|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤษภาคม 2531
|
|
ถ้าจะมีเหตุการณ์ MARKET CRASH เมื่อเดือนตุลาคมปีกลาย แต่การที่เศรษฐกิจมีพื้นฐานการเติบโตที่สูงแห่งหนึ่งในย่านอาเซียน ทำให้ตลาดหุ้นไม่ได้ผลกระทบกระเทือนมากนัก ในปัจจุบันนี้มีนักลงทุนจากต่างชาติ เข้ามาลงทุนใจตลาดหุ้นกันอย่างหนาแน่น... แนวโน้มที่ดูจะเป็นผลดีในตลาดทุนอย่างนี้ มีคำถามที่ซ่อนอยู่ที่น่าจะดูกันมาก ๆ ว่าเป็นดาบ 2 คม หรือเปล่า ไม่แน่นะอนาคตอาจจะได้เห็นการ TAKE OVER กันโดยผ่านกลไกตลาดหุ้นก็เป็นได้...
ตั้งแต่ปีที่แล้วเป็นต้นมา ใคร ๆ ก็ยอมรับว่า เศรษฐกิจโดยรวมของไทยเติบโตเอามาก ๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในชาติขยายตัวสูงถึง 6.5%
ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจบางคน ให้ความเห็นว่า แรงกระตุ้นมีที่มาจาก 2 ทางคือ หนึ่ง - การขยายตัวของดีมานด์ในประเทศทางภาคเกษตรที่ราคาพืชผลของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ราคาข้าวเปลือกพุ่งขึ้นไปถึงเกวียนละประมาณ 4,000 บาทซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน และสอง - การขยายตัวของดีมานด์ต่างประเทศทางภาคส่งออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและปศุสัตว์
สถาบันที่ปรึกษาการลงทุนของต่างชาติหลายแห่งบอกว่า ศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในอาเซียนด้วยกันเหมะสมที่สุดต่อการลงทุนทางอุตสาหกรรมและบริการ
"ประเทศไทยกำลังมีแนวโน้มเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย (MIC)"??
สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุนของไทย (บีโอไอ) บอกว่าเฉพาะปีที่แล้วทั้งปีมีนักลงทุนทั้งไทยและเทศมายื่นของส่งเสริมฯในสัดส่วนของปริมาณการลงทุนที่มากกว่าปีที่แล้ว ๆ มาถึง 3 เท่าตัว..... จนกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการพิจารณาให้การส่งเสริมที่รวดเร็วทันอกทันใจนักลงทุน
นับเป็นครั้งแรกของบีโอไอในรอบ 34 ปี ตั้งแต่มาที่บ่นออกมาเช่นนี้!!
เมื่อการลงทุนในภาคเศรษฐกิจ (REAL ECONOMY SECTOR) มีแนวโน้มที่ดีออกเช่นนี้ ก็เลยส่งผลเชื่อมโยงให้ภาคการเงินและตลาดทุน (CAPITAL MARKET SECTOR) มีแนวโน้มขยายตัวออกไปด้วย
ไม่ต้องดูอื่นไกล เอากันแค่ที่ตลาดหุ้นก็พอ!
