หวั่นแข่งปล่อยสินเชื่อบุคคล-บัตรเครดิตสร้างภาระหนี้ให้คนไทยมากขึ้น วอนรัฐหาทางคุม
กลัวซ้ำรอยเดิม แต่คราวนี้ไม่มีหลักประกัน ด้านผู้ประกอบการบัตรเครดิตของแบงก์มั่นใจลูกค้าอิออน
จีอีฯ
หนีมาซบอก ทั้งได้สะสมแต้ม แถมดอกเบี้ยต่ำกว่า
หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ธนาคารพาณิชย์ผู้ออกบัตรเครดิต สามารถกำหนดคุณสมบัติของผู้มีรายได้ขั้นต่ำได้โดยไม่มีเพดานกำหนด
ส่งผลให้ธนาคารผู้ออกบัตรเริ่มมีการปรับเงื่อนไขรายได้ขั้นต่ำกันบ้างแล้ว
เริ่มจากธนาคารกรุงเทพ กำหนดรายได้ขั้นต่ำที่ 1 หมื่นบาท
ส่วนที่มาแรงคือธนาคารกรุงไทยกำหนดรายได้ขั้นต่ำของผู้ถือบัตรไว้เพียง 7,500
บาทเท่านั้น
ทำให้หลายฝ่ายเริ่มแสดงความเป็นห่วงถึงการแข่งขันของบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารพาณิชย
์และบัตรเครดิตที่ไม่ได้ออกโดยสถาบันการเงิน
เนื่องจากข้อได้เปรียบในด้านสาขาการให้บริการ เงื่อนไขหรือส่วนลดต่างๆ ที่บัตรเครดิตจากธนาคารมอบให้กับลูกค้า
ย่อมส่งผลให้เจ้าตลาดระดับล่างอย่างจีอี แคปิตอล และอิออน
ต้องถูกกระทบและจะต้องมีกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อมัดใจลูกค้าหรืออาจจะขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ
แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ แต่เป้าหมายของผู้ออกบัตรเครดิตที่เหมือนกันคือการส่งเสริมให้ลูกค้าถือบัตรและใช้จ่ายผ่านบัตรให้มากที่สุด
เพราะนั่นคือรายได้ของผู้ออกบัตร
ทั้งจากข้อตกลงร่วมกับเจ้าของสินค้า ที่สำคัญที่สุดคืออัตราดอกเบี้ยจากการผ่อนชำระหรือการผิดนัดชำระ
นักการเงินรายหนึ่งกล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อผู้ถือบัตรถูกยุยงส่งเสริมให้ใช้จ่ายมากขึ้น
โดยมีสิ่งของอื่นเป็นตัวล่อแล้ว ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มโอกาสของการผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น
ซึ่งหมายถึงรายได้จากดอกเบี้ยปรับที่ผู้ออกบัตรจะได้รับ
"ถ้ามองจากธุรกิจธนาคาร เวลานี้ต้องยอมรับว่าสินเชื่อส่วนบุคคล จากบัตรเครดิต
จัดได้ว่าเป็นสินเชื่อที่สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับธนาคารเป็นอย่างมาก
เห็นได้จากการที่ทุกแบงก์โหมการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล"
ทั้งนี้เป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ทำให้แบงก์ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อในโครงการขนาดใหญ่ได้
ดังนั้นจึงต้องหันมาเน้นการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีรายได้ต่อคนดี
จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายการตลาดที่ต้องหาวิธีการเพื่อให้มีลูกค้าถือบัตรของธนาคารตนให้มากที่สุด
ที่ต้องเดินไปพร้อมกับการกระตุ้นให้เกิดการจับจ่าย
ลูกค้าชั้นดีต้องผ่อนชำระ
"รายได้ของผู้ออกบัตรมาจากยอดการผ่อน ชำระเป็นหลัก ดังนั้นลูกค้าที่ดีที่สุดของบัตรเครดิตคือลูกค้าผ่อนชำระ
ขณะที่ลูกค้าที่ใช้จ่ายผ่านบัตรแล้วชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้นผู้ออกบัตรจะมีรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้น้อยมาก
ผู้ออกบัตรไม่ต้องการลูกค้าที่มีวินัยทาง การเงินในช่วงแรก
แต่ต้องการให้ลูกค้ามีวินัยในช่วงผ่อนชำระ"
นักการเงินรายเดิมกล่าวแนะนำว่า ผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องศึกษาถึงเงื่อนไขต่างๆ
ให้ดี เพราะมิฉะนั้นจะต้องเจอค่าปรับ ค่าธรรมเนียมต่างๆ หลายรายการ ที่สำคัญที่สุดคือจะต้องมีวินัยทางการเงิน
และต้องบริหารเงินของตนเองให้ได้ หากไม่ต้องการจ่ายดอกเบี้ยก็ต้องหาเงินไปชำระให้ตรงตามที่กำหนด
