Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2531
ดีเกินไปก็มีปัญหาเหมือน CRAY RESEARCH             
 


   
www resources

CRAY RESEARCH INC.

   
search resources

Computer
CRAY RESEARCH INC.
ซีย์มอร์ เครย์




เช้าตรู่ของวันที่ 16 ตุลาคมปีที่แล้วที่เกิดภัยธรรมชาติจากพายุเฮอร์ริเคนสร้างความหายนะให้แถบตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ นักอุตุนิยมวิทยาทั่วยุโรปต่างทราบล่วงหน้าแล้วว่า จะต้องเกิดวาตภัยครั้งร้ายแรง ณ แถบใดแถบหนึ่งของเกาะอังกฤษแน่ เพราะประสิทธิภาพของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ CRAY X -MP/2 ที่ติดตั้งที่ศูนย์พยากรณ์อากาศ EUROPEAN CENTRE FOR MEDIUM-RANGE WEATHER FORECASTS ในเมืองรีดดิ้ง, แคว้นเบิร์กเชียร์นั่นเอง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลนับพันล้านชุดที่รวบรวมจากทั่วโลกและให้คำพยากรณ์อากาศที่เชื่อถือได้ล่วงหน้า 6-10 วัน

พูดง่าย ๆ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานเกี่ยวกับกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้ทีละมาก ๆ "มันมีค่ายิ่งกว่าการเป็นอุปกรณ์ที่บ่งบอกความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีว่าเป็นคอมพิวเตอร์ ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา" แกรี่ สแน็บบี้ นักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจคอมพิวเตอร์ของบริษัทที่ปรึกษาการเงินไพเพอร์ เจฟเฟรย์ แอนด์ ฮอพวูดในมินนิโซต้าพูดถึงความสำคัญของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ "มันเด่นเสียจนเข้าไปกลบสิ่งประดิษฐ์ใด ๆ ก็ตามที่ฝ่ายโซเวียตคิดค้นขึ้นมาได้"

CRAY RESEARCHINC ที่ก่อตั้งโดยซีย์มอร์ เครย์เมื่อปี 2515 ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลก แม้ว่าจนถึงปัจจุบัน CRAY จะผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์ออกมาได้ทั้งหมดเพียง 170 ระบบแต่ถือได้ว่าบริษัทนี้คือผู้สร้างมาตรฐานด้านความเร็วและความซับซ้อนในการทำงานของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทั่วโลกอยู่ดี

"เมื่อเอ่ยถึงความเร็ว" ปีเตอร์ แพตตัน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ประจำศูนย์วิจัย WISCONSIN CONSORTIUM ON SUPERCOMPUTER RESEARCH (WCSR) ให้ความเห็น "เป็นอันรู้กันว่าเรา หมายถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ CRAY"

จากที่เป็นผู้สร้างฐานตลาดขึ้นมาเองและยังสามารถคุมตลาดเหล่านี้ไว้ในมือ ทำให้กิจการของ CRAY ขยายตัวอย่างรวดเร็วเห็นได้จากปี 2529 ที่มีกำไรเพิ่ม 65% เป็น 125 ล้านดอลลาร์ จากยอดขาย 597 ล้านดอลลาร์ จึงได้รับการจัดอันดับจาก FORTUNE 500 ว่าเป็นบริษัทที่ทำกำไรเป็นอันดับ 1 ในปีนั้น ส่วนปี 2528 CRAY ทำกำไรเพิ่ม 87% ขณะที่ 2527 ยอดกำไรสูงขึ้น 50%

แต่ปีที่แล้วนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เติบโตด้วยดีของ CRAY ที่เริ่มส่อสัญญาณ "ลางไม่ดี" บางอย่าง เมื่อคาดหมายว่าจะทำกำไรได้ประมาณ 149 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มจากปีก่อนหน้านี้เพียง 19% จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น 15% คือ 685 ล้านดอลลาร์

