เทเลคอมเอเซียหนึ่งในบริษัทไทยเข้าสู่หลักการ "ธรรมาภิบาล" สร้างความโปร่งใสให้เกิดในการบริหารกิจการ
"ศุภชัย เจียรวนนท์" เผยหลักการธรรมาภิบาลในแบบธุรกิจครอบครัวสื่อสาร
โปร่งใส่ ภาย
ใต้การไว้วางใจกัน
สถาบันกรรมการบริษัทไทยหรือ IOD ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรม
การกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัยพ์ร่วมจัดทำโครงสร้างประเมิน
ผลการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย โดยทำการสำรวจบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ทั้งหมด
133 บริษัท โดยได้ข้อสรุปว่าบริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน) เป็น 1 ในบริษัทต้นๆ ที่ได้รับการตัดเลือกให้เป็นบริษัทที่มี "ธรรมาภิบาล"
หรือระบบกำกับดูแลกิจการที่ดี
ชาญชัย จารุวัสตร์ กรรมการ ผู้อำนวยการ สถาบันกรรมการบริษัทไทย กล่าวถึงหลักการพิจารณาว่าเป็นการให้ความสำคัญกับบทบาทของคณะกรรมการบริษัท
การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น ความ โปร่งใส่
การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน ซึ่งบริษัทเทเลคอม เอเซียนับเป็นบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีการปรับองค์กรเรื่องเข้าสู่ธรรมาภิบาลหลายอย่าง
ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท
เทเล คอมเอเซียฯ กล่าวว่าจากประสบ การณ์ในการทำงานที่ผ่านมาเชื่อ
ว่าธุรกิจในเมืองไทยส่วนใหญ่เริ่มมาจากธุรกิจครอบครัวด้วยกันทั้งนั้น ต่อเมื่อธุรกิจขยายมีผู้ถือหุ้นเข้ามาร่วมธุรกิจมากขึ้นจึงจำเป็นต้องมีธรรมาภิบาล
หรือการปรับตัวเข้าสู่หลักการบริหารกิจการที่ดี
เพื่อ สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นระหว่างผู้ส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น
หรือเจ้าหนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว "
ธรรมาภิบาล"เป็นสิ่งจำเป็นในการบริหารทุกกิจการแม้ธุรกิจที่ยังอยู่ในระบบครอบครัวก็ตาม
เครือพีซีเริ่มธุรกิจจาก 4 พี่น้อง ซึ่งทั้ง 4 คนให้ความไว้วางใจกันและกัน
การทำธุรกิจครอบครัวถ้าไม่ให้ความไว้วางใจกัน
ไม่มีการสื่อสารกันอย่างเพียงพอก็อาจเกิดปัญหาตามมาได ้เพราะไม่สามารถสร้างความโปร่งใส
ให้เกิดระหว่างพี่น้องที่ร่วมบริหารงานกันได้ ในทางตรงข้ามหากผู้นำองค์กรทำงานหนัก
ทำดี
แต่ไม่สามารถสื่อ สารให้กระจ่างก็จะกลายเป็นปัญหาได้เช่นกัน
เทเลคอมเอเซีย เป็นบริษัทมหาชน มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 3 ฝ่าย คือเครือซีพี
Verizon จาก USA และ KfW จาก Germany ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ที่เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นตอนปรับโครงสร้างหนี้และยังมีผู้ถือหุ้น
รายย่อยอีกกว่า 25,000 ราย
"การทำงานแบบธุรกิจครอบครัวไม่ใช่เป็นเรื่องเสียหาย ขณะที่มีต่างชาติเข้ามา
ถือหุ้นและมีสมาชิกเพิ่มขึ้นมาอีกย่อมมีข้อสงสัยเกิดขึ้นอีกมากมาย ความจำเป็นต้องมีการสื่อสารให้โปร่งใส่เพื่อให้ได้ข้อ
มูลเท่าเทียมกันทุกฝ่าย จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง"
ที่ผ่านมาเทเลคอมเอเซียมีการปรับองค์กรหลายครั้ง เริ่มจากการใช้ระบบบัญชีสากล
การแต่งตั้ง CFO มาจาก VERI-ZON
เข้ามาดูแลงานในส่วนนี้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเต็ม
ระบบซึ่งคณะกรรมการชุดนี้สามารถแต่งตั้งและถอดถอนฝ่ายตรวจสอบภาย ในของบริษทได้
ซึ่งที่ผ่านมามีการตรวจสอบหลายด้านรวมทั้งเรื่อง Risk management ด้วย
รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรม การอิสระที่มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้นทุกฝ่าย ซึ่งจากการที่เทเลคอมเอเซียจะขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจโทร
ศัพท์เคลื่อนที่โดยการเข้าไปลงทุนในบริษัท WCS หรือ TA-Orange
ในปัจจุบัน กรณีดังกล่าวสร้างความ ปั่นปวนแต่ก็สามารถจบลงได้ด้วยความโปร่งใส่เป็นที่พอใจทุกฝ่าย
โดยมอบให้คณะกรรมการที่เป็นอิสระทำงานอย่างเต็มที่โปร่งใส่และ
รับฟังความคิดเห็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยทั้งมีการตั้งคณะกรรมการ ที่ดูแลด้านการเงินและการลงทุน
ในกิจการที่สนใจว่าควรเข้าไปลงทุน หรือไม่
การดำเนินงานเหล่านี้เป็นความ พยายามสร้างความโปร่งใส่ เพื่อให้ เกิดการตัดสินใจอย่างมีส่วนร่วมและเกิดความไว้วางใจจากผู้ถือหุ้น
เทเลคอมเอเซียเป็น Third generation ยังคงเป็นบริษัทที่มี "นามสกุล"
เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งต่าง ชาติยังคงมองในแง่ลบกับ Family
Businessนับเป็นเรื่องท้าทายผู้บริหารเป็นอย่างยิ่งเพราะประเทศไทยมีวัฒนธรรมเช่นนี้มายาวนานต่างจากประเทศอื่นๆ
ทั่วโลก แต่เมื่อเป็นบริษัทคนไทยแล้วก็ต้องมีกระบวนการปรับตัวอย่างมาก
"การปรับตัวเข้าหากันระหว่าง วัฒนธรรมเดิมกับสิ่งใหม่อาจต้องใช้เวลา
"ธรรมาภิบาล" เป็นรูปแบบ การบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์ด้วย กันทุกฝ่าย
เทเลคอมเอเซียต้องการ
เป็นบริษัทที่มีทั้งคนดีและคนเก่งจึง ต้องนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้เพื่อให้การบริหารองค์กรทำ
งานได้อย่างเต็มที่และสามารถนำกำไรมาสู่องค์กร" เป็นความตั้งใจของผู้บริหารกิจการ