|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2531
|
|
แม้ว่าสถานการณ์ตลาดหุ้นหลัง BLACK MONDAY ในปัจจุบันจะไม่เอื้ออำนวยให้บริษัทที่ต้องการเพิ่มทุนด้วยการจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แล้วเสนอขายหลักทรัพย์แก่นักลงทุนแต่นั่นไม่ได้หมายถึง "ทางตัน" เสมอไปยังมียุทธวิธีทางการเงินให้บริษัทเหล่านี้เลือกใช้เพิ่มทุน "ขัดตาทัพ" อีกหลายวิธีก่อนจะสบโอกาสเหมาะได้เข้าตลาดหลักทรัพย์จริงในอนาคต
จากเหตุการณ์ BLACK MONDAY เมื่อจันทร์ที่ 19 ตุลาคมปีก่อนทำให้บริษัทมากมายโดยเฉพาะที่มีกิจการขนาดเล็กและกำลังขยายตัวซึ่งอยู่ในภาวะจำเป็นต้องเพิ่มทุนด้วยโครงการจะเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แล้วเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรก (INITIAL PUBLIC OFFERINGS) หรือ IPO แก่นักลงทุนต้องชะงักงันไปตาม ๆ กัน
แต่บริษัทเหล่านี้ไม่ถึงกับสิ้นหวังเสียทีเดียว เมื่อ JEREMY WIESEN ศาสตราจารย์สาขาวิชากฎหมายธุรกิจประจำ NEW YORK UNIVERSITY GRADUATE SCHOOL OF BUSINESS ADMINISTRATION ซึ่งในอดีตเคยเป็นประธานกรรมการบริหารของ FINANCIAL NEWS NETWORK, INC. ได้เสนอแนะในบทความเรื่อง HOW ENTREPRENEURS CAN SURVIVE CAPITAL CRISES ที่บอกถึงทางอยู่รอดของกิจการไปพลาง ๆ รอเวลาจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ในโอกาสต่อไปด้วยยุทธวิธีทางการเงิน 2 มาตรการหลักคือปรับโครงสร้างของ IPO และแสวงหาแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ
ปรับโครงสร้าง IPO
ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้แม้ว่าจะมีไม่กี่บริษัทที่ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์สำเร็จ แต่ผู้ประกอบการที่ยังไม่มีโอกาสอย่างนี้ก็ไม่ควรนิ่งดูดาย ควรติดต่อกับบริษัทรับประกันการขายหลักทรัพย์หรือ UNDERWRITER ตลอดเวลาเพื่อให้บริษัทของตนอยู่ในฐานะดีที่สุดเวลาได้เข้าตลาดหลักทรัพย์สำเร็จ ในโอกาสต่อไป เพราะในช่วงก่อนเกิด BLACK MONDAY บริษัททั่วไปที่มีโครงการขยายกิจการหรือเพิ่มทุนมักจะมีฐานะเป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้วโดยเฉพาะในสายตาของ UNDERWRITER
แต่หลัง 19 ตุลาคมที่ความเชื่อมั่นและศรัทธาการลงทุนในตลาดหุ้นพังทลายลงแทบไม่เหลือ โครงการ IPO ที่ร่างหรือกำหนดไว้แต่เดิมจึงควรได้รับการปรับเปลี่ยนเสียใหม่เพื่อเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จเวลาที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์จริง อาทิ การทำให้กิจการของตนน่าสนใจขึ้นในสายตาของนักลงทุน และการช่วยลดความเสี่ยงของ UNDERWRITER
JEREMY WIESEN พูดถึงการทำให้กิจการบริษัทน่าสนใจขึ้นในสายตาของนักลงทุนว่ามีหลายวิธีด้วยกันได้แก่...