และกันยายนปีที่แล้วเช่นกันที่ CRAYทำให้วงการตกตะลึงจากการประกาศครั้งสำคัญด้วยการยกเลิกโครงการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นล้ำสมัยที่สุดที่มีความเร็วและประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่ารุ่นที่มีอยู่เดิมถึง 100 เท่าทั้ง ๆ ที่ลงทุนไปแล้วกว่า 22 ล้านดอลลาร์ เพราะแทบจะไม่คืบหน้าไปไหน และมีทีท่าว่าจะบานปลายเกินงบที่วางไว้ 50 ล้านดอลลาร์ถึง 2 เท่า และสตีฟ เฉิน นักออกแบบคอมพิวเตอร์ผู้เป็นหัวหน้าโครงการนี้ก็ลาออกจาก CRAY ด้วย

ไม่กี่วันหลังจากข่าวนี้เผยแพร่ออกไปราคาหุ้นของ CRAY ในวอลล์สตรีทก็ทรุดดิ่งลงจาก 113 ดอลลาร์/หุ้น เหลือเพียง 89 ดอลลาร์/หุ้น

สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงอีกเพราะไม่เพียง สตีฟ เฉิน วัย 43 ผู้ถือกำเนิดในไต้หวันและเป็นผู้ออกแบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่น X-MP และ 90% ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ CRAY ส่งออกเมื่อปีที่แล้วจะตีจากไปนักวิทยาศาสตร์ระดับหัวกะทิอีกหลายคนก็จะตบเท้าตามออกไปด้วย แถมยังบอกเป็นนัยว่าจะแปรพักตร์ไปอยู่กับบริษัทคู่แข่งที่รวมทั้งผู้ผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์ญี่ปุ่นซึ่งกำลังมาแรง

พอถึงปลายเดือนธันวาคม เฉินก็ประกาศด้วยความภาคภูมิว่า ได้รับการหนุนหลังจากไอบีเอ็มในโครงการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่เต็มที่ "ผมดีใจอย่างบอกไม่ถูกที่พวกเขาตกลงร่วมมือกับผม"

จากข่าวนี้เช่นกันที่นับเป็นครั้งแรกของไอบีเอ็มที่กระโจนลงสนามชนกับ CRAY โดยตรงในตลาดซูเปอร์ คอมพิวเตอร์ที่ CRAY เป็นเจ้าอยู่ ทำให้ราคาหุ้นของ CRAY ตกฮวบลงอีกเหลือเพียง 70 ดอลลาร์/หุ้น

ภาวะวิกฤติทั้งหมดนี้ประดังกันเข้ามาในช่วงเวลาเดียวกับที่ CRAY เริ่มรู้สึกถึงความแข็งกร้าวในการแข่งขันระดับระหว่างประเทศ โดยเฉพาะคู่แข่งรายสำคัญจากญี่ปุ่นคือ ฟูจิตสุ, ฮิตาชิ และเอ็นอีซี ที่ต่างก็มีนโยบายขยายกิจการสู่ธุรกิจแขนงอื่นและจ้องตาเป็นมันที่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่ง CRAY ผูกขาดในทั่วโลกถึง 70%

"เมื่อก่อนคุณเคยสบายใจว่ายังไงเสียญี่ปุ่นก็ไม่อยู่ในสายตาแน่ แต่เดี๋ยวนี้คุณจะวางใจไม่ได้อีกแล้ว เมื่อพวกนี้กลายมาเป็นคู่แข่งสำคัญที่สามารถออกแบบ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ดีเยี่ยมไม่แพ้ซีย์มอร์ เครย์" แกรี่ สแน็บบี้ นักวิเคราะห์รายเดียวกันตั้งข้อสังเกต

การแข่งขันในตลาดโลกอย่างหนักนี้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับที่คณะกรรมการ COORDINATING COMMITTEE FOR MULTILATERAL EXPORT CONTROLS (COCOM) ซึ่งกลุ่มประเทศนาโต้และญี่ปุ่นเป็นสมาชิกอยู่ด้วยใช้มาตรการควบคุมเข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ายุทธปัจจัยและที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี จึงกลายเป็นเรื่องน่าขันที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอเมริกาส่งออก ปริมารมากต้องถูกควบคุมอย่างเข้มงวดไม่ผิดกับการส่งออกพลูโตเนียมสำหรับทำระเบิดปรมาณู แม้ว่า ลูกค้าจะเป็นชาติพันธมิตรกับอเมริกา เช่น อังกฤษ แคนาดา และเยอรมนีตะวันตก ก็ไม่ละเว้นที่จะต้อง ผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวด

