Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 เมษายน 2548
วิชิตโชว์วิชั่นนายแบงก์ดันSCBแซงกสิกรไทย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
วิชิต สุรพงษ์ชัย
Banking and Finance




"วิชิต สุรพงษ์ชัย" ประกาศพาไทยพาณิชย์เป็นผู้นำแบงก์เอกชน ใช้จุดแข็งเงินกองทุนฯ 15.4% ผลักดันสินเชื่อปี 48 โตกว่า 8% พร้อมดันราคาหุ้นเพื่อสะท้อนฐานะที่แท้จริง เผยปัจจุบันครองแชมป์ผลประกอบการ เงินปันผลและบัตรเครดิตสูงสุด ยอมรับการสื่อสารข้อมูลไม่ดีพอ จำเป็นต้องสร้างแบรนด์ตราใบโพธิ์และสัญญลักษณ์ SCB ให้ชาวบ้านและนักลงทุนต่างชาติรับรู้มากขึ้น กระฉูดไอเดียแบรนด์สีม่วงติดป้ายโฆษณาผลิตภัณฑ์บนสาขา 200 แห่งทั่วกทม. ลั่นปี48 เป็นการสลายขั้วองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียว ตั้งเป้าปี 2550 จะมีรายได้และพอร์ตลูกค้ารายย่อยเป็น 50%

ปีที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) กำหนดยุทธศาสตร์ในการเป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจร (Universal Banking) โดยชิงกำหนดยุทธศาสตร์ดังกล่าว ก่อนที่แผนแม่บททางการเงิน (Financial Masterplan) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะประกาศออกมา และปีที่ผ่านมา ตัวเลขผลประกอบการ เงินปันผลผู้ถือหุ้นและการขยายตัวของพอร์รายย่อย โดดเด่นที่สุด "ผู้จัดการรายวัน" จึงนำแนวคิดนายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร SCB ผู้บริหารคนสำคัญ มาถ่ายทอดอย่างมีนัยสำคัญ

"ตอนนี้ผมวางระบบไว้เรียบร้อย ทั้งความพร้อมด้านบุคลากรและเครื่องมือ ปีนี้พนักงานไทยพาณิชย์ 12,000 คน จะรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว (integrate) เพื่อเดินไปหน้าข้างหน้าอย่างมีเป้าหมาย ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า ไทยพาณิชย์จะเป็นผู้นำ" นายวิชิตกล่าว

ประธานกรรมการบริหาร SCB กล่าวว่า ธนาคารไทยพาณิชย์จะใช้ศักยภาพเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 15.4% (เป็นกองทุนชั้นที่ 1 จำนวน 11.4%) ถือว่าสูงที่สุดในระบบ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมั่นใจว่าเป็นจุดที่ได้เปรียบธนาคารคู่แข่ง ผลักดันให้สามารถขยายสินเชื่อโดยไม่ต้องกังวลถึงการเพิ่มทุน คาดว่าปีนี้สามารถปล่อยสินเชื่อมากกว่า 8% โดยสิ้นปี 2548 สินเชื่อไทยรวม 5.6 แสนล้านบาท เชื่อว่าภายใน 1-2 ปี ไทยพาณิชย์จะแซงธนาคารพาณิชย์เอกชนบางแห่ง หลังจากนั้นจะตั้งเป้าให้ไทยพาณิชย์เป็นเบอร์หนึ่งในทุกๆ ด้าน ยกเว้นขนาดของสินทรัพย์ ซึ่งตนมองว่าไม่มีความจำเป็น

ขณะที่ราคาหุ้น SCB นายวิชิตมองว่า ยังไม่สะท้อนราคาที่แท้จริงนัก ตอนนี้มาร์เก็ตแคปของเรามีมูลค่า 170,000 ล้านบาท ขณะที่กสิกรไทยอยู่ที่ 137,000 ล้านบาท ถือเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข

**โรดโชว์ข้อมูลปฏิวัติองค์กร

นายวิชิตกล่าวว่า ปี 2548 จะเป็นปีแห่งการรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวแล้ว ธนาคารจำเป็นต้องถ่ายทอดผลสำเร็จต่างๆ ออกสู่สาธารณะชน เนื่องจาก 1-2 ปี ที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ปี 2547 ธนาคารมีกำไร 1.8 หมื่นล้านบาท เงินปันผลต่อหุ้น 2 บาท อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) 23.47% และขยายบัตรเครดิตถึง 1,050,000 ใบ เหล่านี้ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งแต่ยังเป็นข้อมูลที่รู้กันในวงแคบ

