลับมา ที่เมืองไทยอีกครั้ง

อัครพงศ์ ผ่องสุวรรณ ผู้จัดการภาคพื้น เคเบิล แอนด์ ไวร์เลส เซอร์วิส (ประเทศไทย) บอกว่า สิ่งที่ เคเบิลแอนด์ไวร์เลสต้องทำในการพัฒนาในตลาดระดับภูมิภาค ก็คือ การลงทุนพร้อมกันในทุกๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย ที่เคเบิลแอนด์ไวร์เลสจะเข้า ไปขอใบอนุญาตการเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี ในทั้ง 12 ประเทศ เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายธุรกิจ ลูกค้าไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหนก็ติดต่อเป็นเครือข่ายถึงกันได้

ยุทธศาสตร์เหล่านี้ ก็มาจากผลพวงของการเป็นโทรคมนาคม โครงข่ายไฟเบอร์ออพติกในเอเชียแปซิฟิกจำนวนมาก ที่เคเบิลแอนด์ไวร์เลสเป็นผู้วางระบบ จึงเป็นเรื่องง่าย ที่จะบริหารวงจรในแต่ละประเทศ เกตเวย์ใหญ่จะตั้งอยู่ในฮ่องกง ซึ่งจะมีคู่สายขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อมไป ที่อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา

เคเบิลแอนด์ไวร์เลส เรียกตัวเอง ว่าเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในระดับภูมิภาค และใช้เป็นจุดแข็งให้กับตัวเอง สร้างความเป็นต่อให้เหนือกว่าไอเอสพีท้องถิ่น โดยเฉพาะลูกค้า ที่เป็นธุรกิจระหว่างประเทศ ที่ถือเป็นลูกค้าหลักของไอเอสพีแห่งนี้

"ยกตัวอย่าง ถ้ามีผู้ให้บริการ wap เกตเวย์ ที่เขาไมได้ต้องการให้บริการ เฉพาะในไทย แต่ต้องการให้บริการในประเทศอื่น ในไต้หวัน หรือเกาหลี ถ้าเขาต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน นี่ก็คือ ประโยชน์ ที่เขาจะได้รับจากเคเบิลแอนด์ไวร์เลส" อัครพงศ์ กล่าว

การมาจากพื้นฐานด้านโทรคมนาคม การขยายเข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตของเคเบิลแอนด์ไวร์เลส มุ่งไป ที่การ เป็นผู้ให้บริการพื้นฐาน ที่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริการ และอาศัยความเป็นเครือข่ายภูมิภาค ที่มีประสบการณ์ในหลายประเทศ ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำในการบุกเบิกธุรกิจ และนี่คือ สิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นจุดแข็ง ที่คนอื่นไม่มี

บริการของไอเอสพีแห่งนี้ ที่มุ่งไปในเรื่องการตอบสนองความต้องการขององค์กร การติดต่อระหว่างสำนักงาน สาขา หรือ การทำอี-คอมเมิร์ซ นอกเหนือไปจากบริการต่ออินเทอร์เน็ตธรรมดาแล้ว จะเริ่มตั้งแต่การเชื่อมโยงเข้าอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการหมุนผ่านโทรศัพท์ปกติ หรือแบบความเร็วสูง ด้วยระบบ ISDN ระบบ ADSL รวมไปถึงบริการ web hosting การเป็นศูนย์สำรอง (carrier hotel) คือ ความสามารถ ที่จะเป็นผู้ให้บริการแก่ผู้ให้บริการอีกต่อหนึ่ง ลูกค้าเหล่านั้น อาจจะเป็นไอเอสพี call center ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ ศูนย์คอม พิวเตอร์ขององค์กรจะสามารถใช้บริการเหล่านี้

"สิ่งที่เราทำก็คือ การให้บริการครบวงจรอย่างที่เราทำในต่างประเทศ เราจับกับทั้งคอมแพค และไมโครซอฟท์ ที่จะทำอี-คอมเมิร์ซให้กับลูกค้าแบบครบวงจร ลูกค้าไม่ต้องมีอะไรมาเลย" อัครพงศ์ บอก

ถึงแม้จะวางตัวเองเป็นผู้ให้บริการระดับภูมิภาค และมีบริการครบวงจร แต่ไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างเองทั้งหมด สิ่งที่เคเบิลแอนด์ไวร์เลสทำก็ คือ การสร้าง core business ขึ้นมา ผู้บริหารของ ที่นี่ เชื่อในเรื่องการโฟกัสธุรกิจ วางตัวเองเป็นผู้สร้าง Infrastructure จากนั้น หาพาร์ตเนอร์ ที่ชำนาญ ในเรื่องต่างๆ มาเข้าร่วม ซึ่งความเป็นเครือข่ายภูมิภาคก็ทำให้พวกเขาทำได้เช่นนั้น

การโฟกัสกลุ่มลูกค้า และมุ่งเน้น การทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะนอกจากจะทำให้องค์กรแห่งนี้ใช้ทีมงานเพียงแค่ 30 คน แม้กระทั่งคู่แข่งย่อมกลายเป็นลูกค้าได้เช่นกัน