"เมื่อแรงกดดันมีมากเข้า ทันทีที่สินค้าพวกนี้พ้นจากแผ่นดินอเมริกาไปแล้ว เราไม่มีทางควบคุมได้เลยไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น" โฆษกของ CRAY เล่า "ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของความซื่อสัตย์ที่เพื่อนจะมีต่อกันเท่านั้น"

งานสำคัญของซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ คือนำมาช่วยผลิตระเบิด คือเมื่อรวบรวมข้อมูลได้เพียงพอแล้ว ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ CRAY จะสามารถสร้างระบบจำลองการระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ได้ ซึ่งการให้มีระเบิดปรากฎบนจอคอมพิวเตอร์ ย่อมดีกว่าการออกไปทดลองจริง ๆ ตามแถบชายฝั่งแปซิฟิกอย่างที่เคยทำกัน

ปี 2515 ศูนย์ผลิตระเบิดที่ลอสอลามอส, รัฐนิวเม็กซิโกจึงเป็นหน่วยงานแห่งแรกที่ใช้ประโยชน์จากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ CRAY เพื่อการนี้ ต่อมาห้องแล็บผลิตระเบิดปรมาณูในเมืองฮาร์เวลล์ของอังกฤษก็ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ CRAY เข้ามาช่วยในการทดลองด้วย

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นต่อมามีหน่วยรักษาความปลอดภัยแห่งชาติของอเมริกานำไปใช้ในงานถอดรหัสและรวบรวมข้อมูลข่าวสาร เพราะซูเปอร์คอมพิวเตอร์ CRAY มีประสิทธิภาพในการกรองแก่นข้อมูลล้ำค่ายิ่งออกจากแหล่งข้อมูลดิบนับพันล้านชุดซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการถอดรหัสนั่นเอง

จากคำบอกเล่าของผู้โชคดีไม่กี่คนที่มีโอกาสเห็นโฉมซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง ณ หน่วยรักษาความปลอดภัยแห่งชาติในอเมริกาพูดถึงรูปทรงของมันว่า มีขนาด 70 ตารางฟุต ต้องใช้ระบบปรับอากาศอันทรงประสิทธิภาพพิเศษเพื่อช่วยผ่อนคลายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของไมโครชิพมากมาย ซูเปอร์คอมพิวเตอร์พวกนี้สามารถอ่าน (SCAN) ข้อมูลได้ถึงวินาทีละ 320 ล้านคำ แผ่นดิสค์เก็บข้อมูลได้ 30 ล้านคำและสามารถ สืบค้นได้ในเวลาชั่วพริบตาคือคิดเป็น 1 ในล้านของวินาทีเท่านั้น และเมื่อนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์หลาย ๆ ตัวมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันซึ่งช่างเทคนิคในวงการคอมพิวเตอร์ตั้งชื่อให้ว่า DAISY CHAINING แล้วจะมีประสิทธิภาพสูงขนาดจำลองและจำแนกยุทธวิธีสงครามของเพนตากอนที่เรียกว่า SINGLE INTEGRATED OPERATIONS PLAN (SIOP) ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ

แต่กิจการของ CRAY RESEARCH เริ่มบูมเอาเมื่อสามารถเจาะตลาดธุรกิจได้เมื่อผู้ผลิตเครื่องบินและรถยนต์พบว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ CRAY สามารถสร้างระบบขึ้นมาเลียนแบบการทดลองอุบัติเหตุและสภาพในอุโมงค์ลมได้ นอกจากนี้นักฟิสิกส์สามารถใช้ประโยชน์จากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในการตรวจสอบโมเลกุลภายในและทดสอบการทำงานของจรวดได้โดยไม่ต้องส่งขึ้นทดสอบสมรรถนะจริงในอวกาศ