นักการตลาดของผู้ออกบัตรเครดิตรู้ถึงจุดอ่อนของคนไทยเป็นอย่างดี และเพิ่มการ
ส่งเสริมให้ใช้จ่ายมากขึ้น โอกาสของการผิดนัดชำระก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย
"แม้ว่าเหตุผลที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารผู้ออกบัตรกำหนดเงื่อนไขของผู้ถือบัตรได้เอง
โดยระบุว่าเพื่อให้เกิดการเป็นธรรมในการแข่งขันนั้น ก็ควรจะต้องมีการควบคุมบางเรื่อง
หรือถ้าจะกล่าวว่าบัตรนอนแบงก์นั้นไม่สามารถควบคุมได้เพราะสังกัดกระทรวงพาณิชย์
เรื่องนี้ทางแบงก์ชาติก็น่าจะหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อรวมกันหากทางควบคุมการปล่อยสินเชื่อ"
แหล่งข่าวกล่าว
การกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ ด้วยคนไทยด้วยกันถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะช่วยฟื้นสภาพเศรษฐกิจของประเทศได้
แต่การฟื้นด้วยวิธีที่ให้คนเป็นหนี้เพิ่มนั้นทางการควรจะต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบ
อย่าลืมว่าสินเชื่อประเภทนี้เป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน หากเศรษฐกิจไม่ฟื้น
ผู้กู้หรือผู้ผ่อนชำระไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ขึ้นมาระบบการเงินของประเทศก็จะเกิดขึ้นมาอีกครั้ง
ที่สำคัญคือเรื่องปัญหาทางสังคมที่จะตามมาหลังจากการที่ต้องถูกทวงหนี้
โยกถือบัตรฯธนาคาร
การประกาศเปิดศึกชิงลูกค้าบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ในระดับล่าง จากบัตรเครดิต
ที่ไม่ได้ออกโดยสถาบันการเงิน(Non-Bank) โดยบัตรกรุงไทยได้ลดรายได้ขั้นต่ำผู้ถือบัตรเครดิตเหลือเพียง
7,500
บาทต่อเดือน และจะมีธนาคาร ผู้ออกบัตรอีกไม่น้อยกว่า 3 รายที่จะใช้กลยุทธ์เดียวกันนี้
"เราเชื่อว่าจะมีลูกค้าที่ถือบัตรอิออน และบัตรของจีอีฯ เปลี่ยนมาใช้บริการบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์มากขึ้น"
แหล่งข่าวจาก วงการบัตรเครดิตกล่าว
หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนปรนกฎเกณฑ์ให้กับธนาคารพาณิชย์ สามารถกำหนดเงื่อนไขผู้มีรายได้ที่ประสงค์จะถือ
บัตรเครดิตได้เอง กรณีของบัตรกรุงไทย ที่กำหนด รายได้ขั้นต่ำที่ 7,500
บาทต่อเดือน ถือได้ว่าอยู่ในระดับเดียวกับข้อกำหนดของผู้ถือบัตรอิออน ที่ออกโดยบริษัท
อิออนธนสินทรัพย์(ไทยแลนด์) จำกัด(มหาชน) คือ 7,000 บาท
พนักงานของบัตรกรุงไทยกล่าวว่า แม้ว่าเราจะลดคุณสมบัติของผู้ถือบัตรลงมาเหลือแค่
7,500 บาท แต่เงื่อนไขทางสิทธิประโยชน์ต่างๆ ก็ยังเหมือนเดิม เช่น การใช้จ่ายผ่านบัตรทุก
25 บาท จะได้คะแนน 1
คะแนน เพื่อนำไปใช้แลกของรางวัลได้ รวมทั้งส่วนลดอื่นๆ อีก
ที่สำคัญคือ เรายังคิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระหรือผ่อนชำระที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีประเภทรายย่อย(MRR)
บวก 10% ต่อปี หรือ 17.75% ขณะที่บัตรเครดิตนอนแบงก์จะคิดดอกเบี้ยที่ไม่เกิน
15%
ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดเรื่องการกู้ยืม แต่บัตรเหล่านี้เลี่ยงโดย ใช้คำว่าค่าธรรมเนียมแทน
ซึ่งแท้ที่จริงก็คือดอก เบี้ยนั่นเอง ส่วนใหญ่จะเริ่มที่ร้อยละ 2 ขึ้นไป
เบ็ดเสร็จแล้วจะต้องจ่ายดอกเบี้ยประมาณ 36% ต่อปี
จากความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยน่าจะเป็นแรงจูงใจหลักให้มีการย้ายไปถือบัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์
ส่วนเรื่องการสะสมแต้มเพื่อแลกสินค้าก็จะเป็นปัจจัยรอง
แต่ก็ต้องถือว่าเป็นจุดดึงดูดที่ดี เพราะบัตรนอนแบงก์ยังไม่มีการออกกลยุทธ์นี้