Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2531
สรุปหลักประกัน การคุ้มครอง และสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520             
โดย ไพโรจน์ จันทรนิมิ
 

   
related stories

BOI ยุคชีระครองอำนาจ
BOI ทุบทิ้งเสียดีไหม!?

   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน - บีโอไอ

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน - บีโอไอ
Investment




การให้หลักประกัน
- รัฐจะไม่โอนกิจการของผู้ที่ได้รับการส่งเสริมมาเป็นของรัฐ (มาตรา 43)
- รัฐจะไม่ประกอบกิจการขึ้นใหม่แข่งขัน (มาตรา 44)
- รัฐจะไม่ผูกขาดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันกับของผู้ที่ได้รับการส่งเสริม (มาตรา 45)
- รัฐจะไม่ควบคุมราคาผลิตภัณฑ์ของผู้ที่ได้รับการส่งเสริม (มาตรา 46)
- รัฐจะอนุญาตให้ส่งออกเสมอไป (มาตรา 47)
- รัฐจะไม่อนุญาตให้ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ นำผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ได้รับการส่งเสริมเข้ามาโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้า (มาตรา 48)


มาตรการคุ้มครอง (พิจารณาตามความเหมาะสม)
- การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมขาเข้า ผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ผลิตได้ในประเทศแต่ไม่เกิน 50% ของราคารวมค่าประกันภัยและค่าขนส่ง โดยใช้บังคับไม่เกินคราวละ 1 ปี (มาตรา 49)
- ห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ผลิตได้ในประเทศ (มาตรา 50)
- ประธานกรรมการมีอำนาจสั่งให้ช่วยเหลือหรือแก้ไขวิธีการจัดเก็บภาษีอากรที่เป็นอุปสรรคต่อกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 51, 52)

การอนุญาต

- อนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาเพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุน (มาตรา 24)
- อนุญาตให้นำช่างฝีมือ และผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 25, 26)
- อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน (มาตรา 27)
- อนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออกซึ่งเงินตราต่างประเทศ (มาตรา 37)


สิทธิและประโยชน์ด้านภาษี
- อาจได้รับการงดหรือลดหย่อน อากรขาเข้า และภาษีการค้าร้อยละ 50 สำหรับเครื่องจักรที่นำเข้ามา (มาตรา 28, 29)
- อาจได้รับการลดหย่อนอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบ หรือวัสดุจำเป็นไม่เกินร้อยละ 90 มีกำหนดเวลาคราวละ 1 ปี (มาตรา 30)
- อาจได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3-8 ปี และอนุญาตให้นำผลขาดทุนไปหักออกจากกำไรสุทธิภายหลังระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ มีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี (มาตรา 31, 32)
- ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่ากู๊ดวิลล์ ลิขสิทธิ์ หรือค่าสิทธิอย่างอื่นไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นเวลา 5 ปี (มาตรา 33)
- ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลจากกิจการได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (มาตรา 34)


สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม
1. กิจการในเขตส่งเสริมการลงทุน
- อาจได้รับการลดภาษีการค้าสำหรับการขายผลิตภัณฑ์ไม่เกิน 90% เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี(มาตรา 35(1))
- อาจได้รับการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 50% เป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ตามปกติ หรือนับจากวันที่มีรายได้ (มาตรา 35(2))
- ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ไฟฟ้า ประปา เป็นสองเท่าของเงินที่ใช้ในการประกอบกิจการ (มาตรา 35(3))
- อนุญาตให้หักเงินลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกได้ไม่เกิน 25% โดยหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปี ภายในระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันมีรายได้ (มาตรา 35(4))

2. กิจการส่งออก
- ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับการนำเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น (มาตรา 36(1))
- ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้าที่นำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป (มาตรา 36(2))
- ได้รับยกเว้นอากรขาออกและภาษีการค้า (มาตรา 36(3))
- ได้รับอนุญาตให้หักเงินได้พึงประเมินในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 5% ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจากการส่งออก โดยไม่รวมค่าประกันภัยและค่าขนส่ง (มาตรา 36(4))   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us