|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
กทช.ล้มผลศึกษาค่าเชื่อมโครงข่าย นาทีละ 1.07 บาท ของกรมไปรษณีย์ฯเดิม เหตุล้าสมัยไม่ทันยุคดิจิตอล โดยเฉพาะมีประเด็นบริการอย่าง VoIP ที่เชื่อมต่อครั้งเดียวใช้ได้ไม่จำกัด ยันปีนี้ไม่ได้ใช้ และเป็นคนละเรื่องกับค่าแอ็คเซ็สชาร์จไม่ได้แทนที่อย่างเอกชนคิด
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องค่าเชื่อมโครงข่าย (อินเตอร์คอนเน็กชั่น ชาร์จ) ว่า อยู่ในระหว่างการร่างเงื่อนไข (ทีโออาร์) เพื่อคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศเข้ามาดำเนินการจัดทำเงื่อนไข รายละเอียดต่างๆ สำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั้งระบบ
ในส่วนของผลศึกษาที่เดิมกรมไปรษณีย์โทรเลขเคยทำไว้รวมทั้งมีการเปิดฟังความคิดเห็นจากเอกชน และได้จัดทำเป็นเอกสารมาให้กทช.นั้น อาจมีการใช้เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยกทช.เห็นว่ายังมีเวลาพอที่จะรอผลศึกษาจากที่ปรึกษาต่างประเทศเพื่อนำมาใช้งานจริง
สำหรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ก็มีอย่างธนาคารโลก ได้ส่งตัวแทนเข้ามาช่วยงานและอบรมบุคลากรให้ ซึ่งกทช.ก็ขอความร่วมมือให้ช่วยศึกษาเรื่องเร่งด่วนหลายเรื่อง โดยเฉพาะแผนจัดสรรเลขหมายหรือ Numbering Plan นอกจากนี้ในวันที่ 6-8 เม.ย.ที่จะถึงนี้ จะมีการประชุมย่อยของ APEC ที่โรงแรมเซ็นทรัล โซฟิเทล ในกรุงเทพฯ ซึ่งนายเหรียญชัย เรียววิไลสุข กรรมการกทช.จะเป็นตัวแทนในการร่วมประชุมในประเด็นมาตรฐานอุปกรณ์โทรคมนาคมของโลกและอาจจะมีการบรรยายในประเด็นความพร้อมของไทยในการเปิดการแข่งขันเสรีโทรคมนาคมซึ่งเรื่องค่าเชื่อมโครงข่ายจะเป็นประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญในการแข่งขันเสรี
แหล่งข่าวจากสำนักงานกทช.กล่าวว่าเป็นที่แน่นอนว่า ภายในปีนี้จะไม่สามารถประกาศใช้อัตราค่าเชื่อมโครงข่ายได้ และค่าเชื่อมโครงข่ายที่กรมไปรษณีย์ฯศึกษาไว้ในสมัยน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และนำเสนอกทช. ซึ่งได้ตัวเลข 2 อัตรา คือคิดค่าเชื่อมโยงจากต้นทาง (Originated rate) 3 บาท/นาที และอัตราคิดค่าเชื่อมโยงจากปลายทาง (Terminated rate) 1.07บาท/นาที แต่ในส่วนการคิดค่าเชื่อมโยงแบบผ่านข้ามโครงข่าย (Transit rate) ยังไม่มีการระบุข้อสรุปตัวเลข กทช.จะยกเลิกและหาอัตราที่เหมาะสมใหม่
เนื่องจากอัตราดังกล่าวเป็นการจัดทำภายใต้ข้อมูล 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อนำมาใช้จริง อาจไม่เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจหรือการให้บริการโทรคมนาคมที่มีการแข่งขันกันรุนแรงอย่างในปัจจุบัน รวมทั้งยังไม่ได้มีการนำบริการอย่าง VoIP หรือวอยซ์โอเว่อร์ไอพี ซึ่งเป็นการให้บริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเพียงครั้งเดียวแต่จะโทร.กี่ครั้งก็ได้ มาพิจารณาประกอบ เพราะในต่างประเทศที่มีการเปิดเสรีโทรคมนาคมอย่างแท้จริง ก็ยังมีข้อถกเถียงว่าค่าเชื่อมโครงข่ายสำหรับบริการ VoIP จะเก็บในรูปแบบไหน และเก็บเงินกับใครในอัตราเท่าไหร่
นอกจากนี้กทช.ยังเห็นว่าค่าเชื่อมโครงข่ายที่จะประกาศใช้จะมีผลเฉพาะบริษัทเอกชนที่มาขอไลเซนส์ใหม่กับกทช.เท่านั้น กรณีที่บริษัทคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐอย่างดีแทคหรือ ออเร้นจ์ ที่ปัจจุบันเสียค่าแอ็คเซ็สชาร์จเลขหมายละ 200 บาทต่อเดือนในระบบโพสต์เพดและเสีย 18%ในระบบพรีเพด ให้กับบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น คิดว่าเมื่อมีการประกาศใช้ค่าเชื่อมโครงข่ายแล้ว จะเป็นการแทนที่แอ็คเซ็สชาร์จโดยอัตโนมัตินั้นเป็นความเข้าใจผิด
เพราะแอ็คเซ็ส ชาร์จเป็นการจ่ายผลประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทาน ซึ่งกทช.ไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ตามพรบ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม มาตรา 335ที่จะทำให้ค่าเชื่อมโครงข่ายมีผลเฉพาะบริษัทที่ขอไลเซนส์และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกทช.เท่านั้น
“กทช.เข้าไปยุ่งกับเรื่องแอ็คเซ็สชาร์จไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของสัญญาสัมปทานที่เอกชนจะต้องได้ข้อยุติ ก่อนที่จะมาใช้ค่าเชื่อมโครงข่ายที่ประกาศใช้ใหม่"
|
|
 |
|
|