-ประเมินราคาทรัพย์สินของบริษัทให้ต่ำลง เพราะ CRASH OF'87 เมื่อ 19 ตุลาคมทำให้นักลงทุนเข็ดขยาดไปตาม ๆ กัน เห็นได้จาก P/E RATIOS ที่ลดต่ำลง อย่างไรก็ตาม การเจรจาใด ๆ กับ UNDERWRITER ต้องเริ่มต้นจากสัดส่วน P/E ของบริษัทที่ลดต่ำลงหลายเท่าแต่ถ้าผลประกอบการของบริษัทดีขึ้นแล้ว การประเมินราคาทรัพย์สินของบริษัทก็อาจสูงขึ้นได้ตามภาวการณ์
-กำหนดระยะเวลาหุ้นในครอบครองของผู้ถือหุ้น ในสภาพที่นักลงทุนในตลาดหุ้นไม่ต้อนรับหลักทรัพย์ที่ออกเสนอขายใหม่เท่าที่ควร ผู้ประกอบการจึงควรพอใจขายเฉพาะหุ้นของบริษัทที่อยู่ในโครงการ IPO เท่านั้น ไม่หมายรวมถึงหุ้นในส่วนของนักลงทุนแต่ละคน
และเพื่อเป็นการเพิ่มแรงจูงใจ ให้นักลงทุน ผู้ถือหุ้นรายสำคัญหรือฝ่ายบริหารของบริษัทควรพร้อมใจกันตกลงว่าจะเก็บหุ้นในครอบครองของตนไว้สักระยะหนึ่ง โดยไม่นำออกขาย คืออาจกำหนดไว้สัก 2 ปีก็ได้ วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้นักลงทุนว่าอย่างน้อยหลังจากเหตุการณ์ตลาดหุ้นวิกฤติแล้วก็ยังมีหุ้นชั้นดีของบริษัทไว้เสนอขาย
-ขายหน่วยลงทุนพร้อมใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่ม (WARRANT) โดยหน่วยลงทุนที่ว่านี้ประกอบด้วยหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นบุริมสิทธิและใบแสดงสิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มในราคาพาร์ต่อไป ซึ่ง UNDERWRITER กิจการขนาดเล็กมากมายมักพ่วงเงื่อนไขนี้เข้าไปในการตกลงด้วย แต่ในสภาพปัจจุบันที่กิจการวาณิชธนกิจ(INVESTMENT BANKING) เข้ามามีบทบาทมาก UNDERWRITER ทั้งขนาดกลางและใหญ่ก็มีแนวโน้มจะใช้วิธีปฏิบัติเดียวกับกิจการขนาดเล็กบ้างแล้ว เพราะ WARRANT ไม่เพียงแต่จะทำให้นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นเพิ่มในราคาพาร์ แต่ยังทำให้บริษัทนั้นได้เงินทุนเพิ่มจาก WARRANTS เหล่านี้ด้วย
สำหรับวิธีช่วยลดความเสี่ยงของ UNDERWRITER ทำได้โดย...
-ลดปริมาณหุ้นที่เสนอขาย สำหรับภาวะตลาดหุ้นซบเซาแล้ววิธีนี้จะทำให้ UNDERWRITER สนใจมาก แต่ก็จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าบริษัทจะสามารถเพิ่มทุนได้ตามที่ต้องการด้วย นอกจากนี้ UNDERWRITER จะสบายใจขึ้นถ้าการเสนอขายหุ้นแทรก WARRANT ควบคู่ไปด้วย ในเมื่อมันสามารถแปลงสภาพให้เป็นแหล่งเงินทุนใหม่ได้อีก
-การขายที่รับว่าจะพยายามขายอย่างดีที่สุด (BEST EFFORTS OFFERING) มี INVESTMENT BANK รับขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยยอมเป็นตัวแทนของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ แต่ไม่รับค้ำประกันหรือเข้าเสี่ยงในการขายหลักทรัพย์นั้น เมื่อก่อนถือว่า BEST EFFORTS OFFERING เป็นวิธีการของ UNDERWRITER ขนาดเล็ก ที่มีฐานะการเงินย่ำแย่ แต่ปัจจุบันกลายเป็นยุทธวิธีดีที่สุดในการเจรจาตกลงกับ INVESTMENT BANK ใดก็ตาม
-ใช้วิธี MULTIPLE CO-MANAGED OFFERINGS ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเสนอขายหลักทรัพย์ใหม่มักมี UNDERWRITER 1-3 รายแต่ปัจจุบันการประกันการขายอาจมี UNDERWRITER มากกว่า 3 ราย เข้ามาจัดการร่วมกันได้ โดยเฉพาะถ้าบริษัทนั้นติดต่อธุรกิจหรือคุ้นเคยสนิทสนมกับ UNDERWRITER หลายรายมาเป็นเวลานานก็สามารถใช้ความสัมพันธ์ที่ว่านี้เป็นตัวเร่งหรือกระตุ้นให้พวกเขาเข้าร่วมกระจายความเสี่ยงรับประกันการขายด้วย
การแสวงหาแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ
ผู้ประกอบการอาจพยายามสงวนเงินทุนด้วยการตัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มทุนจากแหล่งเงินสำคัญ อาทิ ธนาคารและนักลงทุน แต่นักลงทุนในกิจการ VENTURE CAPITAL เริ่มท้อใจเมื่อตลาด IPO ซบเซา เพราะพวกเขาไม่สามารถถอนตัวออกจากการลงทุนที่ทำไปแล้วแม้ว่ากิจการ VENTURE CAPITAL ส่วนใหญ่จะมีเงินทุนแบบไม่มีสินค้าให้ตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศหรือส่วนท้องถิ่นอีกต่อหนึ่งลักษณะการมีตัวแทนจำหน่ายหลักนี้สำคัญมากในอุตสาหกรรมหลายแขนงของสหรัฐอเมริกาไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหาร เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมหนัก เพราะหากปราศจากการจัดการแบบนี้แล้ว บริษัทเล็ก ๆ ที่ป้อนและให้บริการสินค้าของตัวเองจะตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบอย่างมาก และอาจเสียเวลาเปล่าจากโครงการเสนอขายหลักทรัพย์ของตน
