|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2531
|
|
บริษัทปัญจพลไฟเบอร์เป็นบริษัทที่แข็งแกร่งมีผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจแตกต่างเกือบ ตรงกันข้ามกับบริษัทธานินทร์อุตสาหกรรมซึ่งประสบภาวะที่เรียกว่าเกือบจะล้มละลายถึงจะยังพอจะ มีอนาคตก็ตามที
หากให้เลือกทำงานระหว่างสองบริษัทนี้เชื่อแน่ว่าเกือบทุกคนจะต้องเลือกบริษัทแรก
แต่ไม่ใช่ ดร.ชวลิต ทิสยากร
ชวลิตทิ้งตำแหน่งผู้จัดการโรงงานของบริษัทปัญจพลไฟเบอร์อันมั่นคงและยินยอมตอบรับคำเชิญของม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล หัวเรือใหญ่ของบรรดาเจ้าหนี้มานั่งที่ธานินทร์อุตสาหกรรม ด้วยเหตุผลเพราะ "ผมว่ามันเป็นการท้าทายมาก สงครามทุรกันดารมากเพียงใด ก็จะทำให้นายกองแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น"
ก่อนมาอยู่ที่ธานินทร์ ชวลิตเริ่มงานครั้งแรกที่บริษัทยิบอินซอย ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาดหลังจากจบปริญญาตรี โท และเอก จากจุฬาฯและมหาวิทยาลัยเท็กซัส A&M ตามลำดับ ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าทั้งหมด
ปี 2523 ชวลิตก็ผันตัวเองมาอยู่ปัญจพลไฟเบอร์ ในตำแหน่งผู้จัดการ (ร่วม) โรงงานกระดาษ (PAPER MILL CO-MANAGER) งานที่นี่ทำให้เขาพัฒนาตนเองมากยิ่งขึ้น เขาต้องบริหารโรงงานกระดาษคราฟท์ที่มีกำลังการผลิต 200 ตันต่อวัน โรงงานนี้มีช่างเทคนิคถึง 400 คนกระจายใน 4 ส่วน หรือ 20 แผนก
ปี 2524 เขาก็มีส่วนในการติดตั้งคอมพิวเตอร์เครื่องจักรโรงงานกระดาษ 300 ตันต่อวัน และ ตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา เขาได้เริ่มจัดระบบโรงงานใหม่ (โดยการสนับสนุนของคณะกรรมการ) และระบบใหม่นี้ชวลิตต้องรับภาระหนัก ในการบริหารโรงงานกระดาษนี้เขาต้องผจญกับปัญหานานัปการ ตั้งแต่ปัญหาเกี่ยวกับกำลังแรงงาน การฝึกอบรม การตกลงกับสหภาพ และการจัดการทางการผลิตกระดาษ
เป็นภาระที่หนักหน่วงและท้าทายเขาไม่น้อย!!!
ปี2527 ก็สามารถโน้มน้าวใจให้บรรดากรรมการให้เพิ่มจำนวนคนงาน ที่จบระดับมหาวิทยาลัยจากแทบจะไม่มีเลยมาเป็น 10% ในปัจจุบัน
บรรดาเจ้าหนี้ของธานินทร์ฯ ที่เป็นเหล่าธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ก็ค่อนข้างจะหนักใจกับการหาคนมาบริหาร คน ๆ นั้นต้องมีความสามารถทางด้านต่าง ๆ ทั้งสามารถบริหารโรงงานได้และต้องสามารถจัดการกับปัญหาเกี่ยวกับคนได้
แล้วในที่สุดเมื่อคัดเลือกกันแล้ว ชวลิตก็อยู่ในข่าย เขาตกปากรับคำทันทีเพราะ "ผมอยากแก้วิกฤติการณ์ ผมคิดแบบฝรั่งนะ ถ้ามันสำเร็จมันก็เป็นความภูมิใจของผม" เขาเผยเหตุผล
ชวลิต เข้ามานั่งในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของธานินทร์เมื่อราว ๆ ต้นเดือนมกราคมมีปัญหามากมายรอให้เขาแก้อยู่ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องคน
"ที่นี่เราไม่มีสหภาพแรงงานนะและไม่มีผู้จัดการฝ่ายบุคคล" เขาบอกในสิ่งที่หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่าบริษัทที่มีพนักงานนับพันอย่างธานินทร์จะไม่มีผู้จัดการฝ่ายบุคคล
เขาเริ่มปรับปรุงที่จุดนี้ซึ่งนับเป็นปัญหารากฐานเลยทีเดียว "ผมเริ่มศึกษางานและวัฒนธรรมบริษัทว่าเป็นอย่างไร แล้วผมก็เริ่มปรับปรุงโครงสร้างให้อำนาจแก่หัวหน้างานในการร่างอำนาจในแผนกของเขา"
หลังจากนั้นเขาก็เริ่มดูในส่วนของคอมพิวเตอร์ซึ่งยังไม่ได้ใช้งานอย่างเต็มความสามารถที่มีอยู่ "เรามีคอมพิวเตอร์เอ็นซีอาร์ใช้มาสิบปีแล้ว เราใช้ทางด้านสินค้าคงคลัง การทำสต็อก" เขาจึงเข้ามาขยายศูนย์คอมพิวเตอร์ให้มีบทบาทมากกว่าที่เป็นอยู่
ทางด้าน R&D "ปกติแล้ว R&D ของธานินทร์เคยพึ่งพาวิศวกรญี่ปุ่นตลอดเวลา แต่หลังจากนี้ไปเราจะเริ่มพัฒนาในจุดนี้ให้มากยิ่งขึ้น" ชวลิต บอกจังหวะก้าวล่าสุดของ R&D
"ผมคิดว่าเราจะฟื้นตัวภายใน 5 ปี" เขาบอกถึงแผนการในอนาคต
วันนี้ของธานินทร์นอกจากจะเป็นภาระหนักของบรรดาเจ้าหนี้ซึ่งลุ้นอยู่อย่างใกล้ชิดเนื่องจากห่วงเงินกู้ที่ถมไปหลายก้อนแล้ว ธานินทร์ยังเป็นการพิสูจน์ฝีมือของชวลิต ทิสยากรอีกด้วยว่าเขาคิดผิดหรือไม่ที่อำลาจากปัญจพลไฟเบอร์ไปสู่ธานินทร์
กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
|
|
|
|
|