ผลที่เกิดขึ้นสะเทือนวงการอย่างมหันต์ไม่เพียงแต่ราคาของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ CRAY จะถีบตัวสูงขึ้นเป็นเครื่องละ 12 ล้านดอลลาร์โดยเฉลี่ย มันยังเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะเยี่ยมที่เคยอ้างถึงก็เฉพาะในนวนิยายเท่านั้นโดยเฉพาะกับการใช้ในงานสำรวจแหล่งน้ำมันที่ทำให้บริษัทบริติช ปิโตรเลียม (บีพี) ของอังกฤษก้าวล้ำหน้ากว่าคู่แข่งในงานสำรวจแหล่งน้ำมันแถบทะเลเหนือ เพราะใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ CRAY ที่เจฟฟ์ คานิน นักวิเคราะห์ของ HAMBRECHT & QUIST INTERNATIONAL ซึ่งมีกิจการประเภทวาณิชธนกิจในซานฟรานซิสโกให้ความเห็นว่า

"คอมพิวเตอร์ของบีพีมีประสิทธิภาพขนาดจำลองโครงสร้างของชั้นหินใต้ดินที่เป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซได้ แล้วตัดสินใจได้ว่าโครงการอันไหนมีน้ำมัน และน้ำมันนั้นมีเปอร์เซ็นต์ความหนืดหรือความเหลวมากกว่ากัน ในกรณีนี้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ CRAY ทำงานได้สุดมหัศจรรย์กับข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ก่อนหน้านี้ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์แต่ไม่สามารถรับงานได้มากเท่า"

อีกไม่นานนักวงการตลาดหุ้นวอลล์สตรีทก็คงซาบซึ้งกับประสิทธิภาพของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ไม่แพ้กัน จากที่ปัจจุบันก็มีผู้เริ่มใช้ "ไมโคร-ซูเปอร์คอมพิวเตอร์" เข้าปฏิวัติโปรแกรมการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นกันบ้างแล้ว แต่สแน็บบี้นักวิเคราะห์คนเดิมคาดหมายว่า นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะกรุยทางให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบเข้าไปทำหน้าที่อันน่าทึ่งซึ่งช่วยให้บรรดาโบรกเกอร์สามารถรวบรวมข้อมูลแล้วพบโอกาสซื้อขายเร็วกว่าเดิม รวมทั้งช่วยการพัฒนายุทธวิธีโกยเงินได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งยังช่วยให้พวกเขาสร้าง PORTFOLIOที่ดีกว่าและคิดค้นกลยุทธ์บริหารการเงินแบบใหม่ ๆ รวมทั้งการเก็งกำไร ซึ่งสมาคมอุตสาหกรรมหลักทรัพย์พูดถึงความสำคัญของการลงทุนโดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นหลักนี้ว่าปัจจุบันเป็นวิธีลงทุนแบบเดียวของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทที่วงเงินสูงสุด จึงไม่น่าสงสัยที่ฝ่ายการตลาดของ CRAY ที่ดำเนินงานอย่างเงียบ ๆ ในใจกลางเมืองแมนฮัตตันจึงมีสำนักงานใหญ่โตอย่างไม่น่าเชื่อ

เกี่ยวกับซีย์มอร์ เครย์ผู้ก่อตั้ง CRAY RESEARCH INC. และปัจจุบันอายุ 61 ปีแล้วนั้น เริ่มต้นจากการเป็นวิศวกรดาวเด่นประจำบริษัท CONTROL DATA ด้วยผลงานในฐานะผู้ประดิษฐ์คอมพิวเตอร์รุ่น 7600 ที่มียอดขายติดอันดับท็อปฮิต แต่เมื่อเครย์ พยายามเสนอโครงการพัฒนาคอมพิวเตอร์รุ่นเดิมให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น CONTROL DATA กลับขัดขวางด้วยกลัวว่าเมื่อมีรุ่นใหม่ออกมาแล้วเครย์จะทำให้รุ่นเก่าขายไม่ออก

แต่เพราะตัวเขามุ่งมั่นในโครงการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงเยี่ยมกว่าที่มีอยู่ในตลาดออกมาให้ได้ เมื่อ CONTROL DATA ไม่สนับสนุนเครย์เลยแยกออกมาตั้งบริษัทของตัวเองที่ CHIPPEWA FALLS ชุมชนเล็ก ๆ ในวิสคอสซินที่มีทัศนียภาพสุขสงบและสวยงามท่ามกลางป่าไม้และทะเลสาบที่น่าแปลกคือพนักงานรุ่นแรกของ CRAY กลับไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ แต่เป็นพนักงานหญิง ผู้เชี่ยวชาญงานถักนิตติ้ง!

เพราะคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ ที่ออกแบบโดย CRAY จำเป็นต้องใช้ลวดเส้นจิ๋วถักด้วยมือพัน รอบแผงวงจรอย่างแน่นหนา "เขาประกาศว่าจะจ้างทุกคนที่ถักนิตติ้งพื้นฐานได้" ผู้สมัครงานครั้งนั้น เล่าความหลัง

เครย์มีวิธีปลุกขวัญกำลังใจของพนักงานด้วยการออกแบบและต่อเรือด้วยตัวเองทุกฤดูใบไม้ผลิเพื่อจะเผาทิ้งในฤดูใบไม้ร่วง "เขาต้องการย้ำว่าไม่มีผลงานออกแบบชิ้นใดสมบูรณ์ที่สุด แม้แต่จากฝีมือออกแบบของเขาเองก็ตาม" ปีเตอร์ แพ็ตตัน...นักวิทยาศาสตร์ผู้เคยทำงานใกล้ชิดกับเครย์ตั้งแต่สมัยอยู่กับ CONTROL DATA เล่า

นิสัยการทำงานของเครย์ก็ประหลาดพอ ๆ กัน "เขาจะหมกมุ่นกับงานที่ต้องใช้มันสมองเต็มที่ 2 หรือ 3 ชั่วโมง" นักวิจัยผู้ร่วมงานด้วยคนหนึ่งเผย "จากนั้นจะเดินดุ่ม ๆ ออกไปที่สวนแล้วตั้งหน้าขุดดินเป็นหลุม พอได้ที่ดีก็กลบกลับไปตามเดิม เพราะเชื่อว่าการได้ออกแรงทำงานเรียกเหงื่อเป็นหัวใจสำคัญของการได้มาซึ่งความคิดดีเลิศ"

สตีฟ เฉิน มันสมองคนที่สองของบริษัทเข้าร่วมงานกับเครย์ปี 2522 เพื่อปรับปรุงซูเปอร์คอมพิวเตอร์ CRAY I ขณะที่เครย์ผันตัวเองไปคิดค้นพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงขึ้น เรื่อย ๆ "ทั้งสองหลักแหลมพอ ๆ กัน ต่างกันตรงศักยภาพเท่านั้น" นอร์แมน วินนิงสตัด อดีตประธานกรรมการบริษัท FLOATING PIONT SYSTEMS ผู้เคยเป็นนายจ้างของสตีฟ เฉิน วิจารณ์ "เครย์สามารถประดิษฐ์คิดค้นผลงานใหม่ถอดด้ามและศักยภาพสูงแต่เฉินเป็นเลิศในแง่การคิดค้นหาวิธีพัฒนาแนวความคิดเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น"

เฉินจึงเข้าไปมีบทบาทในแง่รับโอนงานออกแบบที่เครย์เคยทำมาแล้วมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 2-3 เท่า ทั้งยังรู้จักหาทางลดต้นทุนการผลิตลงได้มากแต่ดูเหมือนพรสวรรค์น่าทึ่งที่สุดของเฉินจะอยู่ที่การเป็นผู้นำผู้ระดมมันสมองนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกันเป็นปึกแผ่นภายใต้อาณัติของเขา โดยเฉพาะในโครงการที่รู้จักกันในชื่อ MP (MULTI-PROCESSOR) ซึ่งถือว่าเป็นโครงการเพื่อผลิตภัณฑ์แห่งทศวรรษ 1990 แต่เมื่อ CRSY ประกาศยกเลิกโครงการและเฉินตบเท้าลาออกไปก็ยังมีผู้ทรงไว้ซึ่งความสามารถสูงยิ่งสืบทอดเจตนารมณ์ของเขาต่อไปดังที่ จอห์น รอลล์วาเก้น ประธานกรรมการบริหารคนปัจจุบันของ CRAY เชื่อมั่น