ตัวชี้ที่เรียกว่า P/E RATIO ตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมามีแนวโน้มตกลงจากระดับ 12 มาเหลือแค่ต่ำกว่า 9 (ดูกราฟประกอบ) ซึ่งแสดงว่ากำไรสุทธิต่อหุ้น ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น มีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นในอัตราส่วนที่มากกว่าระดับราคาหุ้นซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นมีแนวโน้มดีจึงได้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงขึ้น
ดัชนี P/E RATIO ของหุ้นในตลาดที่อยู่ในสภาพเช่นนี้ มองจากหลักวิเคราะห์ทาง FUNDAMENTAL แล้ว เหมาะสมต่อการลงทุนมากเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่น ๆ ตรงนี้สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนต่างชาติที่มีบทบาทต่อตลาดหุ้นทั่วโลกรายหนึ่งที่ชื่อบริษัทวิคเกอร์ ดา คอสต้า ของอังกฤษ ที่กล่าวว่า "บริษัทจะเลือกลงทุนในตลาดหุ้นไทย และเภทของหุ้นที่มี P/E RATIO ต่ำกว่า 8 ลงมา"
บริษัท วิคเกอร์ ดาคอสต้า เป็นทั้งนักลงทุนและนายหน้าค้าหุ้น และ FUND MANAGER รายใหญ่ของโลก เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอย่างจริงจังเมื่อปีที่แล้วนี้ โดยเป็นลูกค้าของบริษัทโบรกเกอร์ไทยค้า
คนในตลาดหลักทรัพย์บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า ช่วงปีที่แล้วก่อนหน้าเกิดเหตุการณ์ MARKET CRASH บริษัทวิคเกอร์ฯมี TRANSACTION ในตลาดประมาณเกือบ 30% ของยอดรวมในกระดาน 1 และกระดานต่างชาติ แต่พอหลัง MARKET CRASH ขายออกเกือบหมด
"บริษัทนี้เข้ามาลงทุนเพื่อหวัง CAPITAL GAIN มากกว่า พอตลาด CRASH ก็ขายทิ้ง เพื่อเอาเงินไปชดเชยส่วนที่ขาดทุนในตลาดอื่น" แหล่งข่าวในบริษัทโบรกเกอร์กล่าวกับ "ผู้จัดการ" เพื่อชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมการลงทุนของบริษัทนายหน้าค้าหุ้นฯของต่างชาติ
จากการคำนวณของ "ผู้จัดการ" พบว่าช่วงระหว่างปี 2528-2530 สัดส่วน ระหว่าง STOCK TRANSACTION กับ CAPITALIZATION มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นจาก 23% เป็น 103% (ดูตารางประกอบ) ซึ่งเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงลักษณะพฤติกรรมการลทุนในหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นได้ชัดว่า หนึ่ง - ในช่วงที่ระดับราคาหุ้นไม่ FLUCTUATE (ปี'28-มิ.ย.'29) นักลงทุนต่างชาติจะถือหุ้นไว้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้สัดส่วนระหว่าง STOCK TRANSACTION กับ CAPITALIZATION จะต่ำภาวะนี้จะมุ่งไปที่อัตราผลตอบแทนจากกำไรสุทธิต่อหุ้นมากกว่าและ สอง - ในช่วงที่ระดับราคาหุ้นมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น และ FLUCTUATE ค่อนข้างมาก (หลัง มิ.ย.'29-ก.ย.'30) โอกาสการทำกำไรจาก CAPITAL GAIN มีมาก สัดส่วนที่ว่านี้จะสูงขึ้น ซึ่งแสดงว่ามีอัตราการหมุนเวียนจากการซื้อ-ขายหุ้นหลายรอบ เพื่อหาทางทำกำไรจาก CAPITAL GAIN ภาวะเช่นนี้นักลงทุนต่างชาติจะถือหุ้นไว้สั้น ๆ
"ช่วงปีที่แล้วก่อน ต.ค. ที่เกิด CRASH ส่วนใหญ่นายหน้าค้าหุ้นต่างชาติฯ ที่เล่นหุ้นไทยผ่านโบรกเกอร์ธนชาติและไทยค้า เล่นกันแบบนี้ทั้งนั้น" แหล่งข่าวในบริษัทโบรกเกอร์รายหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง
พวกนักลงทุนต่างชาติพวกนี้จะเลือกเล่นหุ้นประเภท BLUE CHIP อย่างเดียว นัยว่ามันมีโอกาสทำกำไรจาก CAPITAL GAIN ได้ดีกว่า!
ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะนักเลงหุ้นต่างชาติพวกนี้ไม่ว่าจะเป็น VICKERDA COSTA MORGAN STANLEY CROSBY SECURITIES หรือ T.C.C.NOMINEE ที่ถือกันว่าเป็นกลุ่มนักลงทุนหุ้นต่างชาติที่ ACTIVE ที่สุดในตลาดหุ้นบ้านเรา ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพสูงสุดในการลงทุนเป็นเป้าหมายสำคัญ เหตุผลก็เพราะพวกนี้สวมหมวกอยู่ 3 ใบในเวลาเดียวกัน คือ ใบแรก ในฐานะนักลงทุนที่นำเงินทุนจาก PORTFOLIO ของตนเองมาลงทุนในตลาดหุ้น อีกใบหนึ่ง ในฐานะเป็น FUND MANAGER ให้กองทุนต่าง ๆ และใบสุดท้ายในฐานะเป็นนายหน้า (BROKER) ลงทุนให้ลูกค้า ดังนั้นก็ต้องแน่ใจว่าลงทุนไปแล้วทั้งเงินของตัวเองและชาวบ้านจะไม่ฉิบหายวายป่วง หนำซ้ำต้องให้มีกำไรสูงสุดด้วย
ซึ่งหุ้นที่สามารถตอบสนองเป้าหมายการลงทุนดังว่านี้ได้ก็ต้องเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องและผลตอบแทนดีมาก ๆ ที่เรียกว่า หุ้น BLUE CHIP นั่นเอง
นักเลงหุ้นต่างชาติพวกนี้เวลามีกำไรจากการลงทุน ถ้าเหตุการณ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐฯและเยนไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ก็จะไม่ค่อยมีการนำผลกำไรจากการลงทุนออกนอกประเทศอย่างถอนรากเหมือนกับตอนหลังเกิดวิกฤติ BLACK MONDAY เมื่อเดือนตุลาคม
นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ หัวหน้าหน่วยดุลการชำระเงิน แบงก์ชาติที่ได้เปิดเผยให้ "ผู้จัดการ" ทราบว่า ตั้งแต่ ม.ค. - ก.ย. ปีที่แล้ว นักเลงหุ้นต่างชาติส่วนใหญ่90% หมุนเวียนอยู่ในตลาดไม่ได้หายไปไหนเลยคนในตลาดหลักทรัพย์ยืนยันกับ "ผู้จัดการ" ว่า เงินลงทุนที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด มันเกิดจากแรงซื้อมากกว่าแรงขาย เหตุผลสำคัญเพราะแนวโน้มผลตอบแทนในหุ้นมันสูงเอามาก ๆ อย่างที่ว่าไปแล้ว
บริษัทโบรกเกอร์เอกธำรง (โกลด์ฮิลล์) ได้รายงานการศึกษาผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหุ้นช่วง 1 ปี (ธ.ค.'29-ธ.ค.'30) โดยวัดจากระดับราคาเงินปันผล และ CAPITAL GAIN ซึ่งผลการศึกษาย้ำว่าหุ้นที่ทำธุรกิจบางสาขาให้ผลตอบแทนในช่วงเวลาดังกล่าวสูงมาก ๆ
"หุ้นในธุรกิจรถยนต์และอุปกรณ์ให้ผลตอบแทนสูงถึง 220% รองลงมาคือหุ้นสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 105%"
พูดง่าย ๆ ถ้ารู้จักเลือกหุ้นลงทุนในช่วงก่อนตลาดจะ CRASH โอกาสขาดทุนยากส์...
แหล่งข่าวในบริษัทโบรกเกอร์ไทยมักจะเล่นสร้างราคากันเพื่อให้ราคา FLUCTUATE ซึ่งเปิดช่องให้แสวงหากำไรจาก CAPITAL GAIN มาก ๆ
"การเป็นโบรกเกอร์ให้นักเลงหุ้นต่างชาติจริง ๆ แล้วรายได้จากค่าธรรมเนียม 0.5% มันเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ CAPITAL GAIN ที่เล่นไว้ใน PORTFOLIO ตัวเอง พวกนี้ย่อมรู้ดีว่าคำสั่งซื้อ - ขายจากนักลงทุนหุ้นต่างชาติมีเมื่อไดก็สามารถกำหนด TIMING การเข้าลงทุนซื้อ - ขายในพอร์ตตัวเองได้ถูกต้องด้วย" แหล่งข่าวกล่าว
แต่การเล่นราคากันเองแบบนี้ดูออกจะน่าเกลียด เพื่อให้มันน่าดูแยบยลมากขึ้นก็ดึงเอา NOMINEE ที่เรียกง่าย ๆ ว่า "ก๊วน" เข้ามาร่วมด้วย
"ก๊วน" ที่ว่านี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน....ก็บริษัทในเครือของเหล่าบริษัทโบรกเกอร์ที่ว่าทั้งนั้น
แม้นว่าจำนวนการลงทุนซื้อขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติพวกนี้ดูจะมีสัดส่วนไม่มากนัก (ประมาณ 8%) เมื่อเทียบกับปริมาณการซื้อขายของตลาดทั้งระบบ แต่ก็มีอิทธิพลต่อความผันผวนของราคาหุ้นอย่างมาก
