Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2531
ประสิทธิ์ ณรงค์เดช ลุยลูกเดียว             
 


   
search resources

อนามัยภัณฑ์, บจก.
กระดาษไทย-สก็อตต์
ประสิทธิ์ ณรงค์เดช
Pulp and Paper




24 ปีก่อน ประสิทธิ์ ณรงค์เดช หันเหวิถีชีวิตจากเป็นลูกจ้างมาเป็นเถ้าแก่ ด้วยการให้กำเนิดบริษัทอนามัยภัณฑ์ซึ่งเกิดจากร่วมมือระหว่างประสิทธิ์ในฐานะเป็นหัวเรือใหญ่กับเหล่าญาติ ๆ ด้วยทุนจดทะเบีย 2,200,000 บาท แต่มาเริ่มดำเนินการจริง ๆ ก็เมื่อปี 2509 เมื่อมีการเพิ่มทุนเป็น 4 ล้านบาท พร้อม ๆ กับการเข้าร่วมทุนกับสเตอร์ลิงอินเตอร์เนชั่นแนล (อ่านรายละเอียดในสก๊อต-เกษม อัดประสิทธิ์ใน "ผู้จัดการ" เดือนกุมภาพันธ์) ผลิตกระดาษชำระและผ้าอนามัยยี่ห้อเซลล็อกซ์ ซึ่ง "ชื่อเซลล็อกซ์ผมได้มาจากคำว่าเซลลูโลสซึ่งแปลว่าเนื้อเยื่อ แต่เมื่อผมมาตั้งเป็นยี่ห้อจะใช้คำว่าเซลลูโลสก็จะไม่เหมาะ ผมเลยใช้เป็นเซลล็อกซ์ใช้ภาษาฝรั่งหน่อยมันจะได้ดูขลัง" ประสิทธิ์เล่าที่มาของยี่ห้อสุดรักนี้ให้ฟัง

ความคาดหวังของประสิทธิ์ที่จะให้เซลล็อกซ์ขลังก็ดูจะประสบความสำเร็จ เซลล็อกซ์บูมมาก ๆ ทั้งผ้าอนามัยและกระดาษชำระ ทำให้ประสิทธิ์มีกำลังใจมุมานะในการบุกเบิกบริษัทใหม่ คือการเกิดบริษัทแปรรูปกระดาษไทยในปี 2511 ซึ่งมีแนวการดำเนินธุรกิจเหมือนกับอนามัยภัณฑ์ทุกกระเบียดอันสอดคล้องกับคำกล่าวของประสิทธิ์ที่ว่า "ผมชอบทำธุรกิจทีผมมีความถนัด" เขาเผยความรู้สึกในงานเปิดตัวโรงงานใหม่บีดีเอฟ

บริษัทใหม่ของเขานี่เองที่จะกลายเป็นตำนานการต่อสู้ของเขาในอนาคตซึ่งประสิทธิ์เองก็ไม่คาดคิดว่าจะมีวันนี้

แปรรูปกระดาษไทยของเขาในอีก 1 ปี ต่อมาได้ไปร่วมทุนกับบริษัทสก๊อตต์เปเปอร์ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสก๊อตต์อินเตอร์เนชั่นแนล และกลายเป็นนสก๊อตต์-เวิลด์ไวด์ อิงค์) อันเป็นวิธีการที่เขานิยมชมชอบ

สก๊อตต์ เวิลด์ไวด์ อิงค์ เป็นเจ้าของยี่ห้อกระดาษชำระสก๊อตต์ และ เลดี้ สก๊อตต์ และในปี 2514 ประสิทธิ์ได้โอนลิขสิทธิ์การผลิตกระดาษชำระเซลล็อกซ์ให้บริษัทกระดาษไทยสก๊อตต์ (คือบริษัทแปรรูปกระดาษไทยซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นบริษัทกระดาษไทย-สก๊อตต์) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายตามสเป็กที่อนามัยภัณฑ์ตกลงไว้ "ก็ไม่มีอะไรแปลก เพราะอนามัยภัณฑ์ก็ถือหุ้นใหญ่อยู่ในกระดาษไทย-สก๊อตต์เช่นกัน" แหล่งข่าวในวงการให้ความเห็น

ซึ่งก็เป็นจริงเพราะอนามัยภัณฑ์ก็ไม่ได้ค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้นจากบริษัทกระดาษไทย-สก๊อตต์เลย

ที่น่าแปลกก็คือขณะที่บริษัทกระดาษไทย-สก๊อตต์ผลิตกระดาษสก๊อตต์ซึ่งเป็นยี่ห้อของสก๊อตต์ เวิลด์ไวด์ อิงค์เอง และในขณะเดียวกันก็ผลิตกระดาษชำระยี่ห้อเซลล็อกซ์ควบคู่กันไปด้วยนั้น แทนที่กระดาษทั้งสองยี่ห้อจะมียอดขายสูสีกัน แต่การณ์กลับปรากฏว่าเซลล็อกซ์กลับทำยอดขายแซงหน้าไปมากกว่าครึ่งอาทิ ปี 2526 เซลล็อกซ์ทำยอดขายได้ 78,540,232 บาท ขณะที่สก๊อตต์ทำยอดขายได้เพียง 30,593,800 บาท ขณะที่เซลล็อกซ์มียอดขายทวีขึ้นเป็น 91-105-124-142 ล้านตามลำดับ แต่สก๊อตต์ทำยอดขายได้เพียง 40-45-48-53 ตามลำดับ นับจากปี 2527 จนกระทั่งปี 2530 ที่ผ่านมา