"เราวางตัวเองเป็น carrier เพราะแม้กระทั่งไอเอสพีด้วยกัน เราไม่ ได้มองเป็นคู่แข่ง แต่มองเป็นพาร์ตเนอร์ อย่างไอเอสพีรายย่อยๆ พวกนี้เขาจะมีต้นทุนสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ สร้างเครือข่ายบริการ และเช่าวงจรขนาดใหญ่ ซึ่งเขาอาจมาใช้บริการของเรามาวางระบบไว้ ที่เรา"

อัครพงศ์ยกตัวอย่าง การร่วมมือ กับไมโครซอฟท์ ที่สร้างอี-คอมเมิร์ซ โซลูชั่น หรือร่วมมือกับซิสโก้ หรือคอมแพค ที่มีเรื่องระบบเทรดดิ้ง ที่จะทำให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้น เช่น บริการ ASP แอพพลิเคชั่น เซอร์วิส โพรไวเดอร์

ลูกค้า ที่เคเบิลแอนด์ไวร์เลสจะไม่ทำก็คือ ลูกค้าบุคคล ประเภท home use ที่เป็น mass market แต่จะมุ่งไป ที่ลูกค้า ที่เป็นองค์กรธุรกิจเพียงอย่างเดียว ความเป็นเครือข่ายภูมิภาค ลูกค้า ช่วงแรกของเคเบิลแอนด์ไวร์เลส คือ บริษัทข้ามชาติ แต่ลูกค้าเป้าหมายในระยะยาวของไอเอสพีรายนี้ก็คือ บริษัทขนาดกลาง และขนาดย่อม (SME)

โมเดลธุรกิจอินเทอร์เน็ตในไทยของเคเบิลแอนด์ไวร์เลส ที่มุ่งสนองตอบ ลูกค้าองค์กร จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ดาต้าเซ็นเตอร์ ให้บริการตั้งแต่ web hosting การตั้งศูนย์สำรอง ใช้เงินลงทุน 100 ล้านบาท

ส่วนบริการ internet access บริการต่อเชื่อมเข้าอินเทอร์เน็ต ให้กับองค์กรขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่จะเป็นบริการเสริม ซึ่งบริการทั้งสองส่วน นี้จะเป็น "จิ๊กซอว์" ที่ต่อเชื่อมบริการระหว่างกัน

อย่างไรก็ตาม ดาต้าเซ็นเตอร์ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับเมืองไทย ส่วนใหญ่ จะรู้จักในแง่ของบริการ access สร้างระบบขึ้นมาเองภายใน สิ่งที่เคเบิลแอนด์ ไวร์เลสต้องทำมากกว่าการให้บริการปกติ ก็คือ การใช้ประโยชน์ความเป็นภูมิภาคจับคู่ผู้ที่ทำธุรกิจร่วมกัน เพื่อสร้างความต้องการขึ้นกับองค์กร

อัครพงศ์ยกตัวอย่าง กรณี ที่มีลูกค้าอยากทำไซเบอร์มอลล์ ที่เป็นบีทูบี ขึ้นในไทย แต่มีลูกค้าเป้าหมายอยู่ในฮ่องกง และไต้หวัน เคเบิลแอนด์ไวร์เลส จะใช้ประโยชน์จากเครือข่ายจับคู่กับผู้ที่ต้องการทำธุรกิจนี้ในฮ่องกง และไต้หวัน

โครงการไซเบอร์ยูนิเวอร์ซิตี้ ที่เคเบิลแอนด์ไวร์เลสให้บริการในเรื่องระบบมหาวิทยาลัยในฮ่องกง ทำให้นัก ศึกษาเรียนข้ามประเทศ ลงทะเบียน และเรียนหนังสืออาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นสื่อเคเบิลแอนด์ไวร์เลสจะเป็นตัวกลางจับคู่มหาวิทยาลัย ที่สนใจในโครงการนี้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสีสันของธุรกิจในระดับภูมิภาค

"1 ปีของเราน่าจะเท่ากับ 3 ปีที่คนอื่นเขาทำมา" และนั่นหมายถึง รายได้ 50 ล้านบาท ที่จะมาจากลูกค้า 200 รายในปีแรก ซึ่งเป็นตัวเลข ที่ ไอเอสพีต้องใช้เวลาถึง 3 ปี

ถึงแม้จะโฟกัสลูกค้า และธุรกิจ การวางบทบาทของตัวเองเป็น ผู้สร้าง Infrastructure แต่การเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นได้เสมอในธุรกิจอินเทอร์เน็ต การซื้อกิจการของ แปซิฟิก ไซเบอร์เวิร์ค ของริชาร์ด ลี ที่มีพื้นฐานธุรกิจด้าน content เป็นเจ้าของเว็บ tom.com และรายการเพลงในทีวีอย่างเอ็มทีวี

และนั่นหมายความว่ายุทธศาสตร์หน้าใหม่ของเคเบิลแอนด์ ไวร์เลส ก็จะเกิดขึ้น และเมื่อถึงเวลานั้น เคเบิลแอนด์ไวร์เลสก็อาจจะทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอในโลกของอินเทอร์เน็ต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us