"พวกนี้เวลาซื้อ - ขายแต่ละทีมันล็อตใหญ่ จึงมีผลต่อราคาหุ้นในตลาดมากแล้วอีกอย่างหนึ่งการซื้อ - ขายก็จับได้ยากมากว่าเป็นของนักลงทุนต่างชาติจริง ๆ หรือพวก NOMINEE" นักลงทุนทางเทคนิครายหนึ่งเคยกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ดังนั้นการลงทุนของนักเลงหุ้นต่างชาติประเภทนี้ว่ากันจริง ๆ แล้วจึงเป็นดาบ 2 คม คือ หนึ่ง - ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยเติบโตในทางปริมาณมากขึ้นเนื่องจากมีดีมานด์สูงขึ้น สอง - ราคาหุ้นที่ความผันผวนไปตามแรงซื้อและแรงขายในตลาดซึ่งมีความยากลำบากต่อการวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากกลไกลตลาดแท้จริงไม่ใช่เกิดจาการถูกสร้างขึ้น ขณะที่นักลงทุน (รายย่อย) ในตลาดส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการลงทุนที่ดีพอ และสาม - กิจการที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นอาจเสี่ยงต่อการถูกเข้า TAKE OVER ได้ ถ้านักลงทุนต่างชาติพวกนี้ได้รับคำสั่งจากลูกค้าให้ดำเนินการด้วยเหตุที่ว่าปัจจุบันกลไกการคุ้มครองผลประโยชน์ผู้ถือหุ้น และกฎหมายป้องกันการเข้าครอบครองกิจการจากต่างชาติ โดยผ่านกลไกตลาดหุ้นยังไม่มี หนำซ้ำการที่กฎหมายที่ใช้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์เปิดช่องให้นักลงทุนต่างชาติสามารถใช้ NOMINEE หรือ PROXY ของตัวที่ถือหุ้นแทนในบริษัทจดทะเบียนต่าง ๆ ที่บริษัทไปลงทุนไว้สามารถอ้างสิทธิ์รวบกิจการเข้ามาเป็นของตัวเอง ด้วยสามารถครองเสียงข้างมากได้แท้จริง ก็นับว่าเป็นกระบวนการที่เป็นช่องโหว่ซึ่งอันตรายมาก
"มันไม่ถูกหลักจรรยาบรรณ แต่ ก.ม. ก็ไม่ได้ห้ามไว้ ดังนั้นต้องระวังมาก PROXY และ NOMINEE เหล่านี้ให้ดี เพราะไม่แน่ว่าวันดีคืนดีอาจเป็นเครื่องมือโดยอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ถือหุ้นให้นักลงทุนต่างชาติทำการรวบอำนาจกิจการที่ตนถือหุ้นไว้ก็อาจเป็นได้" ศุกรีย์ แก้วเจริญ ประธานกรรมการบริษัทกองทุนรวม และกรรมการผู้จัดการใหญ่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยวิเคราะห์ให้ "ผู้จัดการ" ฟัง ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้จากการลงทุนของนักเลงหุ้นต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยในลักษณะ OPEN - END FUND โดยผ่านโบรกเกอร์ไทย
ที่บอกกล่าวกันมาแบบนี้ ไม่ได้หมายความว่าปัจจุบันในตลาดหุ้นไทยมีการ TAKE OVER กิจการในบริษัทต่างชาติที่มาลงทุนกันแล้ว เพียงแต่บอกว่าในอนาคตมันอาจเป็นได้!
ยิ่งตอนนี้แบงก์ชาติอนุญาตให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สามารถทำธุรกิจ CUSTODIAN หรือบริหารเก็บรักษาใบหุ้นให้นักลงทุนด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้กลไกการเอื้ออำนวยต่อกระบวนการ TAKE OVER กิจการในตลาดหุ้นเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น เพราะบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กับบริษัทโบรกเกอร์ที่เป็นนายหน้าลงทุนให้นักเลงหุ้นต่างชาติ ส่วนใหญ่มันอยู่ใน "ก๊วน" เดียวกันอยู่แล้ว การรู้ข้อมูลจำนวนหุ้นและสัดส่วนการถือหุ้นเพื่อทราบถึงสถานะของ EQUITY ในบริษัทจดทะเบียนก็ง่ายขึ้นและมีประโยชน์ต่อการกำหนด TIMING ในการดำเนินการ TAKE OVER ได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
การ TAKE OVER กิจการต่าง ๆ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มันไม่ยากอีกต่อไปแล้ว?!!
ตลาดหุ้นที่ค่อนข้างจะ FREE MARKET หรือมีโครงสร้างการปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นที่บอบบางอย่างตลาดหุ้นบ้านเรา การ TAKE OVER ก็เป็นเรื่องที่กระจอกมาก!
ในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นตัวอย่างที่ดีการเข้าครอบครองกิจการและ TAKE OVER กิจการ ทำกันแทบจะทุกวัน
แต่ในตลาดหุ้นบ้านเราแม้การ TAKE OVER กัน โดยใช้กลไกตามตลาดหุ้นจะยังไม่เคยเกิดขึ้น กระนั้นก็ตามกล่าวสำหรับอนาคตก็ไม่อาจจะบอกได้แน่ชัดว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น
มันเป็นเรื่องของนักเลงหุ้นต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นว่าจะได้รับคำสั่งจากลูกค้าของเขาซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศเมื่อไหร่เท่านั้น
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะนักลงทุนหุ้นต่างชาติพวกนี้เป็น FUND MANAGER ซึ่งทำธุรกิจมือปืนรับจ้างบริหารเงินทุนและนายหน้าให้เท่านั้น
ไม่ได้ทำธุรกิจผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหรือค้าขายสินค้าอะไรอื่นเลย!
ถ้าวันดีคืนดีได้รับคำสั่งจากลูกค้าว่าอยากได้บริษัทนั้นบริษัทนี้ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นเป็นของตัวเพื่อต้องการขยายฐานธุริกิจในไทยหรือเข้ามาลงทุนผลิตในไทย
เขาก็จะสั่งให้ FUND MANAGER หรือนักเลงหุ้นเหล่านี้ช่วยจัดการให้ที และถ้าหากว่าเงื่อนไขด้านสัดส่วนจำนวนหุ้นเป็นใจให้
การ TAKE OVER หรือการครอบครองกิจการโดยผ่านตลาดหุ้นก็เกิดขึ้น !
ด้วยเหตุนี้แหละถึงได้บอกว่า การลงทุนของนักเลงหุ้นต่างชาติมันเป็นดาบ 2 คม
ปัญหามีอยู่เพียงว่า รู้จักใช้มันให้เป็นประโยชน์หรือเหล่า?
ตอนนี้กระแสการลงทุนของต่างชาติก็มีทั้งเกิดจากการลงทุนของพวก FUND MANAGER และ MUTUAL - FUND ซึ่งล้วนแล้วแต่เงินทุนหนา ๆ ทั้งนั้น
พวกลงทุนในลักษณะ OPEN - END ไม่ค่อยเป็นอันตรายต่อปัญหาการ TAKE OVER เท่าไรนัก เพราะพวกนี้หวัง CAPITAL GAIN ไม่ใช่การปันผลจากหุ้น และจะลงทุนถือหุ้นไว้สั้น ๆ
จริง ๆ แล้วพวกที่เป็นอันตรายต่อการ TAKE OVER อยู่ที่พวก CLOSED - END FUND มากกว่า เพราะ ข พวกนี้ลงทุนถือหุ้นไว้ระยะยาว ซึ่งมองได้ 2 แง่ คือ หนึ่ง - ถือยาวไว้เพื่อหวังผลตอบแทนจากเงินปันผล หรือสอง - ถือยาวไว้เพื่อรอโอกาสเข้า TAKE OVER กิจการ
มองจากปัจจุบัน กองทุนแบบ CLOSED END FUND ที่ไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศ (ดูตารางประกอบ) มีจำนวนประมาณ 5,142 ล้านบาท และนำเงินลงทุนที่ว่านี้กลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยคือกองทุนไทยฟันด์ที่บริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม และกองทุนสยามฟันด์ที่บริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์เอเซีย
กองทุนทั้ง 2 กองทุนนี้มีอายุการลงทุนยาว 25 ปี! ในเป้าหมายการลงทุนเพื่อหวังเงินปันผลในหุ้นที่อยู่ไปตลาดหลักทรัพย์นั้นไม่สงสัย เพราะทั้ง 2 บริษัทที่รับบริหารให้คือทางกองทุนรวมและหลักทรัพย์เอเซียคือกองทุนรวมและหลักทรัพย์เอเซียคงไม่กล้าสุ่มเสี่ยงบริหารให้โดยวิธีมุ่งแต่การทำ PROFIT - TAKING
พูดง่าย ๆ บริหารแบบ CONSERVATIME ไม่หวือหวา เพื่อความมั่นคงมากกว่าผลตอบแทนสูงสุด!
