Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2531
ยุทธศาสตร์แห่งการถอยร่น เริ่มต้นที่นี่             
โดย เพิ่มพล โพธิ์เพิ่มเหม
 

   
related stories

วัฒนาพานิช เสือผู้มาใหม่ ฤาจะย้อนรอยเดิม ?
วีระ ต.สุวรรณ อหังการแห่งผู้พี่ที่หวนคืน

   
search resources

Education
สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ
บุญสม มาร์ติน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ




ปี 2521 หลักสูตรการเรียนการสอนของไทยเปลี่ยนแปลงแบบหักมุม ความจริงแล้ว หลักสูตรที่ใช้สอนในโรงเรียนได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ รวมทั้งกระแสการเรียกร้องให้ "เผาตำราเรียน" ก็ขึ้นสูงสุดในช่วงปี 2517-18 แต่มาลงล็อคเอาในสมัยที่ประเทศไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการชื่อ ดร. บุญสม มาร์ติน

การศึกษาภาคบังคับขยับไปที่ชั้นประถมปีที่ 6 แล้วลบชั้นประถมปีที่ 7 ออกไป ส่วนระดับมัธยมศึกษาเปลี่ยนเป็น ม.ต้นคือ ม. 1-3 และ ม. ปลายคือ ม. 4-6

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้เกิดองค์กรใหม่ขึ้นมาอย่างน้อย 2 องค์กร คือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ขึ้นต่อสำนักนายกรัฐมนตรี องค์กรนี้มีหน้าที่วางนโยบายโดยรวมการศึกษาทุกระดับ

องค์กรที่ 2 คือสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ หรือ กปช. ขึ้นตรงต่อกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่กำหนดนโยบายแผนการพัฒนา กำหนดมาตรฐานตามวิชาการ รวมไปถึงพิจารณางบประมาณสำหรับการศึกษาในระดับประถม ซึ่งรัฐถือว่าเป็นการศึกษา "ภาคบังคับ" กปช. แห่งนี้มีเลขาธิการชื่อ สมชัย วุฑฒิปรีชา

หนังสือ ตำราเรียนที่สมัยก่อนพี่มอบเป็นมรดกแก่น้อง ในช่วงเปิดเทอมใหม่ก็เอาไปชั่งกิโลขายได้ จะมีบางเล่มที่เปลี่ยนแปลงอยู่ก่อนแล้วก็เก็บไว้ต่อไป

ในกระบวนวิชาทั้งหมด มีแบบเรียนอยู่ 3 วิชา ที่กระทรวงศึกษาธิการโดยกรมวิชาการเก็บไว้เป็นเคล็ดวิชาชั้นสุดยอดที่ห้ามเอกชนมาแตะต้องคื อ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งทั้งสามวิชานี้กระทรวงผูกขาดมาตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงหลักสูตร

นอกเหนือจากหนังสือแบบเรียน 3 วิชานี้แล้ว แบบเรียนวิชาอื่น ๆ ที่สำนักพิมพ์เอกชนโดดเข้ามาผลิตแบบเรียนแข่งกับกรมวิชาการได้ก็เช่น ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ สุขศึกษา วิชาพวกลูกเสือ-เนตรนารี-ยุวกาชาด-ดนตรีศึกษา เป็นต้น

แต่ทั้งนี้แบบเรียนทุกเล่มจะต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการแล้วเท่านั้น ก็ใบประกาศที่ติดอยู่หลังปกหนังสือแบบเรียนที่เราเห็นคุ้น ๆ นั่นแหละ มีใบประกาศิตแบบนี้ หนังสือแบบเรียนถึงได้หลุดไปอยู่บนโต๊ะเด็กนักเรียนได้

ดูเท่านี้ตลาดหนังสือแบบเรียนออกจะเล็กเอามาก ๆ เพราะแบบเรียนวิชาที่สำคัญ กรมวิชาการก็เก็บเอาไว้คนเดียว แบบเรียนวิชาอื่น ๆ สำนักพิมพ์เอกชนก็ต้องแข่งกับแบบเรียนของกระทรวง ซึ่งแน่นอนที่เวลาผู้บริหารโรงเรียน อาจารย์ตัดสินใจเลือกซื้อมาใช้กับนักเรียนก็ต้องเลือกแบบเรียนของกระทรวงไว้ก่อน ยิ่งในโรงเรียนรัฐแล้ว พวกสำนักพิมพ์เอกชนเจาะได้ค่อนข้างยาก มีที่เจาะได้จริง ๆ คือโรงเรียนเอกชน ที่เห็นชัด ๆ เช่นแบบเรียนภาษาอังกฤษระดับ ป.1-ป. 4 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้เด็กระดับนี้เรียนภาษาอังกฤษ สำนักพิมพ์เอกชนก็เลยแข่งกันแหลกโดยเฉพาะในโรงเรียนเอกชนใหญ่ ๆ