ทั้งนี้ จากการทำสำรวจประชาชนที่ไม่ได้เป็นลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์พบว่า ภาพลักษณ์ของธนาคารยังเป็นรูปแบบในอดีต ขณะเดียวกันสิ่งที่สะท้อนจากนักลงทุนตางชาติก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนยังไม่ทราบว่าขณะนี้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กลับมาถือหุ้นใหญ่แทนที่กระทรวงการคลังแล้ว

ประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์เปิดเผยว่า ได้ร่นเวลาของลูกค้าที่เข้ามาทำธุรกรรมในสาขาในเวลาอันสั้น โดยปัจจุบันจากที่ลูกค้าใช้เวลา 34 นาที เหลือเพียง 15 นาที เป้าหมายต่อไปต้องใช้เวลาในการทำธุรกรรมในสาขาไม่เกิน 5 นาที ทั้งนี้ ต้องการสร้างการรับรู้ของลูกค้าในแนวใหม่ ซึ่งจะมีผลต่อความคิดของลูกค้าที่เปลี่ยนไปหรือแม้แต่การใช้สาขาของธนาคารเป็นจุดโฆษณาสินค้า (บิลบอร์ด) เพื่อให้ลูกค้าได้รับรู้ข้อมูลของธนาคารขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 200 สาขาในกรุงเทพ

"ส่วนของสาขาจำทำหน้าที่เครือข่ายการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่รับเงินฝากอีกต่อไป ขณะเดียวกันรูปลักษณ์หน้าตาต้องโดดเด่น ผมจึงเลือกใช้สีม่วงสดมาตกแต่ง ผมจะทำให้รูปใบโพธิ์สีม่วงกับโค๊ด SCB เป็นแบรนด์หรือสัญญลักษณ์ที่มีเพียงหนึ่งเดียว"

สำหรับ Core Banking จะเป็นเครื่องมืออีกส่วนที่สำคัญในการสนับสนุนการบริการและตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้า โดยปีที่ผ่านมาปริมาณการสอบถามผ่าน Core Banking มีถึง 13 ล้านรายการ หรือเฉลี่ยเดือนละ 1 ล้านกว่ารายการ

**เพิ่มสัดส่วนรายย่อยเป็น50/50

นายวิชิตเปิดเผยว่า ในปี 2548 ธนาคารจะมุ่งเน้นความสำคัญกับลูกค้ารายย่อย (RetailBanking ) เพราะเห็นว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่สามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นกลุ่มที่เติบโตตามทิศทางของเศรษฐกิจ เช่น การขายประกันผ่านแบงก์หรือธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งระยะที่ผ่านมาธนาคารมีรายได้จากกลุ่มลูกค้าบุคคลแค่ 15-20% ของรายได้รวม ขณะที่การกำหนดกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน ทำให้รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย เติบโตอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2546 เพิ่มมาอยู่ที่ 35% ของรายได้รวม และ 40 % ในปี 2547 และตั้งเป้าภายในปี 2550 รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ต้องเพิ่มเป็น 50% ของรายได้รวม

"3-4 ปี ธนาคารแทบจะไม่มีรายได้ขายประกันผ่านแบงก์ แต่ตอนนี้รายได้ต่อปีถึง 1,000 ล้านบาท หรือธุรกิจหลักทรัพย์ของบล.ไทยพาณิชย์ จากที่มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 3-5 %ตอนเป็นเพิ่มเป็นทวีคูณช่วงเวลาเพียง 2 ปี และหากพิจารณาสถิติตลาดรายย่อยในประเทศไทยจะพบว่าตลาดยังแคบอยู่อาจเป็นเพราะประวัติศาสตร์ของธนาคารพาณิชย์ไทยในอดีตมุ่งลูกค้ารายใหญ่เนื่องจากปล่อยสินเชื่อได้ปริมาณที่สูง แต่วันนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป"

นายวิชิตยังตั้งเป้ามีตู้เอทีเอ็มสูงสุดภายในสิ้นปี 2548 คือ 2,800 เครื่อง โดยจะมากที่สุดในระบบและแซงหน้าธนาคารกรุงเทพ โดยปัจจุบันเอทีเอ็มธนาคารไทยพาณิชย์อยู่ที่ 2,000 เครื่อง จะเน้นการติดตั้งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เนื่องจากค่าธรรมเนียมค่อข้างสูง ด้านอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ปัจจุบันอยู่ที่ 2.3-2.5 ผลิตภัณฑ์ต่อราย จะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 3 ผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้า 1 ราย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us