แต่ในเป้าหมายลงทุนเพื่อการเข้าครอบครองกิจการนี่ซิ! ยังยืนยันตอนนี้ไม่ได้ว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะอนาคตของกองทุนยังมีเวลาอีกนาน
มองจากปัจจุบันกองทุนที่เป็น CLOSED END FUND ที่ผ่านทางกองทุนรวม ดูจะไม่เป็นปัญหาเท่าไรนักเมื่อเทียบกับทางบริษัทหลักทรัพย์เอเซียต่อความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมาย TAKE OVER
ศุกรีย์ แก้วเจริญ ประธานกรรมการกองทุนรวมบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า แม้สิทธิทางกฏหมายจะอนุญาตให้กองทุนรวมถือสิทธิ์ในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นแทนนักลงทุนหรือกองทุนจากต่างชาติ แต่ก็จะไม่ใช้สิทธิ์ในฐานะผู้ถือหุ้นแทนต่างชาติเข้าไปยึดอำนาจการบริหารหรือเกี่ยวข้องในการบริหาร
พูดง่าย ๆ ว่า กองทุนรวมจะไม่เป็น PROXY ให้ต่างชาติ TAKE OVER กิจการที่อยู่ในตลาดหุ้น
แต่ข้อเท็จจริงจะเชื่อหรือไม่? ยังสรุปไม่ได้ในเวลานี้ เหตุผลเพราะ หนึ่ง - กองทุนต่างชาติที่ผ่านมาทางกองทุนรวมประเภท CLOSED - END มีอายุกองทุนนาน 25 ปี จึงเร็วเกินไปที่จะสรุปเช่นนั้น และ สอง - กฎหมายที่จะควบคุมให้กองทุนรวมปฏิบัติตามเช่นที่ว่านั้นไม่มีการบัญญัติไว้ "มันเป็นเรื่องของจรรยาบรรณที่นำมาพูดกันเป็นหลักเกณฑ์ที่แจ้งชัดเท่านั้น" ศุกรีย์ กล่าวยอมรับกับ "ผู้จัดการ"
ดังนั้น จึงไม่มีอะไรมาเป็นเครื่องคุ้มกับผู้ถือหุ้นในตลาดหุ้นได้ว่ากองทุนรวมจะไม่ตกเป็น PROXY ให้นักลงทุนต่างชาติที่มีเงินทุนสูงเข้ามา TAKE OVER กิจการที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นได้ในอนาคต
ยิ่งตอนนี้มักจะมีเสียงบ่นออกมาจากนักลงทุนต่างชาติมากว่าอยากจะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นให้มากกว่านี้ แต่ติดขัดปัญหาสภาพคล่องในตลาดหุ้นมีไม่เพียงพอ ด้วยเงินลงทุนมีขนาดใหญ่ขณะที่ปริมาณหุ้นที่พร้อมจะเสนอขายมีขนาดเล็ก
ลงแบบนี้ก็คล้าย ๆ กำลังจะบอกว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นทั้งหลายควรจะได้มีการขยายสัดส่วนจำนวนหุ้นมาขายในตลาดหุ้นให้มากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่ม SUPPLY ในตลาด เพราะขณะนี้กฎหมายตลาดหลักทรัพย์ไม่มีการระบุหรือบังคับว่าบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดจะต้องนำหุ้นในพอร์ตอิคิวตี้ของตัวเองออกมาขายในสัดส่วนเท่าไรแน่ชัด!
และถ้าตลาดหลักทรัพย์ผลักดันให้มีการแก้ไข ก.ม. ให้เป็นไปตามนั้น ก็เท่ากับว่า หนึ่ง - ตลาดหุ้นมี SUPPLY ให้มากขึ้นเปิดช่องหรือโอกาสให้มีการลงทุนซื้อหุ้นมากขึ้นจากนักลงทุนต่างชาติ และสอง - ช่วยเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามา TAKE OVER กิจการได้ง่ายขึ้นถ้าต้องการ
เหตุนี้แหละที่ต้องชั่งน้ำหนักให้ดีกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นของต่างชาติที่กำลังไหลบ่าเข้ามาในบ้านเราอยางขนานใหญ่ในขณะที่โครงสร้างของตลาดหุ้นยังบอบบางในมาตรการให้การคุ้มครองผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นรายย่อยนั้น มันจึงเปรียบเสมือนดาบ 2 คมที่ต้องระวังสูง เพราะเป็นไปได้ว่ามันอาจจะมาพร้อมกับการยึดกิจการก็ได้!!
|
|
|
|
|