ตลาดหนังสือเรียนที่ใหญ่จริง ๆ โตไม่สิ้นสุดกลับกลายเป็นตลาดที่สำนักพิมพ์เอกชนสร้างขึ้นมาเอง หนังสือพวกนี้ก็แล้วแต่สารพัดที่สำนักพิมพ์เอกชนจะคิดขึ้นมาได้ เริ่มตั้งแต่หนังสือแบบฝึกหัด มีทั้งคัดไทย, คัดอังกฤษ, แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์, หนังสือสร้างเสริมความพร้อมเชาวน์ปัญญา, แบบเรียนครบวงจร คือสรุปเนื้อหา-แบบฝึกหัด-ทดสอบ ในเล่มเดียว, หนังสือชุดเสริมประสบการณ์, หนังสืออ่านนอกเวลา, คู่มือครู, หนังสือชุดวิชาลูกเสือ ยุวกาชาด ศิลปศึกษา, ชุดวัดผล, ชุดแบบฝึกการเรียน ทั้งนี้ก็แล้วแต่จะคิดจะพลิกแพลงกันอีท่าไหน

คนในวงการประชดเรียกหนังสือพวกนี้ว่า "เฟอร์นิเจอร์" !

ดูกันง่าย ๆ เด็กนักเรียนชั้นประถมซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ มีนักเรียนตั้งแต่ชั้น ป. 1 - ป. 6 ประมาณ 6 ล้านคน เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด เป็นอาหารจานใหญ่ที่หอมหวน ต่างก็รุมทึ้งกันขนานใหญ่

ผู้สันทัดกรณีแจงว่า เด็กนักเรียนประถมใช้หนังสือเรียนอย่างเก่งไม่เกิน 9-12 เล่ม ใช้งบเฉลี่ยไม่น่าจะเกินหัวละ 149 บาท แต่ผู้อยู่ในวงการหนังสือแบบเรียน กระซิบว่าตัวเลขที่แท้จริง ปาเข้าไปถึง 420 บาท ก็เพราะฤทธิ์เดชของ "เฟอร์นิเจอร์" พวกนี้แหล จะดูกันชัด ๆ ต้องไปดูที่โรงเรียนเอกชน

ทีนี้พ่อแม่เด็กจะต้องกัดฟันเจียดเงินซื้อหนังสือให้เด็กมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นกับ "พนักงานการตลาด", "พนักงานแนะนำหนังสือ" หรือ "เซลส์" นี่แหละ

เมื่อก่อนนี้พนักงานขายจะวิ่งเข้าล็อบบี้ "คณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด" เพื่อให้หนังสือของตนอยู่ในงบประมาณที่เสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (กปช.) ซึ่งกปช.จะรับซื้อไว้เพื่อแจกให้เด็กบ้าง ให้เด็กยืมเรียนบ้าง หรือเพื่อเข้าห้องสมุดในแต่ละจังหวัด ส่วนโรงเรียนเอกชนก็เลือกซื้อเอา โดยอาจถือตามที่กปช. เลือก หรือเลือกตามเสียงรบเร้าของพนักงานขายก็ตามแต่

มาเมื่อต้นปีนี้ กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกระบบการเลือกซื้อแบบเรียนวิธีเดิม แต่ให้โรงเรียนและครูผู้สอนตัดสินใจเลือกเอง เพื่อต้านระบบล็อบบี้ และรับเสียงค้านของผู้ผลิตตำราที่ว่า เมื่ออนุมัติให้เป็นแบบเรียนที่ใช้ในโรงเรียนได้ก็น่าจะขายได้ทั่วประเทศ วิธีการแบบเก่าเหมือนกับบังคับให้ขายได้จังหวัดเดียว ถ้าจังหวัดอื่นไม่รับ

"แต่คุณดูเถอะ วิธีการนี้ยิ่งสนุกใหญ่ พวกเขาต้องหาวิธีล็อบบี้จนได้ อาจที่ครูใหญ่ ผู้อำนวยการ หรือผู้ใหญ่ในวงการศึกษาของแต่ละจังหวัด เขาเจาะจนได้แหละ" คนในวงการบอก

พูดง่าย ๆ สงครามลดเปอร์เซ็นต์ราคาหนังสือ เงินใต้โต๊ะ ของกำนัลนานาสารพัดล็อบบี้ยัง ดุเดือดกันต่อไป !

และที่แน่ ๆ สำหรับในปีนั้น 2521 บนความยิ่งใหญ่ดูเหมือนว่าไทยวัฒนาพานิชจะหยุดอยู่กับที่ แต่สำนักพิมพ์รายอื่น ๆ ควบไล่หลังมาติด ๆ อย่างน่ากลัว !   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us