ยอดกำไรของเซลล็อกซ์เริ่มจาก 19 ล้านในปี 26 และลดลงเป็น 13-9-14-18 ล้านในปี 2530 รวมกำไรใน 5 ปีที่ผ่านมาก็ตก 75,926,016.54 บาท ส่วนของสก๊อตต์ก็คงตัวมาตลอดจาก 7 ล้านในปี 2526 มาเป็น 7-8-9-9 ในปี 2530 รวม ๆ แล้วได้เพียง 42,206,044.61 บาท

เรียกว่าห่างกันเกือบครึ่ง หรือจะพูดอีกทีลูกเลี้ยงอย่างเซลล็อกซ์กลับมีทีท่าว่าจะรุ่งมากกว่าสก๊อตต์เสียด้วย และแนวโน้มในนาคตก็ยังไม่แปรเปลี่ยน

มันเป็นความอัดอั้นตันใจของผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทกระดาษไทย-สก๊อตต์มานานเต็มทีจึงในราวกลางปี 2530 สก๊อตต์เวิลด์ไวด์ อิงค์ จึงได้กว๊านซื้อหุ้นจากบรรดาผู้ถือหุ้นชาวไทยซึ่งก็คือ ประสิทธิ์ ณรงค์เดช นั่นเอง

ประสิทธิ์ ณรงค์เดช ขายแต่ เกษม ณรวค์เดช ผู้น้องไม่ขายแถมยังรั้งตำแหน่งประธานบริษัทกระดาษไทย-สก๊อตต์

มันเป็นความขัดแย้งทางการทำธุรกิจที่พอจะเห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจน แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ประสิทธิ์ปวดในเท่ากับการที่บริษัทกระดาษไทย-สก๊อตต์ "กระทำ" ต่อมิตรร่วมรบอย่างประสิทธิ์

การกระทำต่อยี่ห้อเซลล็อกซ์เป็นการกระทำอย่างเป็นกระบวนการ เริ่มจากเมื่อมีการขายหุ้นส่วนของประสิทธิ์ไปแล้วแต่มีการผลิตกระดาษชำระยี่ห้อในล็อตสุดท้ายออกมา ปรากฏแผ่นปลิวโฆษณาว่ามีการเปลี่ยนชื่อจากเซลล็อกซ์เป็นกระดาษชำระยี่ห้อสก๊อตต์แล้ว

เมื่อกระดาษชำระเซลล็อกซ์ที่สก๊อตต์ผลิตในงวดสุดท้ายหมดแล้ว สก๊อตต์ก็ยังใช้ยุทธวิธีเดิมคือใช้แผ่นปลิวใส่ลงไปในม้วนกระดาษชำรยี่ห้อสก๊อตต์เหมือนเดิม ตามติด้วยการส่งจดหมายแจ้งบรรดาร้านค้าและตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ

จนในที่สุดสก๊อตต์ใช้โฆษณาทางโทรทัศน์เป็นเครื่องมือมีการโฆษณาประเภมก้าวร้าวมาก ๆ

มีการจับเซลล็อกซ์หันกลายเป็นสก๊อตต์เท่านี้ ประสิทธิ์ก็ทนไม่ไหวแล้ว

แต่เขาก็มีการทำงานเป็นระบบ เป็นการสงบเงียบก่อนพายุใหญ่จะเกิด

หลังจากเกิดกรณีนี้ขึ้น ประสิทธิ์ก็แอบกล้ำกลืนฝืนทนดูเซลล็อกซ์ยี่ห้อรักถูกระทำย่ำยีด้วยการเปิดยุทธการบุกแหลกทางการตลาดและการผลิต ด้วยการร่วมมือกับทางบีดีเอฟ. เปิดโรงงานขึ้นอีกแห่ง สัประยุทธ์กับจอห์นสันแอนด์จอห์นสันซึ่ง ๆ หน้า ดูเหมือนประสิทธิ์จะไม่ยี่หระต่อการย่ำยีเซลล็อกซ์เอาจริง ๆ

จนกระทั่งครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 29 เมษายน ประสิทธิ์ก็เปิดตัวเซลล็อกซ์ ทูเดย์ ที่หายหน้าหายตาจากยุทธจักรผ้าอนามัยมานาน

การหวนคืนสู่ยุทธจักรของเซลล็อกซ์ครั้งนี้ไม่ใช่การหวนคืนสู่เวทีการแข่งขันธรรมดา แต่มันหมายถึงการเปิดสงครามอย่างเป็นทางการกับทุกบริษัทที่ขวางหน้า

วันเดียวกับที่เปิดตัวเซลล็อกซ์ทูเดย์เป็นวันเดียวกันกับที่ประสิทธิ์ ณรงค์เดช ฟ้องบริษัทกระดาษไทย-สก๊อตต์เป็นจำเลยที่หนึ่งและบริษัทสก๊อตต์พาณิชย์เป็นจำเลยที่สอง ซึ่งเป็นบริษัทจัดจำหน่ายเรียกค่าเสียหาย 75 ล้านบาท

มันจึงเป็นวันที่ประสิทธิ์ได้ชำระความแค้นที่แน่นอุรา สุภาษิตจีนว่า "สิบปีล้างแค้นไม่สาย"

แต่ประสิทธิ์รอเพียงไม่ถึงปี เมื่อเขาจัดกระบวนการทางธุรกิจเสร็จคู่แค้นเขาจะรู้สึก วันนี้เขาจึงลุยแหลกทางด้านธุรกิจ ส่วนวันพรุ่งนี้เขาคงโถมเข้าสู่วงการเมืองอย่างเต็มตัวอีกครั้ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us