ตัวซีย์มอร์ เครย์ปลดเกษียณก้าวลงจากตำแหน่งประธานกรรมการบริหารปี 2524 แต่ยังคอยให้ คำปรึกษาในฐานะกรรมการบริหารบริษัทอยู่และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน CRAY ด้วย โดยเฉพาะกับงานในห้องทดลองแล้วเครย์ไม่ยอมทิ้งไปทันที ยังวนเวียนเดินเข้าออกคอยให้คำแนะนำตลอดเวลา

แต่ความสามารถและความเป็นอัจฉริยะของเครย์ไม่อาจอยู่ยงคงกระพันตลอดเวลาเมื่อบทบาทของเขาถดถอยลงเรื่อย ๆ วงการก็มองว่า สตีฟ เฉิน นี่แหละคือทายาทคนต่อไป นักวิเคราะห์ถึงกับหวั่นวิตกว่าหากปราศจากเฉินแล้วอนาคตของ CRAY ก็อาจต้องมืดมนตามไปด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตอนนี้อัตราการขยายตัวของยอดซูเปอร์คอมพิวเตอร์ CRAY รุ่นเก่าชะลอตัวลงจากที่ลูกค้าพากันตั้งตาคอยรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า

นักสังเกตการณ์บางคนปักใจเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ CRAY ต้องมีปัญหารายได้ลดลงเพราะ เสียตลาดในส่วนของซอฟท์แวร์ที่เริ่มถึงจุดอิ่มตัว แต่ในระยะยาวแล้วนักวิเคราะห์เชื่อว่า CRAY ต้องดิ้นรนขยายตลาดออกไปให้ได้เพื่อความอยู่รอดของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่ในตลาดยุโรปที่ CRAY ขายสินค้าไปแล้วอย่างน้อย 50 ระบบหรือเกือบ 1 ใน 3 ของสินค้าที่ผลิตได้ทั้งหมดให้ลูกค้าในอังกฤษ เยอรมนีตะวันตก เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ ความหวังจะเปิดตลาดใหม่ในประเทศแถมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและสแกนดิเนเวียที่ดูท่าจะสดใสไปได้ด้วยดีก็ประสบอุปสรรคเพราะกำแพงภาษีจนทำให้นักวิเคราะห์อย่างสแน็บบี้เชื่อว่าออสเตรียคงไม่มีวันได้ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ CRAY แน่

ตอนนี้เป้าหมายของ CRAY ต้องมุ่งมาสร้างตลาดในจีนและประเทศแถบชายฝั่งแปซิฟิกอย่างเกาหลีใต้กับไต้หวันไม่เว้นแม้แต่ญี่ปุ่น จากที่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง นิสสัน มอเตอร์, โตชิบา และนิปปอน เทเลกราฟ แอนด์ เทเลโฟน (เอ็นทีที) ต่างก็เป็นลูกค้าของ CRAY เอ็น ทีทีนั้นได้ชื่อว่าเป็นเป็นลูกค้ารายสำคัญและไม่น่าเชื่อด้วย เพราะมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับฟูจิตสุและเอ็นอีซียักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ที่เป็นคู่แข่งสำคัญของ CRAY แต่ยังเลือกซื้อสินค้าของ CRAY ใช้

นักวิเคราะห์จึงให้บทสรุปว่าศัตรูตัวฉกาจของ CRAY ไม่ใช่บริษัทคู่แข่งหรือการตบเท้าลาออกของผู้บริหารระดับหัวกะทิแต่มาจากภายในจากความสำเร็จของบริษัทนั่นเอง เพราะนับจากก่อตั้งบริษัทขึ้นมาก็สร้างและคุมตลาดไว้ได้อย่างเหนียวแน่นไม่ว่าจะเป็นในแง่ของตัวฮาร์แวร์หรือซอฟท์แวร์ที่คุณภาพดีเยี่ยมจนลูกค้าไม่ต้องห่วงเรื่องการซื้อหรือเปลี่ยนใหม่ไปอีกนาน "ดู ๆ แล้วก็ไม่ผิดอะไรกับการเดินมาติดกับตัวเอง" นอร์แมน วินนิงสตัด เปรียบเทียบสั้น ๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us