ผู้ประกอบการต้องสามารถยืนยันให้หลักประกันว่า การเป็นตัวแทนจำหน่ายหลักจะเป็นข้อผูกมัดในฐานะแหล่งการตลาดและการขายสินค้า โดยข้อตกลงที่ว่าต้องมีมาตรฐานเพียงพอและสามารถถอดถอนสิทธิพิเศษของ ตัวแทนจำหน่ายหลักได้หากผลงานไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้
การขายแฟรนไชส์หรือจัดจำหน่าย
เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมแทบไม่ต้องจ่ายค่าสิทธิเพื่อจัดจำหน่ายสินค้า แต่ถ้าเป็นแต่ละบุคคลที่ต้องการสร้างโอกาสจากการดำเนินธุรกิจแล้ว หากต้องการเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในท้องถิ่นของตนก็อาจต้องเสียค่าสิทธิเพื่อการนี้ให้บริษัทผลิตสินค้าที่กระหายเงินทุนอยู่แล้ว จากภาวะดังกล่าวทำให้บริษัทผลิตสินค้าได้โอกาสเพิ่มรายได้ของตนขึ้นมาอีกทางหนึ่งด้วย
ผู้ผลิตร่วม (CO-PACKING)
วิธีนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า CONTRACT PACKING ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดความ จำเป็นในการเพิ่มทุนลงได้มากด้วยการยอมจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้ผู้ผลิตสินค้ารายหนึ่งผลิตสินค้าของตนเพราะมีบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตบางแห่งมีกำลังผลิตส่วนเกินอยู่แต่ผู้ประกอบการพึงระลึกไว้เสมอว่าวิธีนี้เสี่ยงไม่น้อยเช่นกัน ในการร่างสัญญาข้อตกลงจึงควรระบุเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ระหว่างกันไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งการรักษาความลับของตัวสินค้าที่บริษัทผู้ผลิตรับผลิตให้
ในทางตรงข้ามถ้ามองในแง่ของผู้ประกอบการที่มีอุปกรณ์และเครื่องมือการผลิตอยู่พร้อมแล้ว การรับงานในฐานะผู้ผลิตร่วมอย่างนี้จะกลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ให้ตนได้ นอกจากนี้ยังอาจมีรายได้เพิ่มจากการให้เช่าโกดังเก็บของ หรือให้เช่าอุปกรณ์เครื่องมือบางอย่างที่บริษัทมีอยู่แล้ว
การขายสิขสิทธิ์
เพราะเหตุที่สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือโนว์ฮาวสามารถถ่ายทอดสู่บริษัทหนึ่งบริษัทใดหรือมากกว่าหนึ่งรายได้โดยเจ้าของสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือโนว์ฮาวได้รับค่าลิขสิทธิ์เป็นสิ่งตอบแทนนั้น แม้ว่าเงินค่าธรรมเนียมจากส่วนนี้จะไม่มากมายมหาศาลนัก แต่ผู้ซื้อลิขสิทธิ์ก็มีพันธะผูกมัดตัวเองกับผู้ผลิต ตลาดและการขายสินค้าให้ได้อยู่นั่นเอง
ถ้าการซื้อลิขสิทธิ์มีมากกว่าหนึ่งราย บริษัทที่ปรึกษาจะเข้ามารับหน้าที่จัดการธุรกิจให้ลงตัวได้และในแง่ตลาดระหว่างประเทศแล้วการขายลิขสิทธิ์เป็นวิธีเพิ่มรายได้ที่ดีมากโดยเฉพาะกับบริษัทกำลังขยายตัวซึ่งมักมีเงินทุนไม่เพียงพอที่จะขยายกิจการของตนเองในต่างประเทศ
เอกสิทธิการเสนอขายหลักทรัพย์
แม้ว่าจากภาวะตลาดหุ้นซบเซาที่ทำให้ต้องเลื่อนโครงการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกหรือออกไป แต่ถ้าผู้จัดการมีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทแล้วก็ควร จะตรวจสอบความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นตลอดเวลาเป็นการเตรียมตัวอย่างหนึ่ง
JEREMY WIESEN กล่าวในตอนท้ายว่า แม้แผนเพิ่มทุนของบริษัทจะเผชิญกับอุปสรรคเพิ่มแบบคาดไม่ถึง แต่ก็สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ด้วยการแสวงหาความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่นอกเหนือจากการพยายามลดค่าใช้จ่ายและเข้าหาธนาคารให้ช่วย
ผู้ประกอบการเองต้องมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ UNDERWRITER ควรรู้จักหาแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ และประเมินองค์ประกอบทางธุรกิจทุกอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งหาลู่ทางใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มทุน รายได้และความช่วยเหลืออื่น ๆ ที่สำคัญผู้ประกอบการยุคนี้โชคดีที่มีบรรยากาศการประกอบธุรกิจแห่งทศวรรษ 1980 ที่ได้รับการสร้างสรรค์มาแล้วหลายด้านตั้งแต่การเงินตลอดไปจนถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการตลาดช่วยค้ำจุนไว้
|
|
|
|
|